วิวาทะเรื่อง"ใช้แก๊สแล้วบ่าวาล์วทรุด" เอามาฝากอีกแล้ว เขาว่ากันว่า... • เสียงเล่าลือบนโปรยข้างต้นเหล่านี้...จริงครับ! แท๊กซี่ใช้แก๊ส 3 ปี เครื่องพัง น้อยคันที่จะอยู่ได้เกิน 5 ปี แต่คนที่ ‘เล่าลือ’ และ ‘รับทราบ’ มักไม่คิดคำนวณต่อเนื่อง อย่างละเอียดว่า รถแท็กซี่ใช้งานวันละกี่กิโลเมตร? มากกว่ารถบ้าน รถส่วนตัวกี่เท่า? ผมตอบให้อย่างชัดเจน โดยคุณไม่ต้องไปค้นหา เพราะบังเอิญ ว่าผมเคยถูกให้รวบรวมข้อมูลพื้นฐานในโครงการแท็กซี่เอื้ออาทร ที่มี ระบบซ่อมฟรีรวมในเงินผ่อน ดังนั้นระยะทางที่ถูกใช้ต่อวันโดยเฉลี่ย จะต้องถูกค้นหาและสรุปอย่างชัดเจน ซึ่งตัวเลขออกมาที่ประมาณ 600 กิโลเมตรต่อวัน (อยู่ในช่วง 550-650 กิโลเมตรต่อวัน) ถ้าใครไม่เชื่อ เสียเงิน 70 บาทขึ้นแท๊กซี่สักคันสองคันแล้วถาม ว่า...กะหนึ่ง (12 ชั่วโมง รถคันหนึ่งต่อวันถูกใช้งาน 2 กะ) ขับได้กี่ กิโลเมตร ส่วนใหญ่ที่เป็นรถเช่า จะขับกันในระยะทาง 300 กิโลเมตร 270-330 กิโลเมตร นั่นคือ 2 กะรวมแล้ว 600 กิโลเมตรต่อวัน หลายคนขี้เกียจคิดเลขในใจ คิดง่ายๆ ว่า 1 ปีรถถูกใช้ 300 วัน จะได้คิดสะดวก (เผื่อวันที่ต้องจอดซ่อมบ้าง แต่จริงๆ แล้วมักจะ ขาดหายจาก 365 วันไม่มากนัก) 300 วัน...วันละ 600 กิโลเมตร รวม 1 ปีรถถูกใช้งานไป 180,000 กิโลเมตร ถ้าเครื่องหมดสภาพที่ 3 ปี คือ 180,000 กิโลเมตร x 3 ปี เท่ากับ 540,000 กิโลเมตร หรือคิดแบบแย่ๆ แค่ 2.5 ปีเครื่องพัง ก็ เท่ากับ 450,000 กิโลเมตร ใช้แก๊สแล้วเครื่องโทรมหรือพังเร็ว เมื่อพังแล้วก็ซ่อมไม่ได้ ต้องยกทิ้งแล้วเปลี่ยนเครื่อง (เชียงกง) ดูอย่างแท๊กซี่สิ 3 ปี...เครื่องพัง !ไม่เห็นมีเกิน 5 ปีสักคัน ก็ต้องเปลี่ยนเครื่อง! เรื่องราวเหล่านี้ จริงหรือไม่?...ตอบก่อนเลยว่า...‘จริง!’ รถแท็กซี่ใช้แก๊ส 3-5 ปีเครื่องต้องพัง! อ้าว...อย่างนี้จะสนับสนุนการใช้แก๊สในรถกันทำไม? ทั้งแอลพีจีและเอ็นจีวี แล้วทำไมหลายประเทศทั่วโลกนิยมใช้แก๊สเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ? ระยะทาง 450,000 กิโลเมตร สำหรับรถบ้าน กี่ปี? ส่วนใหญ่ใช้ งานปี 30,000-40,000 กิโลเมตร 10 ปีเครื่องหลวม...