เกียร์ tiger 2500 ทำไมมันเข้าเกียร์ถอนหลังยากจังคร๊าบ ผมกระแทกจนเขี้ยวหักแล้ว เปลี่ยนเป็นครั่งที่ 2 แล้วคับ ครั่งแรกใช่ของ ไมตี้ ลงเลย คันดามเกียร์มันเล็กกว่าของ tigrt แล้วมัก้อพังอีกตามเคย เขี้ยวหักอีกแล้ว โยกเหมือนไม่มีตัวล็อกเลยเวลาเข้าเกียร์ มีใครพอมีขายไหมอาคร๊าบ เอายกทั่งชุดเลยคร๊าบ ชุดที่ถอดน๊อตออก 4 ตัวอ่ะ ตัวเกียร์ไม่เอาน่ะคร๊าบ ด่วนเลยน่ะคร๊าบ รถทำงานไม่มีส่งหนังสือพิม อิ อิ
แบบนี้ละครับ จะเข้าเกียร์ถอย ก็ต้อง ดันไป 1 แล้วค่อยถอย ไม่งั้นไม่เข้า รถ hero ผมก็เป็นนะ เหมือน tiger เลย อย่าเข้ าผิดไปเข้า เกียร์มัว ล่ะ เด่ว หูหลุด 55
เทคนิค ครับรถ ผมว่าน่าจะเป็นทั้ง ตะกูล tiger นะครับ เจอบ่อยอาการนี้ เนื่องจากรุ่นนี้ถ้าเจอจังหวะรอบบแอร์ทำงานจะยิ่งเข้ายากครับ เหมือนกับ ViGO ที่ว่าคลัทชอบกระโดด จังหวะรอบแอร์ทำงานนะครับ ลองสังเกตุดู น่าจะเกิดจากการเปลี่ยนเกียร์ด้วยความรวดเร็ว ทำให้รอบเครื่องมันค้างชุดคลัทยังจากไม่หมด วิธีแก้เข้าเกียร์ 1 เดินหน้าเล็กน้อย แค่ อึบ ฮะนะ แล้วกลับเข้ามาที่เกียร์ ถอยหลังจะเข้าได้ง่าย ไม่ควรฝืน นะครับ ทุกวันนี้รถผมก็ยังคงใช้งานได้ดีเหมือนเดิม ไม่ต้องเปลี่ยนอะไร ถนอมของมันหน่อย เข้าใจมันสักนิด กระเป๋าจะได้ไม่แบนแฟนทิ้ง เกี่ยวกันไหมเนี่ย ลองดูครับ ต้องลองเปลี่ยนพฤติกรรมที่แบบรุ่นแรงมาแบบนิ่มนวลดูครับ
ขอบคุณคร๊าบ ทุกคำตอบน่ะคร๊าบ ถ้ามีหญิงขับให้คงต้องเข้าเกียร์ผิดกันหน่อย อิ อิ แต่ว่าขายอยู่ซอยไหนในเชียงกง อาคับ กลัวไปหาซื่อแล้วโดน กดราคา ไปทำทาทางมึน มึน งง งง
เรื่องของเกียร์AUTO เกียร์ออโตเป็นเกียร์ที่มีความทนทานไม่เสียง่าย มีการสึกหรอน้อย มีอายุการใช้งานขึ้นอยู่กับการใช้งาน เป็นเกียร์ที่ให้ความสะดวกสบายในการขับขี่แต่ก็มักจะ เป็นปัญหากับผู้ที่เริ่มใช้หรือใช้เป็นครั้งแรก ไม่ว่าจะเป็นการสตาร์ทเครื่องยนต์ ตำแหน่งการทำงานของเกียร์ ส่วนใหญ่จะเกิดจากความไม่เคยชิน ส่งที่ต้องทำความรู้จักเป็นอันดับแรกเมื่อคิดจะใช้เก ียร์ออโตก็คือ "ตำแหน่งเกียร์" ปัจจุบันสะดวกมากขึ้น เพราะจะมีไฟโชว์ตำแหน่งเกียร์บนหน้าปัดโดยไม่ต้องก้ม ลงมอง แต่ถ้าจะให้ดีจำให้ได้โดยไม่ต้องก้มดูตำแหน่งเกียร์จ ะดีกว่า