พี่เค้าอธิบายว่า อุปกรณ์ชนิดนี้จริง ๆ คือ Electrolysis ครับ เป็นขบวนการแยกเอา Hydrogen และ Oxygen จากน้ำ ด้วยไฟฟ้ากระแสตรง อุปกรณ์ตัวนี้ ออกแบบมาสำหรับไฟฟ้ากระแสตรง 12VDC ครับ เหมาะกับเครื่องยนต์ดีเซลก่อนคอมมอนเรลขนาดไม่เกิน 3,000 ซีซี ผลิตแก๊สในอัตราคงที่ เฉลี่ย 1 LPM กระแสขั้นต่ำที่ต้องการคือ 10 amp สูงสุด 22 amp ระดับที่เหมาะสม 15-18 amp แก๊สที่ได้จ่ายเข้าท่อไอดีหลังไส้กรองอากาศ หากเป็นรถมี Turbo ให้เข้าในตำแหน่งก่อน Turbo อุปกรณ์นี้แบ่งออกเป็น 5 ช่อง จุน้ำช่องละประมาณ 900 ซีซี การใช้งานครั้งแรก เมื่อเติมน้ำ ต้องเติมสารละลาย โปแตสเซียม ไฮดรอกไซด์ 48% (KOH Solution) ช่องละ 10 ซีซี การเติมน้ำ ควรตรวจสอบระดับน้ำเฉลี่ยทุก ๆ น้ำมัน 1 ถัง เติมน้ำ 1 ครั้งประมาณไม่เกิน 1 ลิตร ไม่ต้องเติมเคมีเพิ่ม เคมีจะเติมเพิ่มในกรณีที่ระดับกระแสต่ำกว่า 10 amp เมื่อเริ่มต้นใช้งานหรือ Generator อยู่ในอุณหภูมิปกติ และจะเติมเพิ่มเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งนานมากกว่า 4 เดือน จึงจะมีการเติมเพิ่ม ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้น กับกระแส ความเข้มข้นของสารละลายในน้ำมีมาก กินกระแสมาก มีน้อยกินกระแสน้อย AmMeter ใช้ตรวจสอบการทำงานว่าระดับกระแสมากหรือน้อย ความปลอดภัย แก๊สที่ได้เป็นแก๊สที่มีส่วนผสมระหว่าง Hydrogen และ Oxygen สามารถติดไฟได้อย่างรวดเร็ว แต่ AutoIgnition สูงกว่า LPG ครับ และแก๊ส Hydrogen ก็เป็นแก๊สที่เบากว่าอากาศ หากมีการรั่ว จะลอยขึ้น แต่ในขณะใช้งาน เครื่องยนต์ติดอยู่ โอกาสรั่วไหลเป็นไปได้น้อย เพราะเครื่องยนต์จะดูด(vacuum) ทำให้ระบบไม่มีแรงดัน ปริมาณก๊าซผลิตแล้วถูกดึงไปใช้ อันตรายร้ายแรงที่สุดที่จะเกิดขึ้นได้คือ การระเบิดของตัวเซลส์ ซึ่งจะระเบิดแตกออกมา สารละลายภายในไหลออกมา มีเสียงดัง แต่ไม่มีลูกไฟลูกไหม้แต่อย่างใดครับ แต่หากการติดตั้งเป็นไปอย่างถูกต้องตามข้อกำหนด ก็จะไม่การระเบิดนี้ขึ้นได้ แต่หากมี เปลวไฟจะถูกหยุดอยู่ที่ Bubbler ซึ่งเป็นกระป๋องใส่น้ำอีกใบ เพื่อให้ก๊าซไหลผ่าน Bubbler มีประโยชน์อยู่ 2 ข้อคือ 1) ทำหน้าที่เป็น Condensor ทำให้ไอน้ำที่อาจติดมากับเนื้อแก๊ส ควบแน่นที่นี่ ทำให้ได้ก๊าซที่บริสุทธิ์มากขึ้น 2) ทำหน้าที่เป็น Fire Arrestor ป้องการไฟย้อนกลับไปติดที่ตัวเซลส์ ไฟจะมาหยุดและระเบิดออกที่นี่ อายุการใช้งาน เรารับประกันความบกพร่องทางการผลิตให้เป็นเวลา 1 ปี อายุการใช้งาน สามารถใช้งานได้ 1.5-2 ปี และเมื่อเซลส์ภายในเสื่อมสภาพไปแล้ว สามารถส่งกลับมาเปลี่ยนเซลส์ด้านในและนำกลับไปใช้งานได้อีก เงื่อนไขที่ว่า ความเสียหายอันเกิดจากอุบัติเหตุ ในที่นี้หมายถึง อุบัติเหตุทางรถยนต์ครับ ไม่ใช่อุบัติเหตุที่เกิดจากการใช้งาน เช่นรถชน ทำให้ Generator แตก แต่หากมีการใช้งานและติดตั้งอย่างถูกต้อง ก็ยังไม่เคยมีรายงานอุบัติเหตุใด ๆ ครับ กรณีศึกษา เคยมีการติดตั้งแบบผิดวิธี คือไม่ติดตั้งสวิทช์ผ่านสัญญาณกุญแจ ทำให้ผู้ใช้ลืมปิดสวิทช์ตัวอุปกรณ์ขณะไปทำธุระ ซึ่งระหว่างนั้น อุปกรณ์ก็ผลิตแก๊สออกมาและไปสะสมอยู่ในท่อไอดีเป็นปริมาณมาก ประกอบกับไม่ได้ติดตั้ง Bubbler เมื่อกลับจากทำธุระและสตาร์ทรถ ทำให้เกิดการจุดระเบิดนอกห้องเผาไหม้ และไฟวิ่งย้อนกลับไปที่ตัว Generator ทำให้เกิดการระเบิดแตกออกจากกัน สร้างความแตกตื่นตกใจให้กับชุมชนบริเวณนั้นตามสมควร ซึ่งภายหลังการระเบิดก็ไม่ได้สร้างความเสียหายใด ๆ ให้กับรถยนต์ สามารถขับไปใช้งานได้ทันที อัตราประหยัด การติดตั้งโดยไม่มีการปรับแต่ง อัตราประหยัดประมาณ 15-20% หรืออาจน้อยลงหากการใช้ความเร็วเกินกว่า 120 ชั่วโมงขึ้นไป การติดตั้งโดยมีการปรับแต่งปั๊มน้ำมันดีเซลร่วมด้วย จะทำให้เห็นความประหยัดเพิ่มขึ้นเป็น 25-30% ในชุมชนหรือในเมือง อาจเห็นตัวเลขน้อย ต่างจากการวิ่งรถบนทางหลวง ขอบคุณ พี่ schwinp คับ http://www.siamhho.com/index2.html
ไปอ่านมาแล้วครับ แต่ผมว่ามันไม่ค่อย work นะ เพราะเครื่องจะใช้ได้ แต่แก๊สอย่างเดียวและไม่สามารถกลับไปใช้น้ำมันได้อีก ผมว่าแก๊สเป็น พลังงานทางเลือกถ้าใช้ได้ 2 ระบบน่าจะดีกว่าวิ่งแก๊สหมดยังใช้น้ำมันได้อีก ความเห็นส่วนตัวนะครับ