โอเคไหม? รถบ้านทั่วไปที่ใช้น้ำมัน ก็เห็น 300,000-400,000 กิโลเมตรก็ เครื่องหลวม ระยะทาง 450,000 กิโลเมตร ที่เครื่องของรถแท็กซี่พัง นั้นมา จากการใช้น้ำมันเครื่องคุณภาพกลางๆ หรือต่ำ (ที่เรียกว่าน้ำมันถัง 200 ลิตร เกรดแค่ เอพีไอ เอสจี หรือ เอสเอช) ไส้กรองอากาศเทียม และการขับอย่างไม่ค่อยทนุถนอม ลองคิดดูว่า...ถ้าเป็นรถบ้านที่ดูแลดีกว่าทุกด้าน น้ำมันเครื่อง ดีๆ ไส้กรองอากาศดีๆ ระยะทางที่ทำได้ก่อนเครื่องจะหมดสภาพ น่า จะเกินหรือสั้นกว่า 450,000 กิโลเมตร? ทั้งหมดข้างต้นนี้เป็นบทพิสูจน์จากการใช้งานจริงว่า รถที่ใช้ แก๊สจะใช้งานได้ระยะทางไม่ได้สั้นอย่างที่หลายคนเข้าใจผิด แต่ไม่ ได้ลงลึกถึงถึงหลักทางวิศวกรรมว่า แท้จริงแล้วเมื่อใช้แก๊สเป็นเชื้อ เพลิงแทนน้ำมันเบนซินแล้ว อายุการใช้งานของเครื่องจะสั้นลงจริง หรือไม่ และถึงแม้ว่าจะสั้นลง...ต้องถามต่ออีกว่า นั่นเพราะอะไร ? ทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ • อีกประเด็นหลักๆ ที่ร่ำลือกันว่าแก๊สทำร้ายเครื่อง ก็คือ ‘บ่า วาล์ว’ หรือว่า ‘ร้อนจนกรอบไปหมด’ การทำความเข้าใจเรื่องนี้อย่างแท้จริง ผู้ที่ไม่ใช่ช่างยนต์ ต้องมี จินตนาการตามไปด้วย ถ้ามโนภาพได้ จะเข้าใจได้แน่ๆ เชื้อเพลิงเครื่องยนต์ที่เราๆ ใช้กันอยู่นั้น มีชื่อเรียกจริงๆ ว่า ‘GASOLINE’ ซึ่งเป็นอีกชื่อเรียกของ ‘น้ำมันเบนซิน’ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์คาร์บูเรเตอร์หรือหัวฉีด (ไม่นับหัวฉีด ตรงเข้าห้องเผาไหม้ จีดีไอ) การจ่ายเชื้อเพลิงเข้าสู่กระบอกสูบ ‘ต้อง ทำจบก่อนวาล์วไอดีปิด’ ในจังหวะที่ลูกสูบเลื่อนขึ้นในจังหวะอัด เตรียมเจอกับประกาย ไฟของหัวเทียนในจังหวะระเบิด รูปทรงของหัวลูกสูบและห้องเผา ไหม้ของฝาสูบ รวมทั้งการเคลื่อนตัวของลูกสูบให้เกิดแรงดันสูง ย่อม เกิดความปั่นป่วนของอากาศและเชื้อเพลิงที่ ‘ผสม’ กันอยู่ ให้เกิด การคลุกเคล้าเป็น ‘ไอดี’ นั่นคือเป็นไอของอากาศที่ผสมเชื้อเพลิงอย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช่เป็นอากาศที่มีเม็ดเชื้อเพลิงผสมอยู่เป็นหยดๆ ไม่ว่าจะใช้เชื้อเพลิงอะไรก็ตาม ในจังหวะอัด ผู้ผลิตเครื่องล้วน พยายามทำให้เป็น...ไอดี มีสถานะเป็นไอ ที่พร้อมจุดไฟติดจนลุก ไหม้ได้รวดเร็ว เครื่องยนต์ ‘รังเกียจ’ ไอดีที่ผสมระหว่างอากาศกับเชื้อ เพลิงที่มีสภาพเป็นหยดของเหลวผสมอยู่ ดั้งนั้นแม้การจ่ายเข้าไปจะเป็นของเหลว อย่างน้ำมันเบนซิน แต่ในจังหวะอัดที่เตรียมจุดระเบิด ก็จะกลายเป็น...