เครดิตเว็ปนี้ครับ http://www.pantown.com/board.php?id=7749&area=1&name=board1&topic=75&action=view จาได้ประหยัดเงิน (ไม่โดนรีดเอาง่ายๆ ) ทุกคำตอบได้มาจาก พ.ต.ท.ยอดชาย ผู้สันติ รองผกก.2 บก.จร. ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บก.02 กองบัญชาการตำรวจนครบาล ท่อไอเสีย รถยนตร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงขนาดท่อไอเสีย หม้อพัก และปลายท่อด้านท้ายมีขนาดใหญ่กว่าปรกติ มีความผิดหรือไม่ครับ คำตอบ ไม่ผิดครับ แต่สำคัญอย่าให้เสียงดังเกินกว่าที่กม.กำหนดไว้ สำหรับรถยนต์ ไม่เกิน 100 เดซิเบล รถจักรยานยนต์ไม่เกิน 95 เดซิเบล กระจกมองข้าง กระจกมองข้างถ้าเราติดอันเล็กจะผิดกฎหมายมั๊ยครับ คำตอบ การติดกระจกมองข้างอันเล็ก ไม่ผิดกม.ครับ สามารถติดได้ เหตุผลเพราะ พ.ร.บ.รถยนต์พ.ศ.2522 บัญญัติว่า รถยนต์ต้องมีและใช้เครื่องอุปกรณ์สำหรับรถดังต่อไปนี้ - เครื่องมองหลัง เป็นกระจกเงา ติดอยู่ในที่ที่ผู้ขับรถสามารถมองเห็นภาพการจราจรด้านข้างและด้านหลังได้ทุกขณะอย่างชัดเจน เนื่องจากไม่ได้กำหนดจำนวนหรือขนาดของเครื่องมองหลัง ดังนั้นจึงสามารถติดเพิ่มจากเดิมได้โดยไม่ผิดกม. - กรณีเป็นรถจักรยานยนต์ กม.ก็บัญญัติไว้เช่นเดียวกันครับ เรื่อง รถโหลด รถเก๋งโหลดเตี้ยผิดกฏหมายหรือเปล่าครับ หรือมีกฏหมายบังคับให้โหลดได้ไม่เกินเท่าไหร่ เพราะรถบางคันท้ายโด่งมา บางคนโหลดให้ดูพองาม ซึ่งผมโดนตำรวจจับข้อหาดัดแปลงสภาพรถ และรถผมก็เป็นรถมือสอง ซื้อมาใช้สภาพนี้ครับ (ก็ไม่เตี้ยมากครับน่าจะประมาณ 1 - 2 นิ้ว สามารถก้มไปดูใต้ท้องรถได้) อยากรู้ว่า 1. ถ้าผิดกฏหมาย ทำไมถึงปล่อยให้เต๊นท์รถขายรถทำมาหรือดัดแปลงรถได้ครับ และทำไมเวลาตรวจสภาพรถก่อนต่อทะเบียนถึงผ่านละครับ ( แต่เวลาขับถูกจับ) และหนังสือลงโฆษณาขายโช้คโหลดอย่างนู้นอย่างงี้ ปล่อยให้เค้าขายได้อย่างไร(เท่ากับขายของที่ทำให้ผิดกฏหมายนะ) 2. ถ้ารถที่ดัดแปลงสภาพรถผิดกฏหมาย รถที่ใส่ไฮโดรลิค ยืดขึ้นยืดลง ใส่เครื่องเสียงดังๆรบกวนชาวบ้าน (เลียนแบบมอเตอร์โชว์) รถเก๋งเล็กที่ใส่เครื่อง J เทอร์โบ (แรงเกินขนาดของรถ) รถที่ยกสูงถือว่าดัดแปลงสภาพรถหรือเปล่า 3.ตอนผมจอดติดไฟแดงตำรวจมาขอดูใบขับขี่ พอผมยื่นให้ดู กับเดินกลับไปที่รถของเค้าเพื่อเขียนใบสั่ง ทิ้งให้ผมนั่งงงอยู่ในรถ โดยไม่แจงข้อหา ผมต้องขับออกไปแล้วจอดข้างทาง แล้วรีบเดินมาหาเค้าถามว่าเกิดอะไรขึ้นเค้าจึงบอกว่าดัดแปลงสภาพรถ ผมบอกว่าผมซื้อมาสภาพนี้ หรือพูดอย่างไรก็ไม่สนเก็บใบขับขี่เข้ากระเป๋าแล้วให้ไปเสียค่าปรับที่โรงพัก พอไปเสียค่าปรับ จะปรับตั้งพันหนึ่ง (มันความผิดผมเหรอ ผมซื้อมาสภาพนี้น่ะ) ผมว่าบางครั้งตำรวจทำเกินไปในบางครั้งไม่รับฟังเหตุผลบ้าง น่าจะชี้แจงให้เข้าใจว่ามันผิดอย่างนี้ๆนะ ไปแก้ไขซะ ถ้าเจออีกจับแน่นอนอะไรประมาณนี้ 4. คุณว่าการมีส่วนในเรื่องของเงินค่าปรับมีส่วนเกี่ยวข้องไหม มีคนบอกว่า(ซึ่งผมก็เห็นด้วย) พอมีเอี่ยวส่วนแบ่งในเงินค่าปรับทำให้บางคนไม่เคยโดนจับก็โดน(ผมใช้ขับรถมา 2 ปี ไม่เคยโดนจับไปทำธุระหลายจังหวัดเพิ่งมาโดน) บางครั้งผมเห็นว่ามันเอื้อการนำมาใช้หาผลประโยชน์กับคนที่ไม่ค่อยรู้เรื่องกฏหมายมากเกินไป เหมือนดาบมีสองคมใช้ในทางที่ดีก็ดีไป เท่าที่ผมอยากรู้ก็มีเท่านี้ละครับ ซึ่งผมคิดว่าประชาชนทั้งหลายที่ใช้รถ ก็คงอยากจะทราบเหมือนกับผม คำตอบ ขออนุญาตแยกตอบเป็นหัวข้อหลักๆ อาจจะข้ามหรือกระโดดไปบ้าง ดังนี้ -- การใช้รถนั้น หากเป็นรถที่ซื้อต่อจากผู้อื่น (รถมือสอง) ผู้ที่ซื้อรถคันดังกล่าวมาหรือผู้ขับขี่รถ (จะเป็นเจ้าของรถหรือไม่ก็ตาม) จะต้องรับผิดชอบทั้งในเรื่องของการขับขี่รถและของตัวรถที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรตรวจพบว่าผิดกม. สรุปว่า การใช้รถมือสองหรือการยืมรถคนอื่นมาขับ หรือการเป็นลูกจ้างแล้วนายจ้างสั่งให้มาขับรถ เช่นไปส่งของหรือเป็นคนขับรถ หาสกพบว่ามีสิ่งใดสิ่งหนึ่งผิดกม. จะอ้างว่าไม่ใช้เจ้าของรถหรือเป็นรถซื้อต่อมา ย่อมไม่ได้ ยกเว้นจะมีกม.