หนูสงสัย... พอดีไปเจอบทความนี้มา... "แวคคั่ม มิเตอร์ (VACCUM METER) มาตรวัด VACCUM ตัวนี้ จริง ๆ แล้วมันก็อยู่ในมาตรวัดตัวเดียวกับมาตรวัดอัตราบูสต์เทอร์โบ มาตรวัดตัวนี้จะตอบสนองกับ อัตราการเหยียบคันเร่ง ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการเช็คความสิ้นเปลืองน้ำมันได้เหมือนกัน สำหรับการดูค่าของมาตรวัดตัวนี้ต้องดูเวลา เครื่องเดินเบา ซึ่งจะดูได้จากค่าสุญญากาศ ถ้าค่าสุญญากาศนี้มีมาก ก็จะถือได้ว่าเครื่องยังคงมีสภาพที่สมบูรณ์ ไม่รั่วซึม แต่ถ้าค่านี้ลดลงไปมาก นั่นก็เป็นไปในทางตรงกันข้าม มาตรวัดตัวนี้จึงเป็นมาตรวัดที่อาจมีไว้เช็คสภาพของเครื่องยนต์ได้ ทั้งนี้ในขณะเครื่องยนต์เดินเบาถ้าเข็มบนมาตรวัดนี้บอกค่าไม่ถึง 300 cmHg นั่นเป็นสัญญาณเตือนว่าเครื่องยนต์มีสภาพย่ำแย่ โดยเครื่องยนต์ใหม่ ๆ ที่มีความสมบูรณ์ค่าตัวนี้จะอยู่ที่ประมาณ 450 cmHg" mmHg inHg เลยอยากทราบว่า หน่วยวัดในเกจVACUUM นี้มีกี่แบบ เพราะบางอันเป็น cmHg และบางอันเป็น inHg แต่ละที่ใช้กันอย่างไร และสูตรเพื่อแปลงค่าหน่วยให้มันเท่ากันคืออย่างไร ขอบคุณครับ
ครับผม ขอบคุณครับ แล้วทีนี้... ในเกจวัดVACนี้มีหน่วยทั้งสามแบบเลยไหม ใช้ต่างกันอย่างไร นิยมใช้กันเป็นแบบไหน ทั่วไปใช้แบบไหน แล้ว 1นิ้วปรอท เท่ากับ กี่ ซม.ปรอท และ เท่ากับกี่มม.ปรอท ขอบคุณมากครับ แล้วค่าปกติสำหรับเกจแวคคั่มนั้น ควรอยู่ที่เท่าไร ในทั้งสามหน่วยครับ
กางไม้บรรทัดเทียบค่า จากนิ้ว เป็น ซม. ได้เลยครับ... ยกตัวอย่างค่ามาตรฐานให้ดูครับ... ตัวเลขต่างๆบอกได้ซึ่งอาการของรถครับ...
1 in น่าจะเท่ากับ 25.4 cm แล้ว 1 cm เท่ากับ 10 mm. 1 in น่าจะเท่ากับ 25.4x10=254mm ส่วนนิ้วคงเป็นมาตราที่ใช้การแถวอเมริกาที่ชอบวัดว่าค่าเป็นนิ้ว-ฟุต-หลา-ไมล์ ส่วน ซม. กับ มม.เป็นมาตราเมตริกของอังกฤษและแถงเอเซียเช่นญี่ปุ่น-ไทย เป็นต้น ส่วนค่าปรกติอันนี้ไม่แน่ใจครับของผมใช้โอโมริ รอบเดินเบาจะอยู่ที่40-45 มม.แต่เวลาวิ่งแล้วถอน คันเร่งจะอยู่ที่ 50-60 มม.ครับ ปลใรอผู้รู้มาต่ออีกที่
....จอฟ้าก็ มี แต่ไม่ เคยดู............หน่วย เดียวกันปล่าว ต้องกลับไปดูก่อน.................ความรู้ใหม่ ขอบคุณคับ โดยเครื่องยนต์ใหม่ ๆ ที่มีความสมบูรณ์ค่าตัวนี้จะอยู่ที่ประมาณ 450 cmHg"
ขอบคุณมากเลยคับ สรุปสูตรได้ดังนี้คับ "ความดันที่ 1 บรรยากาศ จึงมีแรงดันเท่ากับ 760 mmHg หรือ 29.92 inHg (in = inch = นิ้ว)" ดังนั้น 1 inHg=25.4mmHg คับ จากบทความนี้... "เริ่มต้นกันที่หลักการของ “ความดัน” ก่อนนะครับ “ความดัน คือ แรงที่กระทำต่อหน่วยพื้นที่” เช่น ถ้าวางวัตถุหนัก 1 kg ลงบนพื้นที่ 1 ตารางเซนติเมตร จะเกิดแรงดันที่พื้นที่นั้นเท่ากับ 1 kg/cm2 (พิมพ์ยกกำลังไม่ได้ ขออภัย) ทีนี้ ถ้าหากเราต้องการวัดความดันของอากาศ เราก็ต้องกำหนดจุดอ้างอิงขึ้นมา ซึ่งในอดีตนั้น ใช้ที่ “ระดับน้ำทะเล” เป็นจุดอ้างอิง และกำหนดให้ความดันอากาศที่ระดับน้ำทะเล มีค่าเท่ากับ “1 บรรยากาศ (atmosphere - atm)” หรือเรียกอีกอย่างว่า “1 bar” (จริงๆ แล้ว 1 atm จะเท่ากับ 1.01 bar) ซึ่งจะเท่ากับน้ำหนักของอากาศทั้งหมด ตั้งแต่ผิวน้ำทะเล จนสุดบรรยากาศโลก ที่กดลงบนพื้นที่ที่พิจารณา แล้วจะวัดอย่างไร ในอดีต (อีกนั่นแหละ) ทำการวัดโดยใช้ปรอทเหลว (สูตรเคมี Hg) ใส่ลงในหลอดแก้วยาวๆ.. รูปร่างเหมือนหลอดทดลอง แล้วคว่ำลงในอ่างที่มีปรอทบรรจุอยู่ (ตั้งอ่างไว้ที่ระดับน้ำทะเล) ผลที่ได้คือ ระดับปรอทที่เป็นแท่งสูงอยู่ในหลอดแก้วนั้น จะสูง 760 มิลลิเมตร (760 mm.) วัดจากระดับผิวหน้าของปรอทในอ่าง ไม่ว่าจะเพิ่มความยาวของหลอดแก้วให้มากกว่านั้นเท่าไรก็ตาม เนื่องจากแรงดันของอากาศที่กดลงบนผิวหน้าปรอทในอ่าง สามารถพยุงน้ำหนักของปรอทให้เป็นแท่งสูงได้เท่านั้น เพราะฉะนั้น ความดันที่ 1 บรรยากาศ จึงมีแรงดันเท่ากับ 760 mmHg หรือ 29.92 inHg (in = inch = นิ้ว)ถ้าหากเปลี่ยนจากปรอท เป็น น้ำ จะได้แท่งน้ำสูง 10.33 เมตร ซึ่งจะเรียกเป็นหน่วย mH2O (พิมพ์ตัวห้อยไม่ได้) หรือคิดเป็นความดัน 10.33 mH2O จากการนำน้ำหนักของปรอท (หรือน้ำ) มาคำนวณ จะได้ว่า ความดันที่เกิดขึ้นที่ 1 บรรยากาศ เท่ากับ 14.7 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว (14.7 psi) (หากใช้หลอดแก้ว พื้นที่หน้าตัด 1 ตารางนิ้ว น้ำหนักของปรอทที่อยู่ในหลอดแก้ว วัดจากระดับผิวหน้าของปรอทในอ่าง จะเท่ากับ 14.7 ปอนด์) หรือ 1.03 kg/cm2 หน่วย Pa เป็นตัวย่อของหน่วย Pascal ซึ่งมีค่าเท่ากับ แรง 1 Newton กระทำลงบนพื้นที่ 1 ตารางเมตร (หรือ 1 N/m2) ความดันบรรยากาศ 1 atm มีค่าเท่ากับ 101.3 kPa (kilo Pascal = 1000 Pascal) ส่วนหน่วย hPa คือหน่วย hecto Pascal โดยที่ hecto เป็น prefix ที่หมายถึง 100 ครับ (หน่วยนี้ใช้ในวงการอุตุนิยมวิทยา ไม่ค่อยเห็นใช้ในวงการอื่น)"