ไอ! ไม่ว่าเชื้อเพลิงใด เดิมจะเป็นของเหลวจับต้องได้อย่างเบนซิน หรือเป็นไออย่างแก๊ส เมื่อเข้าไปในกระบอกสูบ และในจังหวะอัดก็ ต้องถูกคลุกเคล้าให้เป็น...ไอดี ที่พร้อมจุดระเบิด ดังนั้นเครื่องยนต์และหัวเทียนจึง ‘ไม่รู้สึกถึงความแตก ต่างของสถานะเชื้อเพลิงในช่วงจ่ายเข้ามา’ เพราะยังไงก็ต้อง คลุกเคล้าจนเป็นไอ วาล์วไอดีที่เชื้อเพลิงต้องถูกฉีดหรือไหลผ่าน มีความร้อนต่ำ เพราะมีอากาศและเชื้อเพลิงไหลผ่านบ่อยๆ ทุกครั้งที่เป็นจังหวะดูด ของเครื่อง ดังจะเห็นได้ว่า...ราคาของวาล์วไอดีที่มีขนาดใหญ่กว่า จะถูกกว่าวาล์วไอเสียที่ขนาดเล็กกว่าอยู่เสมอ นั่นเพราะไม่ต้องทำให้ทนทานเท่า การที่เชื้อเพลิงจะเป็นไอหรือ ละอองของเหลว ไหลผ่านวาล์วและบ่าวาล์วไอดี จึงไม่ได้มีความ แตกต่างด้านการสึกหรอของบ่าวาล์วเลย ประเด็นที่เข้าใจผิดว่า ‘ใช้แก๊สแล้วแห้ง ส่งผลให้บ่าวาล์วแห้ง และสึกหรอเร็วขึ้น’ จึงไม่ใช่ บ่าวาล์วไอดี ที่ภาระน้อย ไม่ต้องการ เบาะกันกระแทกระหว่างวาล์วกับบ่า บ่าวาล์วไอเสีย เป็นชิ้นส่วนที่ถูกเพ่งเล็งว่า เมื่อใช้แก๊ส แล้วบ่าวาล์วจะสึกเร็ว ลองคิดดูว่า เมื่อเผาไหม้แล้ว ไม่ว่าเชื้อเพลิงอะไรก็ต้องมีความ ร้อนสูงและกลายเป็นไอเสียไหลผ่านบ่าและวาล์วไอเสีย ซึ่งนั่นเป็น ที่มาของภาระที่หนักกว่าวาล์วและบ่าวาล์วไอดี หนีไม่พ้นที่จะมี ความแห้งในตัวเอง ไม่ว่าจะใช้เชื้อเพลิงของเหลวหรือแก๊ส ถ้าจะมีอะไรที่เปียกหรือสามารถทำตัวเป็นเบาะ นั่นคือ ‘สาร ตะกั่ว’ ซึ่งในไทยกับน้ำมันเบนซินไม่มีสารตะกั่วมากว่า 15 ปีแล้ว ส่วนพวกที่เข้าใจผิดใส่น้ำมันออโต้ลูปสำหรับเครื่องยนต์ 2 จังหวะมาใส่ในเครื่องที่ใช้แก๊ส ก็เป็น ‘ความเข้าใจผิด และมีผล เสียล้วนๆ’ เพราะห้องเผาไหม้ หัวลูกสูบ และหัวเทียนจะเลอะ เปียกไปหมด ในขณะที่ตัวน้ำมันออโตลูป ก็ไม่ได้ทำตัวเป็นเบาะรอง บ่าวาล์วได้ดีนัก จึงไม่จำเป็นต้องใส่ ดังนั้นการที่บอกว่า ‘ใช้แก๊สแล้ว บ่าวาล์วสึก เพราะความ แห้ง จึงไม่เป็นจริง’ และที่เข้าใจผิดกันว่า ‘ใช้แก๊สแล้วเครื่องยนต์ร้อน เพราะ แก๊สร้อนกว่า...