กำหนดไว้เป็นความผิดเฉพาะตัวเจ้าของ -- รถโหลดเตี้ยหรือรถยกสูงไม่ผิดกม. เว้นแต่ 2.1 รถโหลดเตี้ย หากโหลดแล้ว มีผลต่อเนื่องไปทำให้ส่วนอื่นของรถผิดกม.ก็จะมีความผิดไปด้วย ซึ่งเห็นได้ชัดที่สุดคือ การโหลดเตี้ยทำให้ระดับของไฟหน้ารถผิดไปจากที่กม.กำหนดไว้ ได้แก่ รถยนต์ : ไฟหน้ารถถูกกำหนดให้สูงจากพื้นทางราบถึงจุดศูนย์กลางดวงโคมไม่น้อยกว่า 0.60 ม. แต่ไม่เกิน 1.35 ม. หากนำรถไปโหลดเตี้ยแล้ว ลองเอาไม้บรรทัดวัดดูว่าน้อยกว่า 0.60 ม.หรือไม่ หากน้อยกว่าก็ผิดกม.ครับ 1. รถอยู่ในเต๊นท์ยังไม่ผิดกม.ครับ จอดไว้ในเต๊นท์ยังไม่ผิดจะผิดเมื่อเอาออกไปใช้ขับขี่ ส่วนโชคอัพรถนั้นยิ่งไม่ผิดกม.ใหญ่ เว้นแต่จะผิดตามพ.ร.บ. ผลิตภัณท์มาตรฐานอุตสาหกรรม(มอก.) เกี่ยวคุณสมบัติของโชคอัพ ครับ เท่าที่ทราบ การตรวจสภาพรถผ่านสถานที่ตรวจรถเอกชนไม่ได้ตรวจเรื่องความเตี้ยของรถครับ มีแต่ตรวจเรื่องอุปกรณ์อื่น 2. รถยกสูงหากไฟสูงเกิน 1.35 ม.ก็ผิดกม.เช่นเดียวกันครับ รถใส่เครื่องเทอร์โบ หรือเปลี่ยนเครื่องใหม่ ต้องให้นายทะเบียนกรมการขนส่งทางบกตรวจสภาพก่อน หากตรวจผ่
านก็ไม่ผิดครับ 3.ประเด็นว่าเป็นรถมือสองคงเข้าใจดีแล้วนะครับว่า ใช้เป็นเหตุผลในการทำให้พ้นผิดไม่ได้ แต่ประเด็นกรณีที่ตำรวจไม่แจ้งข้อหาหรือความผิดให้ทราบนั้น ไม่ถูกต้อง โดยหลักแล้วต้องแจ้งให้ทราบก่อนว่าผิดอะไร แล้วจึงออกใบสั่ง 4. เรื่องการที่เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้จับกุมได้รับเงินรางวัลจากค่าปรับจราจรนั้น เป็นเพราะมีกม.บัญญัติไว้ว่า เงินค่าปรับจราจรร้อยละห้าสิบให้แบ่งให้แก่กรุงเทพมหานคร และเป็นรายได้แผ่นดิน (กระทรวงการคลัง) ส่วนที่เหลือนั้นให้เป็นรางวัลให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้จับกุม ซึ่งในส่วนของตำรวจจราจรก็มีการเปลี่ยนแปลงกันหลายครั้ง ซึ่งก็น่าจะเป็นเหตุจูงใจที่ทำให้มีการกวดขันจับกุมผู้ฝ่าฝืนกม.มากขึ้น แต่การกระทำความผิดใดๆก็ตาม หากไม่เคยถูกจับมาก่อน ก็ไม่ได้หมายความว่า จะเปลี่ยนสิ่งที่ผิดกม.เป็นสิ่งที่ถูกกม.ไปได้ ไม่ว่าจะไม่เคขถูกจับมา 2 หรือ 3 ปีหรือขับรถผ่านมากี่จังหวัดแล้วก็ตาม เรื่องไฟตัดหมอก อยากทราบว่าการเปิดไฟตัดหมอกนั้นผิดกฎหมายไหมครับแล้วถ้าผิดกฎหมายแล้วจะเสียค่าเปรียบเทียบปรับเท่าไหร่ คำตอบ ขณะนี้กม.เปิดโอกาส ให้รถที่ต้องการติดไฟตัดหมอก 1.สามารถติดได้ที่หน้ารถข้างละหนึ่งดวงอยู่ในระดับเดียวกัน ใช้ไฟแสงขาวหรือแสงเหลือง มีกำลังไฟเท่ากันไม่เกินดวงละ 55 วัตต์ สูงจากพื้นทางราบไม่เกินกว่าระดับโคมไฟแสงพ่งไกล (ไฟสูง) และโคมไฟแสงพุ่งต่ำ (ไฟต่ำ) ศูนย์รวมแสงต้องอยู่ต่ำกว่าแนวขนานกับพื้นทางราบไม่น้อยกว่า 2 องศา หรือ 0.20 เมตรในระยะ 7.50 เมตร และไม่เฉไปทางขวา 2. ไฟตัดหมอกจะเปิดไฟหรือใช้แสงสว่างได้เฉพาะในทางที่จะขับรถผ่าน มีหมอก ควัน หรือฝุ่นละอองจนเป็นอุปสรรค อันอาจเกิดอันตรายในขณะขับรถ แลมื่อไม่มีรถอยู่ด้านหน้าหรือสวนมาในระยะของแสงไฟ ดังนั้น สรุปว่า 1. การติดไฟตัดหมอก มีเงื่อนไขตาม ข้อ 1 2. การใช้ไฟตัดหมอก ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขตาม ข้อ 2 เรื่องการใส่ part รอบคันรถตู้ใส่กันชนรอบคันและมีเสาอากาศอยู่ด้านหลังจะผิดกฏหมายหรือเปล่าครับ คำตอบ รถตู้หรือรถอื่นที่ติดกันชนรอบคัน หากพิจารณาจากการติดตั้งแล้ว ไม่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่น เช่นไม่ติดยื่นยาวจนเกินไป หรือไม่มีลักษณะเป็นของแหลมคม เมื่อมีคนเดินผ่านรถไปเฉี่ยวถูก ทำให้ได้รับบาดเจ็บ ก็ยังไม่เป็นความผิด การติดเสาอากาศก็เช่นเดียวกัน การติดกันชนรอบคัน แม้จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายกับตัวรถ แต่ก็เสียเงิน และทำให้น้ำหนักรถเพิ่มขึ้นโดยใช่เหตุ เปลืองน้ำมันรถเปล่าๆ กันชนเดิมก็มีอยู่แล้ว เรื่องฟิมล์กรองแสง ขอตอบคำถามด้วยบทความดังต่อไปนี้ (ตอนที่ 1) ฟีล์มกรองแสง