มันจะมีประโยชน์กับรถที่โมมาพอสมควร รถที่ใช้รอบสูงๆๆเพราะรอบสูงๆๆคอยล์เดิมจะจ่ายไฟไม่แรงพอ แต่ถ้าขับเรื่อยๆ กินลมชมวิว คอยล์เดิมก็เหลือๆๆแล้วครับ เอาเงินไปทำอย่างอืนก่อนก็ได้ครับ ขอโทษนะครับ ความเห็นผม อาจจะไม่ถูกก้ได้ครับ
ถามว่าโมขนาดไหน อืม...คิดง่าย ๆ คิดแค่สูบเดียวก่อน สมมุติว่า เครื่องยนต์หมุน 1000 รอบ ต่อนาที เพลาข้อเหวี่ยง หมุนสองรอบ คอยล์จะจุดระเบิด 1 ครั้ง ฉนั้นที่ 1000 รอบ ก็จะจุด 500 ครั้ง ถ้า 4 สูบก็จุด 2000 ครั้ง การจุดแต่ละครั้ง คอยล์ต้องมีเวลาชาร์จไฟ ก่อนที่จะปล่อยออกไป จากที่พูดมา 1000 รอบ/นาที คอยล์ต้องจุด 2000 ครั้ง เวลาที่ มีสำหรับการชาร์จประจุก็จะเท่ากับ 60 มิลลิ เซกกัน โอ๊ย...งง เมา เด๋วพรุ่งนี้ค่อยมาต่อดีกว่า
คอยล์จุดระเบิดที่ดีต้องให้แรงไฟสูงอยู่ที่ประมาณ 20000 โวลล์เพื่อที่จะสามารถกระโดดข้ามเขี้ยวหัวเทียนได้และเกิดประกายไฟมากพอที่จะทำให้การจุดระเบิดนั้นสมบูรณ์ หลักการสร้างแรงดันไฟสูงเพื่อการจุดระเบิดนั้นใช้หลักการเช่นเดียวกันการหม้อแปลงไฟฟ้าที่แปลงไฟจาก 220 โวลล์ลงมา (Down Step) ครับ แต่คอยล์จุดระเบิดจะกลับกันตรงที่จะให้ไฟ 12 โวลล์จากรถยนต์สร้างแรงดันเป็น 20000 โวลล์ (Up Step) ............... ยิ่งอธิบายผมว่ายิ่งงครับ อย่างคุณ"ชอลิ้วเฮียง"บอก มันเข้าใจในตัวเอง แต่ทำไมอธิบายให้คนอื่นยากจัง ขนาดไม่เมานะเนี่ย สรุปง่ายๆ ในการสร้างแรงดันให้สูงพอจุดระเบิดนั้นมันต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง เพื่อจะสร้างแล้วก็ใช้ไปแล้วก็สร้างใหม่แล้วก็ใช้ไปอีก ดังนั้นในรถยนต์ที่ใช้รอบสูงๆ คอยล์จุดระเบิดต้องสามารถตอบสนองได้เพียงพอ ถ้าอย่างที่คุณ "ชอลิ้วเฮียง" บอกนะ 1000 รอบ/นาที คอยล์จุด 2000 ครั้ง ดังนั้นใน 1 วินาที(Sec.) ก็ต้องมาการจุดประมาณ 33 ครั้งหรือ 33 Hz. ครับ เพราะฉนั้นระยะเวลาในการชาร์ตจะอยู่ที่ประมาณ 30 mSec. เท่านั้นครับ อันนี้ทำไมไม่เท่ากับคุณ"ชอลิ้วเฮียง"ก็ไม่รู้ จะเกี่ยวกับแคมเดี่ยวแคมคู่หรือเปล่าครับ รอท่าน"ชอลิ้วเฮียง"มาเฉลยดีกว่าครับ
ความรู้ อีกแล้ว ข้อมูลดีๆ แต่ใสไปก็คงจะดีขึ้นบ้างนะครับแต่คงมองไม่เห็นอะไร แค่จ่ายไฟแรงขึ้นการจุดระเบิดคงดีขึ้นตามไปด้วย
