ใครพอจะทราบเรื่อง การ อ่านค่าเกจวัดต่างๆได้บ้างคับ

การสนทนาใน 'Racing Forum (Cars Forum)' เริ่มโดย EmPel2ol2, 13 มีนาคม 2010

< Previous Thread | Next Thread >
  1. EmPel2ol2

    EmPel2ol2 Well-Known Member VIP

    9,637
    61
    48
    พี่ๆ เพื่อ นคนไหน พอจะทราบบ้างคับ เกจของ Auto Meter นะคับ

    ค่าปรกติ ของ WETER TEMP / OIL TEMP / OIL PRESS / FUEL PRESS มันจาขึ้นเท่าไหร่คับ


    โดยปรกติแล้ว ความร้อนน้ำมันเครื่อง จะร้อนว่า ความร้อนน้ำ ใช่ไม๊คับ ??

    FUEL PRESS ของผมขึ้นอยู่ 55-60 ปอนด์ พอกดคันเร่งบูสมา จะลดลงเล็กน้อยประมาณ 40เกือบๆ50 อ่าคับ มันปรกติไม๊ ??


    WETER TEMP ขึ้นเท่าไหร่ ถึงเรียกว่า ฮีตตตตคับ (เปน F) ของผมขึ้น 150F

    OIL PRESS เดินเบา ขึ้นอยู่ 50 ตอนขับ ขึ้นอยู่ 75 โดยประมาณ ปรกติไม๊คับ ??

    OIL TEMP ขึ้น 210F มันร้อนไปไม๊คับ ??





    รบกวนด้วยนะคับ
     
  2. BANK 4 JB

    BANK 4 JB New Member Member

    1,560
    20
    0
    ความร้อนผมว่า 150 F ปกติ นะ ครับ
     
  3. Pajingo_Injec

    Pajingo_Injec New Member VIP

    474
    12
    0
    ตอบเป็นข้อๆ นะครับ แต่ละเครื่องจะมีค่าความร้อนี่แตกต่างกันไป ไม่สามารถบอกได้เป๊ะๆ ว่าค่าปกติอยู่ที่เท่าไหร่ครับ

    อันแรก...ไม่เสมอไปว่าจะต้องร้อนกว่า แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเช่นนั้นเพราะน้ำมันเครื่องมีจุดเดือดที่สูงกว่าน้ำ แต่ไม่ควรเกิน 110 องศาเซลเซียส

    ข้อสอง...ถ้าเป็นเครื่องเบ็นซิน เวลาบูสท์มาแรงดันเบ็นซินต้องไม่ตกไปจากเดิมครับ ถ้าตกแสดงว่าปั๊มติ๊กไม่พอ มีความเสี่ยงที่จะพังได้ ส่วนของเครื่องดีเซลผมไม่แน่ใจ...รอผู้รู้มาให้ข้อมูลเพิ่ม

    ข้อสาม...Water Temp ส่วนมากก็เดือดที่ 100 องศาเซลเซียส แต่อาจจะบวกขึ้นไปอีกนิดหน่อยถ้าได้ฝาหม้อน้ำแรงดันสูงมาช่วย แต่ก็ไม่ควรให้เกิน 100 หรือถ้าคิดเป็นองศาฟาเรนไฮต์จะเท่ากับ 212 องศา ซึ่งคิดได้โดยใช้สูตร (องศาเซลเซียส หารด้วย 5) =( (องศาฟาเรนไฮต์ - 32) หารด้วย 9) ของคุณมันขึ้น 150 F ก็น่าจะอยู่ราวๆ 65 C เองครับ...สงสัยจะวัดจาดตรงที่ออกจากหม้อน้ำ เพราะถือว่าความร้อนน้อยมากทีเดียว...

    ข้อสี่...เดินเบา 3 บาร์นิดๆ ตอนขับขึ้น 5 บาร์กว่าๆ ก็ราวๆ นี้ครับ...โดยส่วนใหญ่นะ

    ข้อสุดท้าย...อย่างที่ให้สูตรไปครับ 210 F แค่ประมาณ 90 กว่า C ไม่ร้อนเท่าไหร่ครับ อยู่ในเกณฑ์ปกติ...
     