ปัญหาอยู่ที่กรองแสงหรือสะท้อนแสง ฟีล์มกรองแสง หรือวัสดุกันแสง ช่วยลดปริมาณความร้อนที่จะเข้าไปรถ ทำให้อุณหภูมิภายในห้องโดยสารของรถเย็นเร็วขึ้น ลดอันตราย ที่เกิดจากการแตกกระจายของเศษกระจกได้ดีเยี่ยม รวมทั้งช่วยลดความเสี่ยงของบุคคลภายในรถ (สตรี) ทั้งจากการถูกมอง หรือสังเกต จากภาย นอกโดยเหล่ามิจฉาชีพทั้งหลาย และเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่การจราจรติดขัด ยิ่งกว่านั้นเมื่อถึงคราวจำเป็น เร่งด่วน ยังได้อาศัยเป็นห้องแต่งตัวพอแก้ขัดไปได้ และรักษาอุปกรณ์ตกแต่งภายในรถ เช่น คอนโซลหน้า-หลังไม่ให้ซีดหรือแห้งกรอบ ช่วยประ หยัดพลังงานที่เกิดจากการทำงานของเครื่องปรับอากาศ นอกจากนี้ฟีล์ม กรองแสงยังช่วยลดรังสีอุลตราไวโอเล็ต และรังสียูวี ที่สำคัญยังช่วยป้องกันปัญหาทางสุขภาพอนามัย เช่น มะเร็งผิวหนัง ต้อนัยน์ตา และยังช่วยป้องกันรอยขีดข่วยที่อาจเกิดกับกระจกรถได้อีกด้วย ตำรวจเอากม.อะไรมาจับ เอาเหตุผลอะไรมาตอบสังคม ก่อนที่ท่านจะอ่านข้อความต่อไปนี้ ขอให้สูดลมหายใจลึกๆไว้ก่อนครับ ฟีล์มกรองแสงโดยรวม มี 3 ชนิด คือ ชนิดที่ 1 ฟีล์มกรองแสงทั่วไป เป็นชนิดไม่มีการเคลือบโลหะ ฟีล์มชนิดนี้มีคุณสมบัติในการลดแสงที่ส่องผ่านกระจก ไม่มีการสะท้อนแสงหรือมีน้อยมาก เพิ่มความเข้มของสีกระจก เนื้อฟีล์มจะบาง ไม่มีความเงามัน ชนิดที่ 2 ฟีล์มกรองแสงชนิดเคลือบโลหะ มีการพัฒนาคุณสมบัติจากชนิดที่ 1 โดยการผสมโลหะหนัก เช่น ไอสารอลูมินั่ม นิเกิล ทองแดง หรือโลหะอัลลอยด์อื่นๆ ผิวฟีล์มจะมีสีเหลือบเป็นมันเงา สีจะแตกต่างกันตามประเภทของไอโลหะ เนื้อฟีล์มจะหนากว่าชนิดที่ 1 ลดการส่องผ่านของแสงได้มาก มีการสะท้อนแสงได้ดี ค่าการสะท้อนแสงมากน้อยขึ้นอยู่กับส่วนผสมของโลหะที่เคลือบบนผิวฟีล์ม ชนิดที่ 3 ฟีล์มกรองแสงชนิดใช้กับกระจกอาคาร-สำนักงาน (เรียกกันทั่วไปว่า ฟีล์มฉาบปรอท ทั้งที่ไม่มีส่วนผสมของปรอทเลย แต่เรียกกันตามสีที่คล้ายสีของปรอท ) มีส่วนผสมของโลหะมากที่สุด สะท้อนแสงมากกว่า 50% ไม่เหมาะกับการนำมาติดกับกระจกรถอย่างยิ่ง เนื่องจากค่าของการสะท้อนแสงมีมาก ทำให้เข้าสะท้อนเข้าตาของผู้ขับขี่รถทั้งที่วิ่งสวนทางและตามหลัง
เป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย และทำให้ทัศนวิสัยในการมองเห็นสิ่งต่างจากภายในรถของผู้ขับขี่รถเสียไป (ฟีล์มชนิดนี้สังเกตุได้ง่าย จะมีการสะท้อนแสงได้มาก จนบางครั้งถึงกับหวีผม หรือบีบสิวได้) กม.ที่เกี่ยวข้องกับฟีล์มสะท้อนแสง (เฉพาะพ.ร.บ.จราจรทางบกฯ และพ.ร.บ.รถยนต์ฯ) 1. พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 8 ห้ามมิให้ผู้ใดนำรถที่ไม่อาจแลเห็นทางพอแก่ความปลอดภัยมาใช้ในทางเดินรถ เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ให้อธิบดีมีอำนาจออกระเบียบเกี่ยวกับใช้วัสดุกรองแสงกับรถที่นำมาใช้ในทางเดินรถได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา - ระเบียบกรมตำรวจ ว่าด้วย การใช้วัสดุกรองแสงกับรถที่นำ มาใช้ในทางเดินรถ พ.ศ. 2541 ลงวันที่ 24 ก.พ. 2541 - ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วย การใช้วัสดุกรองแสงกับรถที่นำมาใช้ในทางเดินรถ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542 ลงวันที่ 24 ก.ย.2542 - ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วย การยกเลิกการใช้วัสดุกรองแสงกับรถที่นำมาใช้ในทางเดินรถ พ.ศ.2544 ลงวันที่ 1 มิ.ย.2544 2. พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 12 รถใดที่จดทะเบียนแล้ว หากปรากฏในภายหลังว่ารถนั้นมีส่วนควบหรือเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถไม่ครบ ถ้วนถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือเพิ่มสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไป ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่น ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถนั้นจนกว่าจะจัดให้มีครบถ้วนถูกต้องหรือเอาออกแล้ว ก่อนที่จะมีการบังคับใช้ฟีล์มกรองแสงนั้น ได้มีการต่อต้าน ไม่เห็นด้วยเป็นอย่างมาก ประกอบกับสถานการณ์ในขณะนั้น ไม่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้วัสดุกรองแสง กับรถที่นำมาใช้ในทางเดินรถ สมควรที่จะทำการศึกษาความเหมาะสมในเรื่องวัสดุกรองแสงติดรถยนต์ให้เป็นที่ชัดเจนเสียก่อน จึงให้ยกเิกการใช้วัสดุกรองแสงกับรถที่นำมาใช้ในทางเดินรถ เมื่อปี พ.ศ.2544 ผลของการยกเลิกกม. ทำให้สามารถติดฟีล์มกรองแสงที่รถได้โดยเสรี เนื่องจากไม่มีกม.บังคับไว้ ประกอบกับได้มีการพัฒนาคุณสมบัติของฟีล์มจากชนิดที่ 1 เป็นชนิดที่ 2 โดยมีหลักสำคัญคือ การเคลือบโลหะลงบนแผ่นฟีล์ม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการลดแสงหรือความร้อนที่จะผ่านเข้าไปภายในรถ ( Visible Light Transmission ) ซึ่งมีระดับค่าตั้งแต่ 8% - 66% และการสะท้อนแสงหรือความร้อน ( Visible Light Reflectance ) ซึ่งมีระดับค่าตั้งแต่ 5% - 43 % และเป็นที่นิยมของผู้ใช้รถอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่ตามมา คือ ความแตกต่างกันระ หว่างระดับต่ำสุด ( 5% ) และสูงสุดของค่าการสะท้อนแสง ( 43% ) ทำให้รถติดฟีล์มดังกล่าว มีความหลากหลายและแตกต่างกัน ทั้งรถที่มีการสะท้อนแสงน้อยสุดไปจนถึงมากสุด ประกอบกับมีผู้นำรถติดฟีล์มชนิดที่ 3 (สำหรับอาคารสำนักงาน) และนำออกมาใช้ในถนนเพิ่มขึ้น ต่อมาในวันที่ 27 ส.ค.2547 ได้มีการร้องเรียนผ่านนายพูลทรัพย์ ปิยะอนันต์ ผู้ตรวจ การแผ่นดินของรัฐสภา ไปยังนายจาตุรนต์ ฉายแสง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่ง ชาติ กรณีเริ่มมีรถยนต์ติดฟีล์มกันแดดแบบฉาบปรอทสะท้อนแสง ( ชนิดที่ 3 ) ซึ่งเมื่อถูกแสงแดดจะสะท้อนไปเข้าตาผู้ขับรถคันอื่นที่ขับตามมาหรือขับข้างๆ ทำให้ตาพร่า อันก่อให้เกิดอันตรายอย่างยิ่งจากอุบัติเหตุ อีกทั้งง่ายต่อการก่ออาชญากรรม เพราะฟีล์มชนิดดังกล่าวจะไม่เห็นคนข้างใน เนื่อง จากกันสายตาโดยสิ้นเชิง ซึ่งปัญหาอันอาจเกิดภัยอันตรายร้ายแรงดัง กล่าว โดยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาได้ประสพด้วยตัวเองมาแล้ว จึงได้มีการสั่งการโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติในฐานะหน่วย งานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหา ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรทั่วประ- เทศทำการประชาสัมพันธ์ ขอความร่วมมือผู้ขับขี่รถยนต์ติดฟีล์มกันแดดแบบปรอทสะท้อนแสง ( ชนิดติดอาคารสำนักงาน ) งดใช้ฟีล์มประเภทดัง กล่าว หากพบมีผู้ฝ่าฝืนให้กวดขันจับกุมและดำเนินคดี ในความผิดฐาน เพิ่มสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไปที่รถซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่นตาม มีอัตราโทษปรับ ไม่เกิน 2,000 บาท ปรากฏว่าในการกวดขันจับกุมตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 12 นั้น เนื่องจากไม่ได้มีการกำหนดมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์ของค่าการสะท้อนแสงที่อาจเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่นไว้ คงให้เป็นดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรผู้ปฏิบัติในการพิจารณา ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันไปในแต่ละปัจเจกบุคคล รวมทั้งเวลา ตลอดจนสภาพแวดล้อม รวมทั้งความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนระหว่างผู้ขับขี่รถที่ถูกตรวจจับกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในประเด็นการจับกุมความผิดฐาน ติดฟีล์ม กรองแสง ซึ่งได้มีการยกเลิกกม.ไปแล้ว กับความผิดฐาน เพิ่มสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไปที่รถซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่น (สิ่งใดสิ่งหนึ่งในที่นี้ อาจหมายรวมถึงวัสดุอื่นใด เช่น ผ้าม่าน กระดาษ สติกเกอร์โฆษณาต่างๆ มู่ลี่กันแดด ฉากกั้น ฯลฯ ) สำหรับการกำหนดค่ามาตรฐานการสะท้อนแสงของฟีล์ม กร