อ่ะ...มาต่อกัน วันนี้ยังไม่เมา เมื่อคืนเมา คำนวนผิด ๆ ถูก ๆ อย่างที่บอกว่า 1 นาที(60 วินาที) คอล์ยจุด 2000 ครั้ง ฉะนั้น 1 วินาที ก็จะจุด 33 ครั้ง อย่างที่คุณ Mugen TypeR บอกไว้ข้างต้นครับ คอล์ยเดิม ในรอบสูง ๆ เวลาที่ใช้ในการชาร์จประจุก็จะน้อยลงเรื่อย ๆ จน อาจทำให้กำลังไฟไม่พอ จนไม่สามารถกระโดดข้ามเขี้ยวหัวเทียนได้ วิธีแก้ที่เห็นผลที่สุด คือใส่ Direct Coil อันนี้จะสามารถลดภาระของคอล์ย ได้ถึงสี่เท่าเลยครับ อีกวิธีนึงก็คือการต่อ CDI เข้าไป เนื่องจาก CDI จะมีการกักประจุไว้ก่อน ที่จะส่งต่อไปยังคอล์ยอีกทีนึงครับ
วิธีแก้ที่เห็นผลที่สุด คือใส่ Direct Coil อันนี้จะสามารถลดภาระของคอล์ย ได้ถึงสี่เท่าเลยครับ อีกวิธีนึงก็คือการต่อ CDI เข้าไป เนื่องจาก CDI จะมีการกักประจุไว้ก่อน ที่จะส่งต่อไปยังคอล์ยอีกทีนึงครับ ขอรายละเอียดอีกนิดได้ไหมครับ คือไม่ค่อยรู้อะครับ Direct Coil กับCDI น่าตาเป็นไง ราคา ติดตั้งยังไง
เก่งกันจังอะ เรียนอะไรมากันอ่ะคับ ทําไมรุ้เรื่องเครื่องยนต์กันดีจิงๆๆ นับถือๆๆ มีหนังสือไรที่จะพอช่วยผมเข้าใจพวก ระบบในรถมั้ง - -' วันๆก็ขับอย่างเดียว ไม่รุ้เรื่องเลย
รบกวนสอบถามนิดนึงครับ ถ้าจะใส่คอยล์แยกอ่ะครับ .... จะต้องทำอย่างไรบ้าง.... และสำหรับ EK เนี่ยอ่ะใช่คอยล์ของอะไรเหมาะสมที่สุดในแบบราคาเบาๆพอประมาณอ่ะครับ ..และหาซื้อได้ที่ใหนครับ..... ถ้าอธิบายวีธีทำด้วยจะเป็นพระคุณอย่างสูงครับ .... ขอบคุณครับ น้อง เอ ฮับ
อ่ะ...ตอบให้แล้วนะครับ ไม่ต้องน้อยใจ จะใส่ของอะไร ก็ได้หมดแหล่ะครับ Coil มันก็คือหลักการเดียวกัน แต่ ที่นิยม สำหรับชาวฮอนด้าคือ Coil จากเครื่อง Rotary ไม่ว่าจะเป็นจาก FD หรือ FC ราคาก็ 1000 - 1200 บาทครับ ส่วนของแต่ง MSD หรือ Accel ของใหม่ ราคาก็ประมาณ 3500 - 3800 บาท วิธีต่ออธิบายยากเหมือนกัน เพราะมันต้องถอดคอล์ยเดิมออก แล้วต่อสายไฟออกมาเข้าคอยล์แยก จากนั้นต่อไฟจากคอยล์ แยกไปเข้าที่กะลาของจานจ่าย เอาแค่คร่าว ๆ พอนะครับ
ตอบได้ดีมากครับ วิธีต่อคอยแยกเราก็เลียนแบบของเดิมไงครับ เปิด ฝากะลาจานจ่าย หาสายที่ต่อเข้า บวก กับ ลบของ coil ก็ tap เอาสัญญาณต่อสายยาวออกมานอกหัวจานจ่ายที่นี้จะเอาออกมายังไงก็ต้องหาทาง ของผมก็ยัดออกมาทางเดิมจะแน่นๆ หน่อย แล้วก็โยงไอ้สองเส้นนี้มาเข้า +,- ที่ coil แยก เข้าใจว่า + คือ 12 v แช่นะครับ ส่วน - มันเป็นสัญญาณ trigger เพื่อ switching ground สั่งโดยกล่อง ecu ที่นี้มันถูก trigger เป็นจังหวะ มันเลยเหมือนไฟ AC วิ่ง