อันซ้ายเนี่ย จานจ่ายเดิมทำปลั๊กไว้ใส่คอลย์แยก อันขวาไม่รู้ แต่คิดว่าเอาไว้ใส่แทนที่จานจ่ายเดิมมั้ง เดาว่าท่านจะทำไดเร็กคอลย์
มันคือจานจ่ายแบบoptical ใช้ใส่แทนจานจ่ายแบบ mechanic แบบที่ใช้ในรถเราๆ ครับ ที่เห็นในรูปเป็นของมิตซูครับใช้กับเครื่องบีได้พอดีเหมาะกับการทำ direct coil เป็นอย่างมาก ถือว่าเป็นการโมเครื่องแบบหนึ่งที่ไม่เห็นจะมีใครทำในบ้านเราครับ เป็นการแก้จุดอ่อนของเครื่องตระกูล B อย่างเห็นผลมาก แต่ที่ไม่มีคนทำเพราะ 1 แพงมากเพราะต้องมีกล่อง standalone 2 ต้องมีจูนเนอร์ที pro พอควร เมื่อทำเสร็จแล้วหน้าตาก็จะออกเป็นอย่างนี้ครับ (ยืมรูปจากเครื่องเทพมาโชว์ให้ดู)
แบบนี้แรงแน่ ขอรายละเอียดเพิ่มเติมนิดนะครับ พอดีสงสัย+ไม่รู้ คือที่ว่า 1. แก้จุดอ่อนของเครื่องตระกูล B อย่างเห็นผลมาก จุดอ่อนตรงนี้ที่ผมเข้าใจคือ ถ้าเป็นคอยล์เดิมในจานจ่ายไฟจะแรงไม่พอ+การชาร์ตไม่ทันหรือเปล่าครับ 2. แพงมากเพราะต้องมีกล่อง Standalone ทำไมต้องใช้กล่อง Standalone ด้วยครับ ขอบคุณครับ
1. เครื่องตระกูล B ใช้ระบบจานจ่ายซึ่งเป็นระบบจ่ายไฟที่เป็นแบบเก่าอยู่ครับ สังเกตว่ารถสมัยใหม่จะใช้ระบบ direct coil ที่ให้กำลังการจ่ายไฟจุดระเบิดที่ดีกว่า ลองคิดง่ายๆ ว่าการทำงานของจานจ่ายหมุน 360 องศาต้องจ่ายไฟให้ 4 สูบกับการจ่ายไฟจาก coil แยกอิสระแบบไหนจะมีประสิทธิภาพมากกว่ากัน ดังนั้น เครื่องรุ่นใหม่ๆ เช่น K20 เลยทำเป็นระบบ coil แยก ที่ให้ประสิทธิภาพการจ่ายไฟจุดระเบิดที่สมบูรณ์ อาจจะมีคำถามว่าถ้าจ่ายไฟดีแล้วรถจะแรงเหรอ ต้องย้อนกับไปที่ทฤษฎีการจุดไฟพื้นฐานครับว่าจะเกิดไฟขึ้นมาได้ถ้าไม่นับเชื่อเพลิงแล้วต้องมีองค์ประกอบสำคัญ 3 อย่าง คือ อากาศ ไฟ และเวลาที่เหมาะสม (timing) ถ้าอากาศเข้ามามากอย่างเดียว (ทำฝา ขัด พอร์ต) แต่ระบบจุดระเบิดเดิมๆ ก็แรงแบบไม่สุดแน่นอน ไม่เกี่ยวกับการชาร์ตไฟไม่ทันครับ 2. ทำไมต้องใช้กล่อง standalone ? เพราะว่ากล่องเดิมไม่สามารถควบคุมการจุดระเบิดแยก 4 สูบได้ครับ อาจสงสัยว่าถ้าเป็นการจูน rom real time ละ ? อันนี้ไม่แน่ใจ แต่คิดว่าไม่น่าได้เพราะว่าใช้กล่องพื้นฐานเดิมๆ มาเขียน program ใหม่ อีกอย่างคือความละเอียดของตารางการจุดระเบิดก็ไม่ละเอียดเท่ากับกล่อง standalone ด้วย ในกรณีเดียวกันถ้าอยากเปลี่ยนเป็น 4 ลิ้นอิสระ พื้นฐานกล่องเดิมๆ ก็ไม่สามารถควบคุมได้แน่นอนครับ
ขอบคุณครับ +ให้ป๋าเอกเลยครับ แต่ยังมีคำถามเพิ่มนิดครับ แล้วทำไมต้องเอาตัวด้านขวา(ตามรูปที่ 1) มาใส่ต่อด้วยแถมยังมีสายไฟออกมาอีก มันคือตัวอะไรครับ
เพราะว่าจานจ่ายที่เราใช้กันจะจุดระเบิดตามการหมุนของเพลาข้อเหวียงเป็นการทำงานแบบ mechanic ครับ ทีนี้พอถอดออกไปมันก็ไม่มีตัวจับการหมุนแล้วเลยต้องเอาได้ตัวออพติคอลเนี่ยมาใช้แทนซึ่งทำหน้าจับการหมุนอย่างเดียวไม่ได้จ่ายไฟครับ
ตตตตตตต ขอให้้ข้อมูลเพิ่มเติมนะครับ ข้างใน จานจ่ายมันมี TDC(Top dead center),CKP(crankshaft position),CYP(cylinder position) sensor และ ICM (ignition control module) ,และ coil หัวโรเตอร์แจกไฟ กะลาจานจ่าย /ผมเข้าใจว่า ตัวแบนๆ ที่มาแทนหัวจานจ่ายในรูปด้านบนีก็เข้ามาทำหน้าที่แทน พวก sensor ต่างๆ เหล่านี้ ส่วน coil ก็แยก 4 อันข้างนอกอยู่แล้ว มี เวลาให้ charging ได้มาก 1 coil รับผิดชอบ 1 สูบ ของเดิมอันเดียว 4 สูบและการแจกไฟเข้าแต่ ละสูบก็เป็นระบบสัญญาณไฟฟ้า สั่งแต่ละ coil แทนที่ระบบ rotor ในหัวจานจ่าย ซึ่งใช้ไปนานๆ ก็สึกหรอ ทั้งที่ตัว rotor และที่กะลา ความแม่นยำและแรงดันก็ลดลงตามความต้านทานที่เพิ่มขึ้นนะครับ
วะ..วะ..หวัดดีกั๊บ(-/l\-) อ่านแล้วก็มีงงๆเล็กน้อยอะ แต่ก็เป็นความรู้ดีคะ + อ้างถึง ตอบกลับ ksaEK97 ถูกใจสิ่งนี้