องแสงนั้น ผู้ประกอบการและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะเป็นผู้ประสานให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นผู้กำหนดมาตรฐาน เพื่อใช้กำหนดเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้ถูกต้องต่อไป ดังนั้น เพื่อไม่ให้ผู้ใช้รถที่ติดฟีล์มกรองแสงไปแล้ว ได้รับความเดือดร้อนและเกิดความสับสนอันอาจนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งของสังคม ในขณะที่ยังไม่มีการกำหนดค่ามาตรฐานการสะท้อนแสงของฟีล์มกรองแสง ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่น สำหรับเป็นแนวทางในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร ในวันที่ 27 ก.ย.2547 จึงได้มีบันทึกสั่งการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ใช้มาตรการประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือผู้ขับขี่และร้านค้าผู้ติดฟีล์มที่อาจเกิดอันตรายดังกล่าวไปพลางก่อน อย่างไรก็ตาม รถที่ติดฟีล์มกันแดดแบบปรอทสะท้อนแสง ( ชนิดติดอาคาร-สำนักงาน ) ซึ่งเป็นชนิดที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่นอย่างชัดเจน จะมีการกวดขันจับกุมอย่างเข้ม งวดต่อไป ส่วนรถที่ติดฟีล์มกรองแสงชนิดที่ 1 หรือ ชนิดที่ 2 ไปแล้ว ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องลอกออกในขณะนี้ สามารถใช้ต่อไปได้ จนกว่าจะมีการกำหนดค่ามาตรฐาน หรือมาตรการในการแก้ไขปัญหาก่อน ปัญหาคือ รถที่กำลังจะติดฟีล์มกรองแสงใหม่ หรือรถใหม่ ยังคงสามารถจะติดฟีล์มได้ แต่ควรทำความเข้าใจในรายละเอียดของฟีล์มที่จะติด ไม่ว่าจะเป็นชนิด ประเภท คุณสมบัติ โครงสร้าง และสิ่งสำคัญที่สุดได้แก่ ค่าการสะท้อนแสง ซึ่งเป็นหน้าที่ของร้านค้าประดับยนต์ที่จะต้องชี้แจงให้ข้อแนะนำกับผู้บริโภคได้เข้าใจอย่างถูกต้อง รวมถึงการให้ร้านค้าผู้ประกอบการออกใบรับรองคุณสมบัติของฟีล์มที่ติเพื่อไว้ตรวจ สอบในอนาคต อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการกวดขันของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรนั้น ยังอยู่บนพื้นฐานของดุลยพินิจที่กม.กำหนดไว้กว้างๆ อาจจะเกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรผู้ปฏิบัติกับผู้ขับขี่รถบ้าง ดังนั้นเมื่อมีการตรวจจับและออกใบสั่ง หากยังไม่ยอมรับในดุลยพินิจของเจ้าข้าหน้าที่ตำรวจผู้จับกุม ข้อแนะนำคือ ขอให้นำใบสั่งพร้อมรถไปพบพนักงานสอบสวน สารวัตรจราจรหรือ รองผู้กำกับจราจร หรือหัวหน้าสถานีตำรวจ เพื่อตรวจสอบให้เกิดความถูกต้องและลดความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นในที่สุด สรุป ฟิลม์อะไรก็ได้ไม่ผิดกฎหมาย จะผิดต่อเมื่อ เป็นฟิล์มปรอท หรือติดเกิน25% ของกระจกบานหน้าคับ(ผมสรุปเองจากที่เข้าใจ) เรื่อง การจับความเร็ว อยากร่วมรณรงค์ทุกเรื่องเกี่ยวกับกับการใช้รถบนท้องถนน คือผมอยากทราบว่า กฎหมายที่ออกมาบังคับใช้เรื่องกำหนดความเร็ว 90 กม./ชม. เจาะจงพื้นที่หรือไม่ คำตอบ 1. ความเร็วตามที่กฎหมายกำหนดสำหรับประเทศไทยนั้นแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน 1.1 ความเร็วตามที่กม.กำหนด ซึ่งเป็นกฎกระทรวงออกตามพ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ ระบุไว้โดยสรุปดังนี้ - รถส่วนบุคคล รถเก๋ง รถแท็กซี่ รถปิคอัพขนาด 1 ตัน -ใข้ความเร็วในกทม.หรือ เขตเทศบาล ได้ไม่เกิน 80 กม.ต่อชม. -ใช้ความเร็วนอกเขตกทม.หรือนอกเขตเทศบาลใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 90 กม.ต่อชม. - ซึ่งความเร็วดังกล่าวข้างต้นรวมถึงบนทางด่วนทุกขั้น (ที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร) ด้วย 1.2 ยกเว้นทางมอเตอร์เวย์ มีกม.ระบุไว้เป็นการเฉพาะให้วิ่งได้ไม่เกิน 120 กม.