การขับเคลื่อนในเกียร์ออโตเกียร์จะทำการเปลี่ยนอัตรา ทด 1-2-3-4 เอง ตามความเร็วที่รถวิ่ง แต่รถเกียร์ออโตเราจะไม่เห็นอัตราทด 1-4 ที่กล่าวมา เพราะอัตราทดดังกล่าวจะมารวมกันอยู่ในตำแหน่งเกียร์ "D-D 3-2" ซึ่งทั้งหมดเป็นเกียร์ขับเดินหน้า เมื่อเลื่อนคันเกียร์มาที่ตำแหน่ง "D" เมื่อรถออกตัว เกียร์จะเปลี่ยนอัตราทดขึ้น-ลง ไปเรื่อย ๆ ตามความเร็วรถส่วนตำแหน่ง "D 3" เกียร์จะทำงานเช่นเดียวกับตำแหน่ง "D" แต่อัตราทดจะถูกล็อคอยู่เพียงแค่เกียร์ 3 ซึ่งเป็นอัตราทด 1:1 ไม่เปลี่ยนเป็น เกียร์ 4 ซึ่งเป็นอัตราทดโอเวอร์ไดรว์ ส่วนตำแหน่งเกียร์ 2 ก็เช่นกันเกียร์จะล็อค อัตราทดให้เกียร์เปลี่ยนเฉพาะอัตราทด 1-2 เท่านั้น ในเกียร์ออโตที่มีใช้ในรถกระบะบ้านเราจะเห็นความพิเศ ษเพิ่มขึ้นอีกคือ มักจะมีปุ่ม "Hold" ซึ่งส่วนใหญ่จะทำหน้าที่ในการล็อคตำแหน่งเกียร์ให้เร ิ่มทำงานที่เกียร์อัตราทดเกียร์ 2 และสิ้นสุดการทำงานที่อัตราทดเกียร์ 2 เพื่อป้องกันการหมุนฟรีของล้อจากอัตราทดที่สูงในเกีย ร์ 1 ซึ่งจะมีประโยชน์เมื่อใช้ในสภาพผิว ถนนที่ลื่นเช่น ถนนที่มีโคลนเลน นอกจากตำแหน่งเกียร์เดินหน้าแล้วเกียร์ออโตจะประกอบไ ปด้วยตำแหน่ง "P" เป็นตำแหน่งที่ต้องใช้ทุกครั้งที่จอดในที่จอดรถโดยรถ จะไม่สามารถขยับได้ ตำแหน่ง "R" เป็นตำแหน่งเกียร์ถอยหลังและ "N" คือ ตำแหน่งเกียร์ว่างการวางตำแหน่งเกียร์จะเรียงจาก P-R-N-D-D3-2 ใช้ให้เป็น เลือกเกียร์ให้ถูก การใช้รถเกียร์ออโตที่ถูกต้องจะเริ่มตั้งแต่การ "สตาร์ทเครื่องยนต์" เพื่อความปลอดภัยสูงสุดควรตรวจสอบดูตำแหน่งคันเกียร์ หลังจากที่นั่งประจำตำแหน่งและคาดเข็มขัดนิรภัยแล้ว ตำแหน่งคันเกียร์หลังจากที่นั่งประจำตำแหน่ง และคาดเข็มขัดนิภัยแล้ว ตำแหน่งคันเกียร์จะต้องอยู่ที่ตำแหน่ง "P" หรือ "N" เท่านั้น และขณะที่สตาร์ทเครื่องยนต์ เท้าขวาควรจะวางไว้บนแป้นเบรค ในรถยนต์บางรุ่นอาจจะสตาร์ทไม่ติดถ้าไม่รัดเข็มขัดนิ รภัย สิ่งหนึ่งที่ควรจะฝึกให้เคยชินก็คือ รถเกียร์ออโตไม่จำเป็นต้องใช้เท้าซ้ายทำความคุ้นเคยก ับตำแหน่งการวางเท้าในตำแหน่งที่ดีที่สุดในการขยับปล ายเท้าไปมาระหว่างเบรคกับคันเร่ง เพราะเท่าที่สังเกตส่วนใหญ่แป้นเบรคของรถเกียร์ออโตจ ะมีขนาดค่อนข้างใหญ่การวางตำแหน่งเท้าไม่ดีพอ เวลาตกใจจะเหยีบเบรคอาจจะกลายเป็นเร่งส่งอย่างที่เห็ นเป็นข่าวกันบ่อย ๆ การสตาร์ทเครื่องยนต์ในตำแหน่งเกียร์ "P" จะเป็นตำแหน่งที่ปลอดภัยที่สุด เพราะการเลื่อนคันเกียร์ออโตนั้นบางตำแหน่งต้องปลดล็ อคคันเกียร์แต่บางตำแหน่งต้องปลดล็อคคันเกียร์แต่บาง ตำแหน่งก็ไม่ต้องปลดล็อคคันเกียร์เพื่อป้องกันการเลื ่อนของคันเกียร์โดยไม่ตั้งใจ ซึ่งเป็นที่มาของอุบัติเหตุให้เราได้ยินบ่อย ๆ การเลื่อนคันเกียร์เพื่อ "เปลี่ยนตำแหน่งเกียร์" ควรรอสักพักหลังจากติดเครื่องยนต์ เพื่อให้เครื่องยนต์ได้อุณหภูมิการทำงาน หากเป็นคนช่างสังเกตจะเห็นได้ว่าเมื่อแรกสตาร์ทเครื่ องยนต์ที่ใช้เกียร์ออโตรอบเครื่องจะสูงกว่าปกติอยู่ร ะยะหนึ่งก่อนจะลดระดับลงมาที่ความเร็วรอบเดินเบาปกติ การเลื่อนคันเกียร์ไปที่ตำแหน่งขับเคลื่อน D หรือ ถอยหลัง R เลยหลังจากติดเครื่องจะทำให้รถเกิดอาการกระตุกและเคล ื่อนที่ด้วยแรงหรือความเร็วที่มากกว่าปกติ และสิ่งที่ควรระวังอีกอย่างหนึ่งของพวกที่จอดติดไฟแด งแล้วไม่ชอบเปลี่ยนเป็นเกียร์ว่าง คาคันเกียร์ไว้ที่ตำแหน่ง D คือ คอมเพรสเซอร์แอร์ตัดจะทำให้รอบเครื่องสูงขึ้น ถ้าไม่ได้เหยียบเบรค หรือดึงเบรคมือไว้รถจะกระโดดไปข้างหน้าและถึงแม้ว่าจ ะมีการล็อคเบรคไว้ก็จะไม่เป็นผลดีกับเกียร์มีผลต่ออา ยุการใช้งานของเกียร์เช่นกัน ดังนั้นทุกครั้งที่หยุดรถชั่วคราวควรจะเปลี่ยนตำแหน่ งเกียร์เป็นเกียร์ว่าง N การเลื่อนคันเกียร์ในเกียร์ออโตจากตำแหน่งจอด P มาตำแหน่งถอยหลัง R จะต้องปลดล็อค ส่วน R มา N จะสามารถเลื่อนได้เลยไม่มีล็อค แต่ถ้ากลับกัน N ไป R จะต้องปลดล็อคถึงจะเลื่อนได้ ในตำแหน่ง N ไป D และตำแหน่ง D กลับไปที่ N ไม่จำเป็นต้องปลดล็อคสามารถเลื่อนไปเลื่อนมาได้ และเช่นกันเมื่อต้องการเลื่อนตำแหน่งคันเกียร์จาก D ลงไปสู่ตำแหน่ง D 3 และ 2 ต้องปลดล็อคเพื่อความปลอดภัยของระบบเกียร์ การใช้เกียร์อัตโนมัติในตำแหน่งเกียร์ถอยหลัง การเปลี่ยนเกียร์ควรให้รถหยุดสนิท ก่อนที่จะเลื่อนตำแหน่งเกียร์มาที่ R เพราะเมื่อมีการเลื่นคันเกียร์มาในตำแหน่ง R ที่เฟืองเกียร์ในตำแหน่งนี้มีทิศทางการหมุนที่ตรงกัน ข้ามกับเกียร์เดินหน้า การเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ขณะที่รถยังเคลื่อนที่ไปข้าง