ก็ไม่จริง’ เพราะถ้าแก๊สให้ความร้อนกว่าจริง การ ใช้แก๊สก็ต้องให้พลังงานแรงขึ้น มีแรงม้า-แรงบิด มากว่าตอนใช้ น้ำมันเบนซิน เพราะความร้อนก็คือพลังงานที่จะดันลูกสูบหลังการ เผาไหม้ ถ้าไม่ได้ทำให้เครื่องยนต์แรงขึ้น ก็แสดงว่าแก๊สไม่ได้ร้อน กว่าน้ำมันเบนซิน ต้องคำนึงถึงปัจจัยที่ ‘เป็นจริง’ • การใช้แก๊สก็มีโอกาสที่เครื่องยนต์จะร้อนกว่าได้ใน 2 กรณี คือ มีการปรับจูนให้จ่ายแก๊สบาง โดยเน้นความประหยัด จนค่าไอเสีย วัดได้สูงกว่าแลมบ์ดา 1.0 ตามที่ควรจะเป็น และอีกกรณีคือ ค่าออก เทนของแก๊สที่มีมากกว่าเบนซิน (แอลพีจี ออกเทน 105-110 และเอ็น จีวี 120) เมื่อนำมาใช้ โดยไม่มีการปรับไฟจุดระเบิดให้ ‘แก่’ กว่าเดิม (จุดล่วงหน้า) ก็จะเป็นการทำงานด้วยไฟจุดระเบิด ‘อ่อน’ (ล่าช้า) ทำให้การลามของไฟไม่ได้ถีบลูกสูบเต็มที่ แต่ลามไปสู่ช่วงวาล์วไอ เสียเปิดในจังหวะคายด้วย ความร้อนที่ไม่ถูกใช้ถีบลูกสูบเต็มที่ ถ่ายทอดผ่านวาล์วไอเสีย ต่อไปยังบ่าวาล์วและฝาสูบอย่างต่อเนื่อง ในกรณีจูนให้จ่ายแก๊สบางกว่าปกติ มีผลทำให้เครื่องร้อนและ แรงตก มากกว่าในกรณีที่แก๊สมีออกเทนสูงกว่าเบนซิน แล้วต้องการ ไฟแก่ เพราะอย่างแอลพีจีก็มีออกเทนสูงกว่าเบนซิน 95 อยู่ ประมาณ 10 เท่านั้น ไฟจุดระเบิดเดิมๆ ก็รองรับได้ โดยรวมคือ แท็กซี่อายุ 3-5 ปีล้วนเครื่องพัง...จริง แต่ พวกเขาขับกันวันละ 600 กิโลเมตร...ปีละ 180,000 กิโลเมตร รวมแล้วล้วนเกิน 400,000 กิโลเมตรถึงจะพัง ทั้งยังใช้น้ำมัน เครื่องและไส้กรองด้อยคุณภาพ ยังทนได้ขนาดนี้ แล้วรถบ้าน ใช้งานวันละไม่ถึง 100 กิโลเมตร ปีละ 30,000 กิโลเมตร ถ้า เครื่องจะพังที่ 300,000 กิโลเมตร กี่ปีจึงจะพัง? ใช้ไป 7-12 ปี ระยะทางและนานขนาดนั้น ไม่ต้องใช้แก๊ส...ก็พังครับ ที่มา : http://vwthai.hypermart.net/Clubhouse/37366.html
ก็อย่าลืมใช้น้ำมันกันบ้างนะครับ เดี๋ยวระบบจ่ายเชื้อเพลิงเบนซิล จะเสียเอา 5555 ผมเพิ่งไปโดนมา หัวฉีด jazz 4 หัวพัง จ่ายเป็นหยด เลยโดนไปซะ แต่ถ้าคิดไอ้ที่เสียไปก็ยังคุ้มครับ ยังไงก็ใช้น้ำมันกันบ่อยๆหน่อย อ่อ ลืมบอก ติดของ autonic หัวฉีด ติดมาประมาณ 3 ปีครับ ---------- Post added at 11:39:11 ---------- Previous post was at 11:38:56 ---------- ก็อย่าลืมใช้น้ำมันกันบ้างนะครับ เดี๋ยวระบบจ่ายเชื้อเพลิงเบนซิล จะเสียเอา 5555 ผมเพิ่งไปโดนมา หัวฉีด jazz 4 หัวพัง จ่ายเป็นหยด เลยโดนไปซะ แต่ถ้าคิดไอ้ที่เสียไปก็ยังคุ้มครับ ยังไงก็ใช้น้ำมันกันบ่อยๆหน่อย อ่อ ลืมบอก ติดของ autonic หัวฉีด ติดมาประมาณ 3 ปีครับ