อาการเผาไหม้ไม่หมดนั้น เกิดจากอะไรเหรอครับ

การสนทนาใน 'Accord 88-89 Club' เริ่มโดย accord"88(หยาดเหงื่อ), 29 ธันวาคม 2008

< Previous Thread | Next Thread >
    รบกวนสอบถามเพื่อนๆและท่านผู้รู้หน่อยนะครับ ว่าอาการเผาไหม้ไม่หมด
    (มีคราบเขม่าเกราะที่หัวเทียน คราบดำๆเยอะมาก เวลาถอดหัวเทียนออกมาดู)
    อาการแบบนี้ มีสาเหตุมาจากอะไรครับ
    รบกวนช่วยบอกหรือแนะนำให้กระจ่างทีนะครับ
    ขอบพระคุณอย่างสูงครับ

    :):):)
     
  1. ถ้าเป็นเครื่องคาร์บู มันเป็นแบบนี้แหละครับ ถ้าหัวฉีดหัวเทียนถึงจะขาวอะครับ :)
     
  2. March_Weber

    March_Weber New Member Member

    1,539
    32
    0
    1. น้ำมันหนาไปก็ไม่วิ่ง อืด กินน้ำมัน
    2. บ่าวาว์ลสึกหรอ ก็เผาไหม้ไม่หมด กำลังอัดตก
    3. ไฟอ่อนไป รอบต่ำๆ ไม่มีแรง
    4. ไฟจุดระเบิดไม่เพียงพอ ระบบจุดระเบิดเสื่อมสภาพ คอร์ย ,สายหัวเทียน ,หัวเทียน

    *** ถ้าเป็นเครื่อง A20A เอากันง่ายๆ สุด ก็ล้างหัวเทียน แล้วก็บิดจานจ่ายตั้งไฟแก่ๆ (บิดขึ้น) แล้วเอาไปวิ่งใช้งานดู แล้วค่อยถอดหัวเทียนออกมาดูว่ายังดำอยู่หรือเปล่า ถ้าขาวๆ แสดงว่าโอเคแต่ไฟยังแก่ไปนิดหน่อย (บิดลงอีกนิด) เอาให้ได้สีน้ำตาลๆ กำลังดี

    ลองดูๆ
     
  3. nong_acc88

    nong_acc88 Active Member Member

    4,280
    13
    38
    ถามต่ออีกนิด.........แล้วถ้าเป็นแก๊สเหมือนกันป่าวครับ
     
  4. March_Weber

    March_Weber New Member Member

    1,539
    32
    0
    แก๊สหรอ เท่าที่รู้มันเผาไหม้สะอาดมากๆ พวกคราบเขม่าคงไม่มีเหมือนน้ำมัน และสีหัวเทียนจะออกขาวๆ กลมๆ อวบๆ
     
  5. barague

    barague Guest

    0
    0
    0
    เอ!ไอ้ที่ขาวๆกลมๆอวบๆนี่ มันหัวเทียนหรือหญิงสาวคับ สงสัยจังเยย แล้วแถมให้อีกนิดควรใช้น้ำมันเครื่องของรถติดแก๊สโดยเฉพาะและควรเปลี่ยนทุกๆ 8,000 โล และหัวเทียนควรเปลี่ยนทุกๆ 5,000 โล คับ.
     