  4. กระบะสีขาว

    กระบะสีขาว Active Member Moderator VIP

    1,459
    15
    38
    รถผมซัดรอบเดียวความร้อนขึ้น ร้อยกว่า

    แต่ไดเรคไม่ควรจะเกิน 100 นะ

    ---------- เพิ่มกระทู้ เมื่อ 21:12:12 ---------- กระทู้ก่อนหน้านี้ เมื่อ 21:11:56 ----------

    รถผมซัดรอบเดียวความร้อนขึ้น ร้อยกว่า

    แต่ไดเรคไม่ควรจะเกิน 100 นะ
     
  5. Robin

    Robin New Member Ads

    1,612
    45
    0
    Fuel Press โดยมากแล้วสามารถปรับตั้งได้จากเรกูเลเตอร์คับ ตรงนี้มันจึงไม่เป็นค่าตายตัวว่าเท่าไหร่ถึงมากน้อยคับ แต่ของผมตั้งไว้ 30psi คับ ส่วนที่บูสต์แล้วเข็มมันลงมาเล็กน้อย จิงๆไม่ควรเกิดคับ ควรจะต้องวิ่งขึ้นไปตามบูสต์ แต่ถ้าตกมานิดหน่อยแล้วคงไว้ตรงนั้น ก็ยังพอรับได้คับ แต่ถ้าตกลงมามาก ไม่ดีแน่นอนคับ เช็คระบบน้ำมันด่วนคับ

    Water Temp ไม่ควรเกิน 190F คับ แต่ถ้าเกินไปเวลาแข่งขันก็ไม่ควรเกิน 210F (100 Celsius) เพราะว่านั่นคือน้ำเดือดแล้วคับ
     
  6. GAP_B11

    GAP_B11 Well-Known Member VIP

    6,314
    95
    48
    แจ่ม ๆๆ อยากได้ WATER TEMP บ้างจัง

    เกจเดิม มันขึ้น ๆ ลง ๆ ขึ้นถึงตัว H จนทะลุ ไปเลยก้อมี 555

    แล้วอยุ่ดีดี มันก้อลงมาตรงกลางปรกติ งง จิง ๆ
     
  7. EmPel2ol2

    EmPel2ol2 Well-Known Member VIP

    9,637
    61
    48

    ที่ Water Temp ผมขึ้นแค่150 เพราะรถผมไม่มีวาล์วน้ำคับ น้ำวนตลอด ผมต่อตรงข้างๆเซ็นเซอร์เดิมอ่าคับ (คอน้ำบน)



    โดยปรกติแล้ว Fuel Press เค้าต่อกันช่วงไหนคับ ของผมต่อจากสายไหนกลับจากถังAที่เค้าเรสกุเรตอ่าคับ มันถูกต้องป่าวคับ
     
  8. Hally_YoKuBo FuGo

    Hally_YoKuBo FuGo New Member Privilege

    4,243
    59
    0
    อัพๆไปๆความรู้ค้าบ
     
  9. BANK 4 JB

    BANK 4 JB New Member Member

    1,560
    20
    0
    FUEL PRESS ของผมขึ้นอยู่ 55-60 ปอนด์ พอกดคันเร่งบูสมา จะลดลงเล็กน้อยประมาณ 40เกือบๆ50 อ่าคับ มันปรกติไม๊ ??


    ^ ^ ^ ^ ^ ^

    หมายถึงแรงดันที่ปั้มติ๊กส่งน้ำมันไปในปั้ม โซล่า ใช่ป่ะครับ แรงดันสูงขนาดนี้ ซีลปั้มไม่รั่วหรือครับ แล้วถ้าจะให้น้อยกว่านี้มันจะมีผลต่อควันดำน้อยลงหรือเปล่าครับ
     
  10. EmPel2ol2

    EmPel2ol2 Well-Known Member VIP

    9,637
    61
    48


    อันนี้ผมก็ไม่รู้นะคับ เพราะผมก็ใช้มา 2ปีกว่าแล้วอ่า ไม่เหนมันเปนไรนะคับ

    แต่ถ้าน้อยลงกว่านี้ ผมว่าปั๊มโซล่าดูดน้ำมันไม่ทัน พังแน่ๆ คับ ขนาดFuelPress ดันอยู่60 กดคันเร่งบูสมา ยังตกมาเหลือ 50เลยคับ