ต่อชม. เหตุที่เป็นเช่นนี้เข้าใจว่า เพราะมอเตอร์เวย์เป็นทางในระดับพื้นราบ ไม่มีทางโค้ง หรือจุดที่เกิดอันตรายมาก และส่วนใหญ่เป็นเส้นทางตรงๆ ไม่ค่อยมีทางร่วมหรือทางเชื่อม ทำให้รถสามารถใช้ความเร็วได้มากอย่างปลอดภัย แต่บนทางด่วน มีทางเชื่อม ทางขึ้นลง ทางแยก รวมทั้ง มีทางโค้ง โคงหักศอก เป็นทางยกระดับ ทางลาดชัน อาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายหากใช้ความเร็วสูง ซึ่งก็มีตัวอย่างให้เห็นบ่อยๆ กรณีรถเกิดอุบัติเหตุแล้ว ตกลงจากทางด่วนลงมาพื้นราบ ทำให้คนไม่รู้เรื่องรู้ราวด้านล่างตายไปหลายกรณีแล้ว 1.3 กรณีการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจนั้น ส่วนใหญ่จะบังคับใช้หรือเข้มวงดกับรถที่ขับรถเร็วจนผิด ปกคิ หรือใกล้จุดที่น่าจะเกิดอันตราย เช่น แหล่งชุมชน เป็นต้น และจะมีการใช้เครื่องเรดาห์ในการตรวจจับโดยเครื่องดังกล่าวได้รับการรับรองความมาตรฐานจากกองทัพอากาศ เป็นระยะๆ เพื่อกันปัญหาร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนทางด่วน จะมีการเรียกตรวจจับที่ความเร็วเกินกว่า 110 กม.ต่อชม. โดยผู้ขับขี่จะถูกเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่รถ และออกใบแทน ( ใบสั่ง) ให้รับไป ซึ่งกม.กำหนดอัตราโทษไว้ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ส่วนใหญ่พนักงานสอบสวนจะปรับ ไม่เกิน 500 บาท แต่จะถูกยึดใบขับขี่ตามมาตรการบันทึกคะแนน ไว้ 15 วัน หลังจากนั้นมารับใบขับขี่คืนได้โรงพักที่เราเสียค่าปรับ ปกติการจับกุมผู้ขับขี่รถเร็วกว่ากม.กำหนดก็ได้ทำเป็นเหตุการณ์ประจำวันอยู่แล้ว แต่บางสน.ไม่มีพื้นที่ให้จับเนื่องจากไม่มีระยะทางไกลๆในการยิงด้วยเครื่องตรวจจับ เฉลี่ยเดือนละประมาณ 1,000 ราย
การขับรถด้วยความเร็วไม่เกิน 90 กม.ต่อชม. อาจดูช้าไปบ้างในเขตกรุงเทพฯ แต่เป็นความเร็วที่เมื่อเกิดอุบัติเหตุจะลดความรุนแรงของความบางเจ็บได้ รวมทั้งเป็นความเร็วที่ประหยัดน้ำมันในยุคพนักงานเชื้อเพลิงมีราคาแพง ส่วนผลต่างของเวลาระหว่าง 90 กม.ต่อชม. กับ 110 ก.ม.ต่อชม. จะไม่มีความแตกต่างกันมากนัก เรื่องรถกระบะกับทางด่วน รายละเอียดที่ห้ามไม่ให้รถกระบะไม่มีหลังคาขึ้นบนทางด่วน ตกลงข้อสรุปหรือ กม เป็นไงครับ คำตอบ อาจเป็นเรื่องสับสนอยู่มากสำหรับข่าวการห้ามรถกระบะขึ้นไปวิ่งบนทางด่วน เนื่องจากมีการนำเสนอข่าวในหลายๆช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ทางNet ซึ่งการนำเสนอดังกล่าวจะมีความแตกต่างกันไปในรายละเอียด ค่อนข้างมาก ประกอบกับมีการเสนอเรื่องป้ายทะเบียนรถสีเขียว สีฟ้า สีน้ำเงิน สีขาว และการเสียภาษีรถที่แตกต่างกัน อีกด้วย จึงทำให้ผู้คนสับสนมาก ขอสรุปที่เกี่ยวข้องในการขับขี่รถโดยตรงดังนี้ 1. ทางด่วนมีไว้สำหรับให้รถวิ่งด้วยความเร็วสูงกว่าปกติ แม้กม.จะบัญญัติให้รถเก๋ง ปิคอัพ วิ่งบนทางด่วนได้เพียง 80 กม.ต่อชม.ก็ตาม แต่ในข้อเท็จจริงเนื่องจากเป็นทางมีความพิเศษกว่าทางอื่นๆ เห็นได้ชัดว่า ต้องเสียค่าผ่านทาง ไม่มีสัญญาณไฟ ไม่อนุญาตให้รถบางประเภทเช่น จยย. รถสามล้อเครื่องขึ้นไปวิ่ง เป็นต้น ดังนั้น ข้อเท็จจริง รถส่วนใหญ่จะใช้ความเร็วได้สูง ทางสน.ทางด่วนเองก็ผ่อนผันให้วิ่งได้ถึง 110 กม.ต่อชม. สรุปภาพรวมเป็นทางที่รถวิ่งด้วยความเร็วสูงทั้งสิ้น อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจะมีความรุนแรงมากกว่าบนพื้นราบ 2. ตัวอย่างที่เห็นกันเป็นประจำขณะนี้ คือ มีรถปิคอัพบรรทุกสิ่งของต่างๆ หรือคนไว้ที่ท้ายกระบะ แล้วไปเกิดเหตุ ของตกหล่นบนพื้นทางทำให้รถที่วิ่งตามหลังมาเกิดอุบัติเหตุ หรือมีอุบัติเหตุรถชนกันหรือเสียหลักไปชนแผงกันตก ทำให้คนตกหรือกระเด็นตกจากรถ บางครั้งตกลงจากทางด่วน เสียชีวิตไปก็มีให้เห็นตามข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์บ่อยๆ 3. จากเหตุผลของข้อ 1 และ 2 ทำให้กองบังคับการตำรวจจราจร กองกบัญชาการตำรวจนครบาล ตระหนักถึงภัยดังกล่าว จึงได้ประสานกับการทางพิเศษ ห้ามรถปิคอัพที่บรรทุกคนหรือของที่ไม่จัดให้มีสิ่งป้องกันอย่างหนาแน่น