step up มาทางด้านแรงสูงได้ ผ่านสนามแม่เหล็ก ที่ coil แยก จะมีขั้วแรงสูงอยู่ ก็ต้องหาสาย ต่อจากขั้วแรกสูงกลับเข้าไปที่ จุดเดิมที่ขั้วแรงสูง coil เดิม แตะอยู่ เพื่อส่งผ่านแรงดันเข้าไปที่หัวโรเตอร์ตามแบบเดิมนะครับ ของผมใช้หัวเทียนไม่ใช้ มาโมเป็นขั้วแรงสูงเจาะกะลาและร้อยน๊อตทะลุออกมาครับ ถ้ามีรูปประกอบจะเข้าใจมากขึ้น
คอยล์ครับ ว่างๆ เขียนมาให้อ่านกันครับ 5555++ อย่างอื่นก็บอกก่อนเลยว่าเหมือนเดิม "ผมไม่ใช่ช่าง" ก็แค่อย่างรู้เรื่องรถ สนใจเรื่องรถครับ ก็ศึกษาหาความรู้เอาเองครับ อาจจะไม่ถูก 100 % ก็ได้ ส่วนใหนผิดรบกวนช่างหรือเซียนชี้แจงให้ด้วยครับ ขอบคุณครับ Coil โครงสร้างของคอยล์ก็จะประกอบด้วยขดลวดอยู่ 2 ขด พันอยู่บนแกนฉนวนเดียวกัน โดยที่ขดลวดทั้ง 2 ขดมีการอาบน้ำยาฉนวนไว้ด้วยเพื่อไม่ให้ทั้ง 2 ขดลัดวงจรถึงกัน ผมอธิบายทีละขดแล้วกันครับ ขดด้านแรงดันต่ำที่รับมาจากแบตฯ12 โวลล์ที่เรียกว่าขด Primary Coil แปลเป็นไทยก็ด้านปฐมภูมิ (ฟังยากจัง ) โดยปกติจะพันประมาณ 150-300 รอบ ใช้ลวดเส้นใหญ่ ทำให้ความต้านทานต่ำ ขดด้านแรงดันไฟสูง 30000 โวลล์ขึ้นไป เรียกว่าขด Secondary Coil แปลเป็นไทยก็ด้านทุติยภูมิ (ฟังยากอีกแล้ว ) ใช้ลวดขนาดเล็ก ให้ความต้านทานสูง การสร้างแรงดันไฟสูงก็ใช้หลักการขดลวดตัดสนามแม่เหล็กครับ เช่นเดียวกับหม้อแปลงนี่ล่ะครับ แต่ต่างกันที่จากลดแรงดันก็เป็นเพิ่มแรงดันแทน อันนี้คงจะยากสำหรับบางท่านนะครับ ถ้าจะให้อธิบายให้เห็นภาพเลยอันนี้ยาวแน่ๆครับ อยากรู้จริงๆก็ศึกษาเรื่องหม้อแปลง (Transformer) <== ไม่ใช่หนังนะ ถ้าอธิบายคร่าวๆก็จากขั้วบวก(+)แบตฯเข้าขดลวด Primary ออกจากขดลวดเข้าหน้าทองขาวในจานจ่าย โดยมีโรเตอร์เป็นตัวตัดและต่อวงจรเข้าไปยังขั้วลบ(-) แบตฯ การตัดต่อนี้ล่ะที่สร้างสนามแม่ เหล็กไปเหนี่ยวนำลวดลวด Secondary สร้างแรงดันไฟสูงจ่ายเข้าหัวเทียนครับ ถ้างงก็ผ่านไปก่อนครับ เราไม่ได้ต้องมาสร้างคอยล์จุดระเบิดใช้กันเอง แค่รู้หลักการก็พอครับ การแบ่งคอยล์ ก็แบ่งเป็น 2 แบบนะครับคือ 1 Coil ที่อยู่ภายในจานจ่าย ตัวนี้ก็ไม่มีอะไรมากมาย อยู่ในจายจ่ายอยู่แล้ว สามารถตอบสนองการใช้งานในระดับทั่วไปได้สบายอยู่แล้วครับ ขอไม่พูดถึงแล้วกันครับ 2 Coil ที่อยู่นอกจานจ่าย หรือที่เรียกรวมๆว่าคอยล์แยกครับ โดยทั่วไปที่มีขาย spec ที่บอกมาหลักๆก็จะมี