  6. barague

    barague Guest

    0
    0
    0
    ผมขอเสริมจากที่คุณ NEW HAND กล่าวไปแล้วต่อไปเลยนะคับ ควรถอดหม้อกรองอากาศออกมาเป่าลม และจะต้องถอด(ขอย้ำ)สำคัญมากๆเลยคือ ต้องถอดฐานหม้อกรองอากาศที่มีสีดำๆยกออกมาทั้งชิ้นก้อจะเห็นตัวคาร์บูเรเตอร์ หลังจากนั้นให้ใช้สเปรย์ที่ใช้ฉีดทำความสะอาดคาร์บูเรเตอร์หาซื้อตามร้านค้าที่เกี่ยวกับอุปกรณ์รถยนต์หรือห้างสรรพสินค้าในส่วนของรถยนต์มา (ถามคนขายก้อได้) กระป๋องไม่กี่ร้อยบาทแล้วฉีดให้ทั่วตัวคาร์บูเรเตอร์แล้วทิ้งไว้ 10 นาที หลังจากนั้นก้อทำการติดเครื่องยนต์ไว้ แล้วเดินมาปิดฝาคาร์บูเรเตอร์ โดยใช้ฝ่ามือปิด 1 ข้างไม่ให้อากาศเข้าได้ ส่วนมืออีกข้างก้อกดลิ้นคันเร่งที่จะมีสายคันเร่งติดอยู่ ถ้าเอามือไปโดนแล้วเครื่องเร่งรอบสูงขึ้นนั่นแหละคับตัวนั้น ทำไปพร้อมๆกันเลย เร่งเครื่องเอาแบบว่าใกล้ๆเครื่องจะดับแล้วเปิดฝ่ามือที่ปิดฝาคาร์บูเรเตอร์เพื่อให้อากาศเข้าได้ ทำสลับไปเรื่อยๆพร้อมกับฉีดสเปรย์เป็นระยะสลับกันไป จนดูว่าหน้าแปลนของคาร์บูเรเตอร์นั้นเปลี่ยนจากสีดำที่เกิดจากคราบยางเหนียวที่สะสมมานานนั้นหายไป เปลี่ยนเป็นสีขาวแล้วสะอาดขึ้นเป็นอันใช้ได้ เสร็จแล้วก้อใส่ฐานหม้อกรองอากาศกลับเข้าที่เดิมแล้วไปถึงล้างหัวเทียนและตั้งไฟตามที่คุณNEW HAND บอกไปแล้ว ถ้าคราวหน้าอาจจะให้ช่างถอดล้างทั้งตัวรวมถึงเปลี่ยนโอริงคาร์บูเรเตอร์ในโอกาสต่อไป ลองทำแบบ D.I.Y. ไปก่อนนะคับ
     
  7. nong_acc88

    nong_acc88 Active Member Member

    4,280
    13
    38

    ................THANK YOU VERY MUCH ...............​
     
  8. barague

    barague Guest

    0
    0
    0
    "YOUR WELCOME" เฮ้อๆๆๆๆเมื่อวานผมเขียนผิดไปนิ๊ดนึงตรงที่บอกคุณ NEW HAND น่ะจิงๆต้องเป็นคุณ MARCH_WEBER คับแหะๆๆๆหน้าแตกเลยกรู เดี๋ยวเค้ากลับมาอ่านจะว่าเอาอายจัง ผมขอเสริมอีกนิดพอดีนึกขึ้นมาได้และเคยเป็น นั่นก้อคือ สายคันเร่งหักในก้อจะทำให้มีส่วนต้องเร่งคันเร่งมากขึ้นใช้มานานควรเปลี่ยน และกรองน้ำมันเบนซินทีเป็นกระปุกสีขาวติดตั้งไว้ในซุ้มล้อหลังซ้ายก้อควรเปลี่ยนทุกๆ 5,000 โล เป็นอย่างน้อยเพราะจะทำให้เครื่องเดินสะดุดแล้วพาลไปตั้งรอบเดินเบาให้แรงขึ้น สาเหตุเกิดมาจากการเติมน้ำมันแล้วมันจะมีเศษผงของโลหะมันล่วงลงมารวมตัวกะน้ำมัน แต่จะมีตัวกรองตัวนี้ช่วยเอาไว้ เหมือนเรากรองน้ำกะทิที่จะต้องใช้ผ้าขาวบางกรองเอาไว้เอาแต่หัวกะทินั่นเอง จึงทำให้กินน้ำมันเข้าไปอีก อ้อ!สภาพเครื่องยนต์ก้อมีส่วนด้วยว่าเริ่มหลวมยัง เคยตั้งวาลว์บ้างหรือเปล่าถ้ายังควรทำไปซะด้วยเลยนะคับ ขอเสริมเพิ่มแค่นี้ก่อนแล้วกัน.
     
  9. nong_acc88

    nong_acc88 Active Member Member

    4,280
    13
    38
    ................THANK YOU VERY MUCH AGAIN ...............​
     
    ขอบคุณสำหรับทุกคำแนะนำครับ จะลองเอาไปปฎิบัติดูนะครับ
    ขอบคุณครับ:):):)
     
< Previous Thread | Next Thread >

แบ่งปันหน้านี้