การจ่ายน้ำมันระบบหัวฉีด PGM-Fi ( Program Fuel injection ) เทคโนโลยีระบบจ่ายน้ำมันแบบหัวฉีด PGM-FI ( Program Fuel injection ) ในประเทศไทย ผลิตขึ้นโดยโรงงานผลิต 2 แห่งด้วยกัน คือ 1.บริษัท เคฮิน ออโต้ พาร์ท (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ภายในนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2.บริษัท เคฮิน (ไทยแลนด์) จำกัด ที่ตั้งอยู่ภายในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน บริษัท เคฮิน ออโต้ พาร์ท (ไทยแลนด์) จำกัด เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์สำคัญในระบบ PGM-FI ได้แก่ อุปกรณ์สั่งการและควบคุมการทำงานเครื่องยนต์ ซึ่งเป็นสมองกลอัจฉริยะ หรือ ECU (Engine Control Unit) บริษัท เคฮิน (ไทยแลนด์) จำกัด เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์สำคัญอื่นๆ ประกอบด้วย เรือนลิ้นเร่ง (Throttle Body) ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel Pump) และ หัวฉีด (Injector) เป็นต้น PGM-FI ยุคที่ 1 ในประเทศไทย ติดตั้งในรถจักรยานยนต์ฮอนด้า เวฟ 125 ไอ (Wave 125i) วางจำหน่ายเมื่อปี 2546 PGM-FI ยุคที่ 2 ในประเทศไทย ติดตั้งในรถจักรยานยนต์ฮอนด้า เวฟ 125 ไอ รุ่นที่ 2 วางจำหน่ายเมื่อปี 2548 PGM-FI ยุคที่ 3 ในประเทศไทย ติดตั้งในรถจักรยานยนต์ฮอนด้ารุ่น CZ-i และ Click-i วางจำหน่ายเมื่อปี 2551 จุดเด่นของ PGM-FI ยุคที่ 3 ขนาดที่มีความกะทัดรัด ให้ประสิทธิภาพสูง ความประหยัด ความสะอาด ตลอดจนสมรรถนะ และที่สำคัญได้รับการผลิตเพียงแห่งเดียวที่ประเทศไทยเท่านั้น พร้อมนำส่งออกไปติดตั้งแพร่หลายในรถจักรยานยนต์ฮอนด้าทั่วโลก บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด นำเทคโนโลยีล้ำสมัยสำหรับรถจักรยานยนต์ ได้แก่ ระบบจ่ายน้ำมันแบบหัวฉีด PGM-FI มาขยายการติดตั้งให้ครอบคลุมในรถจักรยานยนต์ฮอนด้าทุกรุ่นเร็วๆ นี้ เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นสู่ " การก้าวขึ้นเป็นองค์กรที่มีภาพลักษณ์เป็นที่ชื่นชอบมากที่สุด ควบคู่ไปกับการเป็นผู้นำที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม " สอดคล้องกับสภาวะปัจจุบันที่ราคาน้ำมันขยับพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนกระแสสังคมให้ความตระหนักต่อสิ่งแวดล้อม โดยระบบจ่ายน้ำมันแบบหัวฉีด PGM-FI มีคุณสมบัติเด่นคือ ทำให้เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพสูงทั้งในด้านประหยัดน้ำมัน ให้ไอเสียสะอาด รวมถึงให้สมรรถนะเพิ่มมากขึ้น ติดตั้งในเครื่องยนต์ใหม่ของฮอนด้า รุ่น CZ-i ขนาด 110 ซีซี แบบ 4 จังหวะ ส่งผลให้เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพสูง เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องยนต์รุ่นก่อนหน้านี้ที่มีขนาด 100 ซีซี แบบ 4 จังหวะ มีประสิทธิภาพโดดเด่นเหนือกว่าคือ ประหยัดน้ำมันมากขึ้น 18% (ทดสอบตามมาตรฐาน ECE 40 MODE) รวมถึงให้สมรรถนะสูงด้วยอัตราเร่งที่มากขึ้น 25% รุ่น Click-i ขนาด 110 ซีซี แบบ 4 จังหวะ รถ A.T. ระบบสายพาน มีผลทำให้สมรรถนะสูง ตอบสนองเต็มกำลัง 110 