ความต้านทานขดลดขาเข้า(Primary Resist) เช่น 0.7 Ohms ความต้านทานขดลอดขาออก (Secondary Resist) เช่น 4.7K Ohms อัตราส่วนการพันขดลวดขาออกต่อขาเข้า (Turn Ratio) เช่น 76:1 ค่าโวลล์สูงสุด (Max Voltage) เช่น 42,000 Volt. ที่เห็นยี่ห้อเด่นๆ ก็ MSD (แดงแรงฤทธิ์) กับ Accel (เหลืองสดใส) นี้ล่ะครับ ของ MSD Coil ก็จะมีอยู่หลายรูปทรงขึ้นอยู่กับ spec ครับ 45,000 Volts 48,000 volts 55,000 volts ส่วนของAccel Coil ก็เหมือนกันครับ 42,000 volts 60,000 volts ขอแบ่งเป็นอีก 2 แบบล่ะกันครับ ไม่รู้ว่าแต่ละแบบเค้าจะแรกว่าอะไร ขอเรียกตามความเข้าใจง่ายๆของผมล่ะกันครับ ได้แก่ - 1 คอยล์ต่อ 4 หัวเทียน การจ่ายไฟไปยังหัวเทียนก็ยังรับหน้าที่เช่นเดียวกับคอยล์ในจานจ่ายครับ จะมีการสร้างแรงดันไฟสูงตามการตัดต่อของโรเตอร์ในจายจ่าย โดยรอบของการสร้างก็ตามจำนวนลูกลูบครับ ส่วนเร็วหรือความถี่ในการสร้างก็ตามรอบเครื่องยนต็ครับ ตรงนี้ล่ะครับ ในรถที่ใช้รอบเครื่องสูงๆกัน คอยล์เดิมๆ ติดรถมาอาจจะไม่สามารถรองรับได้ ส่วนรูปร่างลักษณะของคอยล์แบบนี้ก็ตามรูปด้านบนครับ ทั้งของ MSD และ Accel - 4 คอยล์ต่อ 4 หัวเทียน ที่เค้าเรียกกันว่า direct coil ครับ คอยล์แบบนี้จะไม่ทำงานหนักเท่าแบบแรก จะรับผิดชอบแค่ 1 ต่อ 1 เท่านั้น ถ้าจำไม่ผิดอย่าง honda ก็เห็นมี Civic ES นะครับ ที่เป็น direct coil มาแล้ว รูปทรงและลักษณะก็ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับรุ่น ก็ประมาณนี้ครับของ MSD ที่มาพร้อมราง อันนี้ไม่ได้ติดในฮอนด้า แค่ให้ดูการติดตั้งครับ ส่วนการติดตั้งถ้าว่างเดี๋ยวจะเอามาเพิ่มให้ครับ วันนี้ง่วงแล้วล่ะ
เรื่อง CDI ก่อนการติดตั้งซะนิด CDI ครับ มาดูกันอีกตัวก่อนนะครับ ตัวนี้ผมเองก็ไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่ หน้าที่หลักๆก็จะเป็นตัวเก็บประจุไฟไว้ เป็นการเก็บประจุไว้ทางด้านขด Primary ครับ เนื่องจากอย่างที่บอกในตอนแรกว่า ความต้านทานทางด้านขด Primary หรือ Primary Resistant มีค่าน้อยมาก ประมาณ 0.5 - 1.5 โอห์ม ซึ่งต้องการกระแสในการสร้างสนามแม่เหล็กมาก (กระแสแปรผันตรงกับแรงดัน) หากในรอบสูงๆแรงดันที่จ่ายมาจากแบตฯให้กับขดลวด Primary ก็จะไม่เพียงพอ และเมื่อแรงดันด้านเข้าไม่พอแรงดันด้านออกทางด้าน Secondary Coil ก็จะตกลงเช่นกันครับ ส่วนหน้าที่เสริมอื่นๆ ก็จะเป็นการ booter บ้าง การกำหนดองศาจุดระเบิดบ้าง และอื่นๆอีกมากมายครับ เอามาให้ดูเป็นตัวอย่างครับ เป็นของ MSD ครับ จากรูปก็จะเป็นการใช้คอยล์เดิมที่อยู่ในจายจ่ายครับ โดยปกติแล้วสายไฟจากแบตฯ 12 โวลล์(ดำ/แดง) และสายทริกที่มาจากหน้าทองขาวในจานจ่าย (ขาว/น้ำเงิน) จะต่อเข้ากับคอยล์โดยตรง (ที่ลูกศรสีแดงชี้จะเป็นขั้วบวก/ลบของคอยล์ ส่วนหางลูกศรเเป็นาสายบวกฝทริก) แต่ตัว MSD นี้จะเข้าไปคั่นอยู่ระหว่างไฟ 12 โวลล์กับไฟทริกครับ ไม่รู้ว่าจะเข้าใจกันหรือเปล่าครับ ส่วนอันนี้ก็เป็นการต่อกับคอยล์แยกด้านนอกจายจ่ายครับ หลักการต่อก็เหมือนกันครับ หลังจากนี้ก็เริ่มเล่นกันถึงการต่อจริงแล้วล่ะครับว่าการต่อๆกันยังไง เอากันให้ถึงต่อกันเองได้เลย แต่ตอนนี้ขอพักก่อนครับ เดี๋ยวมา Up กันใหม่
...เป็นกระทู้ที่ให้ความรู้ดีมากๆ เลยครับ ผมไมได้ใช้ honda หรอก แต่ search MSD, ACCEL เลยผ่านทางมาเจอครับ อิอิ ขอเสริมอีกนิดนึงละกัน - ถ้าอย่างคุณ nong_kaju ถาม คือทุกอย่างเดิม แต่อยากเปลี่ยนคอยล์แต่ง ให้ดูเสป็ค เน้นที่ "ความเร็ว" ในการประจุไฟ และ "กระแส" ที่จ่ายได้ เป็นหลัก "แรงดัน" หรือ voltage ไม่ต้องสนใจมากนักก็ได้(เพราะส่วนใหญ่ก็เกินพอทั้งนั้น) - ถ้าเพิ่มแรงอัด ก็ดู voltage ด้วยก็ดี โดยเฉพาะกำลังอัดสูงๆ บูสท์หนักๆ ตรงนี้ถึงจะเริ่มจำเป็นครับ - ถ้าเปลี่ยนตัวจุดระเบิดเป็น CDI อย่างพวก MSD แล้ว ก็ไม่ต้องดู spec ของคอยล์มากนัก เพราะ CDI มันจะดูแลกระแสและแรงดันให้สูงพออยู่แล้ว แต่ที่สำคัญ เช็คว่า coil ที่จะใช้ร่วม มัน compatible นะครับ ไม่แน่ใจก็ถามไปที่บริษัทที่ขาย CDI นั้นๆ จะได้ไม่มีอะไรพังครับ - อ้อ และถ้าใส่ CDI ก็ควร upgrade สายหัวเทียน ดูแลปลั๊กไฟแรงสูงให้ดีทุกจุดนะครับ และอย่าให้สายสูบที่จุดระเบิดถัดต่อกันมันวางแนบชิดขนานกัน เพราะไฟมันแรงพอที่จะเหนี่ยวนำข้ามสายได้.... มันจะไปจุดที่สูบอื่นด้วยครับ เครื่องจะพังได้เด๊อ...
เคยใช้ msd sci กับ blaster ss ประมาณ ปีนึง เครื่องเดินสะดุดเวลากดคันเร่ง ปรากฏว่าต้นเหตุ จาก หัวเทียนแหว่งเลยครับ ขนาด NGK เบอร์ 8 เพราะขั้วด้านล่างยังเป็น nickel alloy ถ้าใครจะใช้ blaster อย่างเดียวไม่เป็นไร แต่ถ้ามีพวก cdi มาด้วย แนะนำต้องใช้หัวเทียนแบบเขี้ยวแปะ ที่เป็น platinum ที่ขั้ว ground ด้วย แต่ก็ดูเวอร์ๆ อย่างไรไม่รู้สำหรับเครื่อง NA