    น่ากลัวคับ
     
  11. AOFMOTORSPORT

    AOFMOTORSPORT New Member Member

    460
    8
    0
    ผมว่า ดีเซลไม่เท่าไหร่นะ เรื่อง บูสมาแล้วแรงดันตกบ้าง อาจจะไม่วิ่งเท่าที่ไม่ตกเลยแต่ไม่ถึงกับพัง น้อยมากที่ดีเซลพังเพราะน้ำมันไม่พอ

    แต่เบนซิน เป็นเรื่องแน่ๆ ไม่วิ่ง แล้วพลานจะพังเอา น่ากลัวครับ
     
  12. EmPel2ol2

    EmPel2ol2 Well-Known Member VIP

    9,637
    61
    48
    อ่อ คับ แต่ ดีเซล ถ้าน้ำมันไม่ทัน ก็ ลูก แตกเหมือนกันคับ เพราะ ใช้บูสกันเยอะคับ 40+
     
  13. PeNgMaN

    PeNgMaN Well-Known Member Privilege

    3,101
    51
    48
    เกร็ดความรู้เรื่องเกจ ต่างๆครับ

    1. มาตรวัดบูสต์ (BOOTS METER)


    มาตรวัดตัวนี้จะเห็นในรถยนต์แทบ ทุกคันที่มีการติดตั้งเทอร์โบเข้าไป รวมถึงรถยนต์ที่มีเทอร์โบมาจากโรงงานก็อาจจะมีตัวนี้มาให้ เนื่องจากมันเป็นตัวบ่งบอกสำคัญให้ผู้ขับขี่ทราบว่า มีแรงดันอากาศ หรือแรงบูสต์เข้ามายังเครื่องยนต์มากน้อยเพียงไร มาตรวัดตัวนี้โดยปกติบนหน้าปัด จะมีค่าตัวเลขด้านล่างขึ้นมาที่ 0 ซึ่งเป็นค่าของ แวคคั่ม หรือ แรงดันลบ และจาก 0 ขึ้นไป จะเป็นของเทอร์โบ หรือ แรงดันบวก และในส่วนของเทอร์โบนี่เองที่จะเป็นส่วนบ่งบอกว่า เทอร์โบ กำลังทำงานอยู่สำหรับการดูค่าอัตราบูสต์เทอร์โบนั้น ถ้าหากว่าเข็มบนมาตรวัดเดินช้ามาก เป็นตัวแสดงให้เห็นอย่างหนึ่งว่า เทอร์โบมีขนาดใหญ่เกินไป ส่งผลให้ไอเสียที่ไปปั่นใบเทอร์โบไม่พอ การแก้ไขก็น่าจะเป็นการเปลี่ยนเป็นแคมฯ องศาสูง
    รือไม่ก็เปลี่ยนจังหวะ ของวาล์วเป็นต้น นอกจากนี้หากบนมาตรวัดชี้ว่ามีแรงบูสต์สูงเกินไปจากที่มีการตั้งค่าเอาไว้ ก็อาจจะสรุปได้ว่าเกิดปัญหาขึ้นที่สปริงวาล์วของเวสต์เกต ที่เป็นตัวควบคุมแรงดันบูสต์ของเทอร์โบเป็นต้น สำหรับมาตรวัดอัตราการบูสต์นี้ อาจจะมีค่าการวัดไม่เหมือนกัน บางครั้งอาจบ่งบอกค่าการวัดเป็น Bar (บาร์) หรือว่า psi (ปอนด์) อีกทั้งค่าสูงสุดของมาตรวัดบูสต์ ก็ไม่เท่ากัน จึงควรเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับความต้องการ

    2. มาตรวัดอุณหภูมิเครื่องยนต์ (WATER TEMP METER)