ขึ้นไปวิ่งบนทางด่วน ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 กรณีคือ 3.1 รถปิคอัพที่บรรทุกสิ่งของต่างๆ เช่นบรรทุกเหล็กเส้น เหล็กแปป อลูมิเนียม ไม้แปรรูป รวมถึงสิ่งของต่างๆเมื่อจะย้ายบ้าน เป็นต้น โดยจะต้องมัดด้วยเชือกหรือวัสดุที่ยึดเหนี่ยวได้อย่างแน่นหนา ไม่ให้ของที่บรรทุกตกหล่นลงมา หรือจัดทำเป็นคอกหรือแผงกั้น ( กรณีนี้ก็ยังคงจะมีปัญหาอีก ในเรื่อง การเปลี่ยนแปลงสภาพรถให้ผิดไปจากที่จดทะเบียนไว้กับการนายทะเบียนขนส่ง - ซึ่งจะกล่าวถึงในโอกาสต่อไป เพราะเรื่องค่อนข้างยาว ) 3.2 รถปิคอัพ หากจะบรรทุก คน จะต้องมีที่นั่งสำหรับนั่ง และมีหลังคาเพื่อคุ้มแดด คุ้มฝนให้กับผู้โดยสาร ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยไม่ให้ตกหรือกระเด็นออกจากรถเมื่อเกิดอุบัติเหตุ และให้มีที่สำหรับจับหรือยึดเหนี่ยวไว้ไม่ให้กระเด็นออกจากรถเช่นเดียวกัน สรุป - ทางด่วนไม่ได้ห้ามรถปิคอัพหรือกระกระบะไม่มีหลังคาขึ้นไปวิ่งบนทางด่วน - หากรถปิคอัพจะบรรทุกคนต้องมีที่นั่งและหลังคา จะบรรทุกคนบนกระบะเปล่าๆเหมือนก่อนไม่ได้ - หากรถปิคอัพจะบรรทุกสิ่งของ จะต้องมีเครื่องป้องกัน เช่นมีแผงกั้น มีโครงเหล็ก มีเชือกหรือสายรัดสิ่งของไว้ กันไม่ให้ตกหล่นลงมา ถ้าปฏิบัติเช่นนี้แล้วก็สามารถวิ่งบนทางด่วนโดยไม่ถูกจับ ขอให้โชคดีครับ เรื่องรถกระบะกับการจดทะเบียนบรรทุก ผมอยากทราบว่ารถกระบะ 4 ประตู พื้นที่กระบะสามารถบรรทุกสิ่งของหรือคนได้หรือไม่ ถ้าเป็นสิ่งของสามารถบรรทุกเกินขึ้นมาจากขอบกระบะได้หรือไม่ คำตอบ ประเทศไทยเป็นประเทศที่จัดได้ว่ามีรถกะบะ(รถปิคอัพ) มากที่สุดประเทศหนึ่ง เนื่องจากกม. เปิดช่องให้ รถกะบะสามารถจดทะเบียนได้ถึง 2 ประเภท 1.รถนั่งสองแถวบุคคล 2. รถบรรทุกส่วนบุคคล ทั้งๆที่เป็นรถยี่ห้อ รุ่น สี ราคา เดียวกัน ซึ่งทำให้เกิดคำว่า รถเอนกประสงค์ ซึ่งในกม.ไม่มีบัญญัติไว้แต่อย่างใด 1. รถกะบะที่จดทะเบียนเป็นรถนั่งสองแถวบุคคล นั้น จะต้องมีที่นั่ง 2 แถว ( คนนั่งหันหน้าเข้าหากัน) และต้องมีหลังคา เพื่อใช้สำหรับคุ้มแดดคุ้มฝนให้กับผู้โดยสาร และต้องใช้รถในลักษณะดังกล่าวเท่านั้น ไม่สามารถไปเปลี่ยนแปลง เช่น เอาเบาะออก หรือเอาหลังคาออก เพราะมีการจดทะเบียนเป็นประเภท รถนั่งสองแถวบุคคล รถประเภทนี้สามารถบรรทุกของได้ ซึ่งไม่ค่อยมีปัญหา แต่ก็ต้องบรรทุกให้อยู่ภายในกะบะใต้หลังคา ยกเว้นแต่มีการบรรทุกกว้าง ยาวเกินกว่าตัวรถ ก็เป็นอีกกรณีหนึ่ง 2. รถกะบะที่จดทะเบียนเป็นรถบรรทุกส่วนบุคคล จะต้องเป็นรถที่เป็นกะบะเปล่า ไม่ต้องมีที่นั่งหรือหลังคาแต่อย่างใด เพราะตอนจดทะเบียนเป็นบรรทุกส่วนบุคคล หากมีการไปใส่หลังคาหรือที่นั่ง จะมีความผิดตามกม. รถประเภทนี้สามารถบรรทุกสิ่งของต่างๆไ
ด้ตามปกติ แต่ก็ต้องไม่กว้าง ยาว เกินกว่าที่กม.กำหนดไว้เช่นเดียวกัน สำหรับรถของคุณกานต์ฯนั้น เรียกได้ว่าเป็นรถยอดนิยมในขณะนี้ เพราะมี 4 ประตู สามารถนั่งได้แบบรถเก๋ง และยังมีกะบะท้ายให้บรรทุกของได้อีกด้วย ซึ่งสามารถบรรทุกของได้ครับ แต่มีข้อจำกัดคือ อย่าไปเปลี่ยนแปลงสภาพ เช่นใส่คอกหรือใส่หลังคา เพราะจดทะเบียนเป็นประเภท 4 ประตูมีกะบะ แต่อย่างไรก็ตาม การบรรทุกนั้น ตามปฏิบัติตามม. 20 แห่งพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 นั่นคือ ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถบรรทุกคน สัตว์ สิ่งของ ต้องจัดให้มีสิ่งป้องกันมิให้ คน สัตว์ สิ่งของที่บรรทุกตกหล่น รั่วไหล ส่งกลิ่น ส่องแสงสะท้อน หรือปลิวไปจากรถ อันอาจก่อเหตเดือดร้อน รำคาญ ทำให้ทางสกปรกเปรอะเปื้อน ทำให้เสื่อมเสียสุขภาพอนามัยแก่ประชาชน หรือก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน เรื่องหมวกกันน๊อคกับมอเตอร์ไซด์ อยากสอบถามว่า ในกรณีของการสวมหมวกกันน็อค ในผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามที่ใส่ผ้าคลุมผมตามหลักของศาสนา มีการยกเว้นด้วยหรือไม่ เพราะมีคนเคยโดนจับในข้อหาไม่สวมหมวกกันน็อค คำตอบ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 บัญญัติว่า ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และผู้ซ้อนท้ายต้องสวมหมวกกันน็อค ในขณะขับขี่และโดยสารรถจักรยานยนต์ ยกเว้นภิกษุ สามเณร นักพรต นักบวช หรือผู้นับถือศาสนาอื่นใดที่ใช้ผ้าโพกศีรษะตามประเพณีนิยมหรือบุคคใดที่กำหนดในกฏกระทรวง เมื่อพิจารณาตามตัวบทกฏหมาย หากผู้นับถือศาสนาอิสลาม มีประเพณีนิยมในการใช้ผ้าโพกศีรษะ ก็เข้าข่ายยกเว้นไม่ต้องสวมหมวกกันน็อค แต่หากมีประเพณีนิยมในการสวมหมวกผ้า (เน้นไม่ใช่ผ้าโพกศีรษะ-ตามที่กม.บัญญัติไว้) ก็น่าจะต้องสวมหมวกกันน็อค กรณีผ้าโพกศีรษะ ความเห็นส่วนตัวของผม น่าจะหมายถึง พี่น้องชาวแขกซิค ที่ไว้หนวดเคราและใช้ผ้าโพกศีรษะ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพ่อค้าขายผ้าแถวพาหุรัดมากกว่า เรื่องมอเตอร์ไซด์ 1.การที่เราขับขี่รถจักรยานยนต์แล้วไม่เอาที่พักเท้าด้านหลัขึ้น ผิดกฎหมายไหมครับ(ในกรณีขับคนเดียว) ถ้าผิดเสียค่าปรับ เท่าไร 2. ตะกร้าหน้ารถจักรยานยนต์ถ้าเอาออกผิดกฎหมายไหมครับถือว่าเป็นการดัดแปลงสภาพหรือเปล่า คำตอบ เรียน คุณwut ที่นับถือ 1. ไม่เอาที่พักเท้ารถจยย.ขึ้น ไม่ว่าจะขับขี่คนเดียวหรือหลายคน ไม่ผิดกม. ครับ เพราะกม.ไม่ได้ระบุเอาไว้ 2. ตะกร้าหน้ารถจยย.เอาออกไม่ผิดกม.ครับ และไม่เป็นการดัดแปลงสภาพรถเพราะกม.ไม่ได้ระบุไว้เช่นเดียวกัน
555 ตำรวจจราจรบางท่านเขามีกฎหมายส่วนตัวใช้ครับ เช่น ดอกยางใกล้หมดเค้าบอกว่าเข้าข่ายรถไม่ปลอดภัย ประเทศไทยเลยเจริญครับ กรูหล่ะกุ้ม
พวกนี้มันเหมือนฟังภาษาที่เราพูดกันไม่รู้เรี่องครับ ผมโดนข้อหารถดัดแปลงสภาพมาหลายรอบมาก มาจบที่ พ่อหลวงสีแดงทุกทีเลย เถียงมันเราต้องมีเอกสารไปยันให้มันดู แต่ก็นะไม่รู้ว่ามันจาเชื่อป่าวนะ ผมชอบโดน ....... ใส่ปลอกคอสีส้มกัดทุกทีเลยข้อหาเนีย เซง
เพิ่มเติมให้นิดนึง ครับ (เกี่ยวกันไม๊เนี่ย ) มาตรา 276 ผู้ใดข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นโดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้ายโดยผู้อื่นนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้ผู้อื่นนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่นต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่แปดพันบาทถึงสี่หมื่นบาท การกระทำชำเราตามวรรคหนึ่ง หมายความว่าการกระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำโดย การใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำกระทำกับอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น หรือการใช้สิ่งอื่นใดกระทำกับอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้อื่น ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งได้กระทำโดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง หรือกระทำกับชายในลักษณะเดียวกันต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สามหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต มาตรา 277 ผู้ใดกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาหรือสามีของตน โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่แปดพันบาทถึงสี่หมื่นบาท การกระทำชำเราตามวรรคหนึ่ง หมายความว่าการกระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำ โดยการใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำกระทำกับอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น หรือการใช้สิ่งอื่นใดกระทำกับอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้อื่น ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปี ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่เจ็ดปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นสี่พันบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต เผื่อจะเป็นประโยชน์ นะครับ