ซีซี ด้วยอัตราเร่งที่มากขึ้น ประหยัดน้ำมันมากกว่าฮอนด้า Click รุ่นเดิมถึง 16% (ทดสอบตามมาตรฐาน ECE 40 mode) นอกจากนั้นแล้ว รถจักรยานยนต์ฮอนด้ารุ่นใหม่ๆ ที่ได้รับการติดตั้งระบบจ่ายน้ำมันแบบหัวฉีด PGM-FI ยังสามารถรองรับข้อกำหนดมาตรฐานควบคุมไอเสียระดับ 6 ที่ทางรัฐบาลจะประกาศบังคับใช้ในประเทศไทยภายในระยะเวลาอันใกล้นี้ ซึ่งนโยบายของฮอนด้าในครั้งนี้ นับเป็นการดำเนินการล่วงหน้าก่อนที่ข้อกำหนดนี้จะบังคับใช้อย่างเป็นทางการ โดยระบบ PGM-FI ให้ค่าสะอาดกว่ามาตรฐานระดับ 6 ถึง 50% ในขณะที่สะอาดกว่าค่ามาตราฐานระดับ 5 ที่เป็นมาตรฐานที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ถึง 80% และที่สำคัญยังเป็นครั้งแรกของวงการรถจักรยานยนต์ โดยระบบจ่ายน้ำมันแบบหัวฉีด PGM-FI สามารถรองรับการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแบบแก๊สโซฮอลล์ E20 เป็นพัฒนาการใหม่ล่าสุดของเทคโนโลยีระบบหัวฉีด โดยเป็นการพัฒนาต่อเนื่องเป็นระบบหัวฉีด PGM-FI ยุคที่ 7 ของโลก โดยการผลิตขึ้นเฉพาะในประเทศไทยนั้น นับเป็นสิ่งสะท้อนถึงศักยภาพของโรงงานผลิตในประเทศไทย ซึ่งสามารถผลิตเทคโนโลยีระดับสูงและมีความก้าวล้ำนำสมัย อีกทั้งมีมาตรฐานและคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ด้วยการนำส่งออกไปติดตั้งใช้งานอย่างแพร่หลายทั่วโลก ****** วิธีการทดสอบตามมาตรฐาน ECE 40 mode ****** การทดสอบอัตราการประหยัดน้ำมันตามค่ามาตราฐาน ECE 40 Mode ใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวควบคุมการเดินคันเร่งเพื่อให้เกิดความเที่ยงตรง โดยคอมพิวเตอร์จะสั่งให้ทำการทดสอบหมุนวนแบบนี้ ไปเรื่อยๆ จนถึงระยะทางที่ได้มีการกำหนดไว้ ซึ่งวิ่งอยู่กับที่บนเครื่องไดนาโมมิเตอร์เทสต์ หรือไดโนฯเทสต์ มีรูปแบบการทดสอบที่ใกล้เคียงกับลักษณะการวิ่งใช้งานจริงบนท้องถนนของผู้ขับขี่คนไทยทั่วไป ใช้อัตราความเร็วไม่คงที่..เฉลี่ย 18.4 กม.ต่อชม. และใช้ความเร็วสูงสุดในการทดสอบที่ 50 กม.ต่อชม. รูปแบบการทดสอบ ทดสอบโดยเร่งจาก 0 ถึง 16 กม.ต่อชม.ที่เวลา 10 วินาที จับความเร็วคงที่ 10 วินาที แล้วยกคันเร่ง ต่อด้วยการเร่งจาก 0 ถึง 32 กม.ต่อชม.ที่เวลา 20 วินาที จับความเร็วคงที่ 20 วินาที แล้วยกคันเร่ง จากนั้นให้เร่งจาก 0 ถึง 50 กม.ต่อชม.ที่เวลา 20 วินาที จับความเร็วคงที่ 10 วินาที แล้วยกคันเร่ง เมื่อความเร็วตกลงมาถึง 35 กม.ต่อชม.ให้เดินคันเร่ง ความเร็วคงที่ 10 วินาที แล้วยกคันเร่ง
แจ่มครับ ความรู้ๆ ได้ข่าวว่า เวฟ 125i รุ่นแรก กล่อง ECU กับเรือนลิ้นเร่ง มันอยู่ติดกัน มันเลยมีปัญหาเรื่องความร้อน ส่งผลเสียต่อกล่องฯ เลยพัฒนา เป็นรุ่น 2ออกมา แยกกล่อง ECU ไว้ท้ายรถ.. กล่องอีซียู คงแพงน่าดูอ่ะนะ ไม่งั้นก็คงมีดรีมไอ โนวาไอ ฯลฯ ออกมาเยอะแยะละ.... สมองคนไทยอ่ะนะ ดัดแปลงได้หมด
ที่สำคัญ คิดว่าคงเหมือน รถยนต์ อาจจะต้องมีการเติมสารล้างหัวฉีดแน่นอน ถ้าใช้ไประยะหนึ่ง คิดว่านั้นครับส่วน ECU หาอะไรมัดให้แน่นนะครับ เดี๋ยวมันจะหายไป
ดีคับ ขอบคุณ ความรู้ทั้งน้านนนนน อย่าง Click I ก็ เป็น รุ่นที่ 3 แล้ว ทำออกมาได้ประหยัดน้ำมันดีคับ ชอบๆ