หน้า แต่เกียร์มีการทำงานในทิศทางที่สวนกัน จะทำให้เกียร์พังเร็วกว่าปกติมาก การเลื่อนคันเกียร์ไปในตำแหน่งถอยหลังเมื่อรถหยุดสนิ ททุกครั้งควรเหยียบเบรคเพื่อให้คนขับได้มีเวลาเตรียม ตัวสำหรับการถอยหลัง และในเกียร์ออโตเพียงแค่ยกเท้าออกจากเบรคตำแหน่งเกีร ยร์ถอยที่มีอัตราทดที่สูงอยู่แล้ว รถจะเคลื่อนที่ได้โดยไม่ต้องเหยียบคันเร่ง คนขับเพียงแต่เหยียบเบรคเพื่อควบคุมการเคลื่อนที่เท่ านั้นนอกซะจากจะเป็นการถอยหลังขึ้นเนินที่มีความชันพ อสมควร ปัญหาหนึ่งของผู้ที่ใช้รถเกียร์ออโตมือใหม่ไม่แน่ใจค ือ เมื่อขับรถเกียร์ออโตในทางลาดชันควรใช้เกียร์อะไร?? การขับคงต้องแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ "การขับขึ้นเนิน" เกียร์ที่ใช้ก็เป็นเกียร์ขับเคลื่อนตามปกติ และถ้าเนินชันหรือทางลาดนั้นมีความยาวมากหรือความเร็ วลดลงแต่รอบเครื่องยนต์ค่อย ๆ ขยับขึ้น สิ่งที่ต้องทำคือยกคันเร่งให้รอบเครื่องต่ำลงแล้วขยั บคันเกียร์ไปที่ตำแหน่ง D3 ไม่ควรเหยียบคันเร่งอย่างรุนแรง เพราะกลไกเกียร์จะทำการเปลี่ยนอัตราทดลงไปที่เกียร์ต ่ำในขณะที่รอบเครื่องสูงซึ่งอาจจะทำให้เกียร์เกิดการ เสียหายได้ และถ้ายังมีอาการเหมือนจะเกินขึ้นไม่ไหวหรือเกียร์เป ลี่ยนเร็วแต่ไม่ได้ความเร็วก็ยกเท้าออกจารกคันเร่งเพ ื่อให้รอบต่ำลงหรือหยุดรถการหยุดรถระหว่างการขับขึ้น ทางลาดควรใช้เบรคทุกครั้งไม่ควรจะใช้กำลังขับช่วยในก ารหยุดรถระหว่างการขับขึ้นทางลาดควรใช้เบรคทุกครั้งไ ม่ควรจะใช้กำลังขับช่วยในการหยุดรถ หลังจากนั้นเลื่อนคันเกียร์ไปที่ตำแหน่ง 2 ซึ่งจะเป็นการล็อคอัตราทดเฉพาะเกียร์ 1-2 ซึ่งก็เหมือนกับการที่เราขับรถลากรถเกียร์ 1 หรือเกียร์ 2 เพื่อให้ได้แรงบิดเพื่อขึ้นทางลาดจากนั้นก็ยกเท้าออก จากเบรคเหยียบคันเร่ง ซึ่งควรเป็นไปอย่งนุ่มนวลเพื่อไม่ใช้ล้อเกิดการฟรีจา กแรงบิดที่สูง ส่วน "การขับลง" ทางลาดชันนั้นการควบคุมความเร็วของรถเป็นหน้าที่ของเ ท้าขวาที่เป็นประจำอยู่บนแป้นเบรค ถ้าทางลงมีความลาดมาก ๆ ก็ทำเหมือนตอนขึ้นคือ เปลี่ยนตำแหน่งคันเกียร์มาที่ D3 หรือถ้าชันมากก็ควรเปลี่ยนมาที่ 2 เพื่อให้ได้แรงมาจากเอนจิ้นเบรค อย่าลงทางลาดชันโดยเกียร์ว่าง (N) หรือเกียร์เดินหน้าปกติ (D) เพราะเครื่องยนต์จะไม่มีเอนจิ้นเบรคช่วยชะลอความเร็ว และการขับรถลงทางลาดนั้นควรใช้เบรคร่วมด้วยเป็นระยะ แต่ไม่ควรเลียเบรคเพราะจะทำให้ผ้าเบรคร้อนจนไหม้ แล้วรถจะเบรคไม่อยู่ สารพันข้องใจ กับความข้องใจที่เกี่ยวกับเกียร์ออโตที่ได้ยินชาวภูธ รพูดกันบ่อยมากคือ "อัตราเร่ง" เพราะน้อยคนนักที่จะรู้จักคำว่า "Kick Down" หรือ "Shiff Down" หรืออาจจะเคยได้ยินแต่ไม่รู้ว่ามันคืออะไรและทำไม่เป ็น เวลาจะแซงก็เลยกดคันเร่งเหมือนที่เคยทำบางคนถูกจังหว ะพอดีรถพุ่ง แต่ด้วยความตกใจก็เลยยกเท้าออกจากคันเร่งทำให้เป็นคว ามเข้าใจผิดที่พูดต่อ ๆ กันมาเกียร์ออโต "ไม่ดี อย่าไปใข้มันเลย" การ "คิกดาวน์" หรือ "ชิฟท์ดาวน์" พูดให้เข้าใจง่ายก็เหมือนการ "เชนจ์เกียร์" ในเกียร์ธรรมดานั่นเอง เพียงแต่ในเกียร์ออโตจะสบายกว่าไม่ต้องยกคันเร่ง เหยียบคลัทช์ ลดเกียร์ปล่อยคลัทช์ เหยียบคันเร่ง ในเกียร์ออโตเพียงแต่ "กดคันเร่งให้มิด" ในการคิกดาวน์ หรือ "ขยับคันเกียร์ลงมาหนึ่งตำแหน่ง" ในชิฟท์ดาวน์ เพียงแค่นี้ ระบบเกียร์ก็จะเปลี่ยนอัตราทดเกียร์ให้ต่ำลงจากเดิมม า 1 ตำแหน่งเหมือนการเชนจ์เกียร์ในรถเกียร์ธรรมดาทุกประก าร แต่การเรียกอัตราเร่งแบบนี้ก็ต้องระวังในเรื่องของรอ เครื่องขณะที่กระทืบคันเร่งหรือขยับคันเกียร์เช่นกัน ความแตกต่างระหว่างการ "Kick Down" กับ "Shiff Down" จะอยู่ที่ความไวในการตอบสนอง การจะเลือกใช้แบบใดขึ้นอยู่กับน้ำหนักบรรทุกที่กำลัง แบกอยู่ในขณะนั้นมากกว่า การคิกดาวน์จะตอบสนองได้ผลมากกว่ากับน้ำหนักบรรทุกที ่น้อย แต่ถ้ามีน้ำหนักบรรทุกมากหน่อยการ "ชิฟท์ดาวน์" จะให้การตอบสนองที่ดีกว่า ส่วนน้ำหนักที่แบกจะมากน้อยเพียงใดถึงจะรู้ว่าใช้แบบ ใดขึ้นอยู่กับเกียร์ของรถแต่ละรุ่นที่ไม่เหมือนกัน คนที่คุ้นเคยและใช้งานประจำจะรู้ได้ดีกว่าดังนั้นการ ฝึกใช้บ่อย ๆ จะให้คำตอบได้ดีกว่า สังเกตว่าถ้า "กด" คันเร่ง หรือ "เลื่อน" คันเกียร์แล้ว "พุ่ง" นั่นแหละใช่เลย "Kick Down" หรือ "Shiff Down" แน่นอน เมื่อรู้แล้วก็ฝึกให้ชินกับจังหวะที่มันทำงานจะได้กะ จังหวะแซงได้ถูก อีกข้อหนึ่งที่ฮิตมากก็คือ "เกียร์ออโตเข็นสตาร์ท" ไม่ได้นับว่าเป็นความเข้าใจผิดที่ผิด เอ๊ะงง "เกียร์ออโตเข็นสตาร์ทได้ แต่ไม่มีใครเขากล้าทำกันจนคนเข้าใจว่าทำไม่ได้ อยากให้ลองคิดดูว่าในการเข็นสตาร์ทในเกียร์ธรรมดาก็ค ือ การไปทำให้เพลาข้อเหวี่ยงหมุน แล้วทำไมในเกียร์ออโตจะทำไม่ได้ แต่ที่ไม่ทำกันก็เพราะในเกียร์ออโตต้องเข็นให้รถมีคว ามเร็วถึง 25 กม./ชม. ถ้าจะใช้คนดันก็คงไม่ไหว ใช้รถดันก็คงไม่เหมาะแต่ถ้าปล่อยไหลลงทางลาดก็พอไหว แต่ต้องไม่ชันมากและมีทางยาวพอสมควร เพราะค่อนข้างอันตรายคนเลยไม่ทำกันจนเป็นความเข้าใจผ ิด สู้การพ่วงแบตเตอรี่ไม่ได้ สะดวกกว่ากันเยอะเลย อาการผิดปกติที่มักจะเกิดกับเกียร์ออโตเมื่อปริมาณน้ ำมันเกียร์น้อยเกินไปก็มีตั้งแต่เข้าเกียร์แล้วรถไม่ ขยับเกียร์ไม่เปลี่ยนหรือต้องเดินคันเร่งลึกกว่าปกติ กว่าที่รถจะขยับตัว เพื่อให้การใช้งานเกียร์ออโตให้ยาวนานขึ้น "การตรวจน้ำมันเกียร์" ควรทำอาทิตย์ละครั้งบนพื้นที่จอดรถที่ได้ระดับขึ้นเบ รคมือ คันเกียร์อยู่ในตำแหน่ง "P" ติดเครื่องให้เครื่องยนต์ทำงานในรอบเดินเบาอยู่ระหว่ างขีดบนกับล่างและควรมีการเปลี่ยนถ่ายตามกำหนดในคู่ม ือประจำรถ การสังเกตสีของน้ำมันที่เปลี่ยนไป ความข้นหนืดที่ลดลง หรือแม้กระทั่งกลิ่นเหม็นไหม้ของน้ำมันเกียร์ก็เป็นอ าการเริ่มแรกที่บอกได้ถึงความผิดปกติที่เกิดกับเกียร ์ ดังนั้นการตรวจสอบอยู่เป็นประจำสม่ำเสมอรวมทั้งการใช ้งานที่ถูกต้องก็เป็นทางหนึ่งที่ช่วยให้เกียร์ออโตอย ู่รับใช้ให้ความสบายกับการขับขี่ได้นานขึ้นอีก เกียร์ auto เนี่ยก็ไม่ต่างจากเกียร์ ธรรมดาอ่ะครับ เพียงแต่ ใช้กำลังจากเครื่องยนต์ หมุน torque convertor ซึ่งมีลักษณะเป็นครีบอยู่ภายใน เพื่อสร้างแรงดัน ให้กับน้ำมันเกียร์ แล้ว น้ำมันเกียร์ ที่มีแรงดันนั้น จะไปกดแผ่น Clutch ของแต่ละเกียร์ ซึ่งทุก ชุดเกียร์ ในเกียร์Auto จะมีแผ่นClutch ทุกเกียร์ ครับ ถ้าสงสัยว่าแล้วมัน จะแบ่งได้ไงว่าน้ำมันเกียร์ต้องวิ่ง ไปเกียร์อะไร เคยได้ยินคำว่า สมองเกียร์ ออโต้มั้ยครับ (ไม่ใช่ กล่องควบคุม electronicนะ) มันคือช่องทางเดินของน้ำมันเกียร์ที่จะไปชุดเกียร์ ต่างๆ โดยแต่ละช่องทางจะมี โซลินอยด์วาล์ว และ Regulator คอยกั้นแรงดันอยู่ เมื่อแรงดันไม่ถึง หรือ ถ้ากล่องไม่สั่ง Solinoid เปิดก็จะไป่ปล่อยน้ำมันเกียร์ ไปชุดเกียร์ ต่อไป เด็กช่างยนต์ panja 34 + อ้างถึง ตอบกลับ