    สำหรับมาตรวัดความร้อน ตามปกติในรถธรรมดาทั่วไป ก็จะมีติดตั้งมาให้เป็นมาตรฐานอยู่แล้ว
    แต่ ว่ารถยนต์ทั่วไปนั้นอาจไม่ได้อ่อนไหวในเรื่องของความร้อนมากนัก ค่าแสดงให้เห็นจึงไม่ละเอียดมากนัก ทั้งนี้เป็นเพราะทางโรงงานตั้งใจทำมาอย่างนั้น เพื่อคนขับจะได้ไม่ต้องเป็นห่วงมาก แต่ว่าเมื่อไหร่ที่เกจความร้อนขยับสูงขึ้น นั่นหมายความว่าความร้อนขึ้นค่อนข้างมาก ทว่าถ้าเป็นในรถธรรมดา อาจจะยังไม่ก่อปัญหามากนัก ขณะที่รถยนต์ซึ่งใช้เครื่องยนต์เทอร์โบและมีการโมดิฟาย หรือปรับบูสต์ เรื่องปัญหาความร้อนมีความสำคัญมาก เพราะอาจหมายถึงความเสียหายที่เกิดกับเครื่องยนต์ได้เลยทีเดียว โดยปกติ เซ็นเซอร์ ที่ใช้วัดความร้อนของเครื่องยนต์จะติดตั้งอยู่ตรงท่อน้ำที่ออกจากเครื่อง ซึ่งอุณหภูมิโดยปกติที่เครื่องยนต์ทำงานควรจะอยู่ที่ราว 90-100 องศาเซลเซียส และควรควบคุมไม่ให้สูงขึ้นเกินไปกว่า 120 องศาเซลเซียส หากว่าอุณหภูมิยังสูงขึ้นก็พอมีวิธีแก้ไขคือ เพิ่มขนาดของหม้อน้ำให้ใหญ่ขึ้น เปิดกันชนหน้าให้ลมผ่านเข้าหม้อน้ำได้ง่ายขึ้น หรือไม่ก็เจาะสคูปดักลมบนฝากระโปรงหน้า ให้ลมเข้ามาเป่าห้องเครื่อง วิธีการเหล่านี้พอจะสามารถทำให้เครื่องยนต์เย็นได้บ้างเหมือนกัน

    3. มาตรวัดรอบ (TACHO METER) RPM


    สำหรับ มาตรวัดรอบ ก็เหมือนกับมาตรวัดความร้อน คือรถยนต์ส่วนใหญ่จะมีการติดตั้งมาให้จากโรงงานอยู่แล้ว แต่สาเหตุที่มีบางคนต้องไปติดเพิ่มอาจจะมาจากเหตุผลต่างกันไป บางคนอาจคิดว่าเป็นอุปกรณ์ตกแต่งสร้างความสวยงาม หรือความเท่ แต่กับบางคนอาจจะเป็นสิ่งจำเป็นจริง ๆ อย่างรถยนต์ที่ผ่านการโมดิฟายเปลี่ยนไปใช้แคมฯ องศาสูงมาก ๆ จนทำให้สามารถเร่งรอบได้มากกว่าเดิม ซึ่งวัดรอบที่มีติดมากับรถ ไม่สามารถแสดงข้อมูลได้เพียงพอ จึงต้องหาอันใหม่มาติดเข้าไป หรือในรถยนต์ที่ทำขึ้นมาสำหรับการแข่งขันควอเตอร์ไมล์ซึ่งจังหวะการเปลี่ยน เกียร์ ถือเป็นสิ่งที่ต้องการให้ความสำคัญมาก การตัดสินแพ้ชนะอยู่ที่เวลาเพียงเศษเสี้ยววินาที ดังนั้นมาตรวัดรอบที่มาพร้อมไฟเตือน จึงกลายเป็นอุปกรณ์ช่วยได้อย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตามการแพ้ชนะไม่ได้เพียงอุปกรณ์ที่ว่าเท่านั้น จังหวะฝีมือ สมาธิ ในการเปลี่ยนเกียร์ของผู้ขับขี่เป็นเรื่องที่สำคัญกว่า

    4. มาตรวัดอุณหภูมิน้ำมันเครื่อง (OIL TEMP METER)


    อุณหภูมิ น้ำมันเครื่อง มีความสำคัญมากพอสมควร เพราะถือว่ามีผลกระทบกับเครื่องยนต์โดยตรง หากว่าอุณหภูมิของน้ำมันเครื่องสูงเกินไป เครื่องยนต์ก็ไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ทั้งนี้อุณหภูมิของน้ำมันเครื่องจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของน้ำมันเครื่องที่ใช้ ซึ่งในตลาดน้ำมันเครื่องแยกเป็นหลายประเภท มีทั้งแบบทนความร้อนสูงที่อุณหภูมิสูงถึง 120 องศาเซลเซียส ส่วนบางประเภทอุณหภูมิแค่ 110 องศาเซลเซียส ก็ทนไม่ไหวกลายสภาพเป็นน้ำก็มี โดยปกติของอุณหภูมิน้ำมันเครื่องจะสูง-ต่ำ
    ไปในแนวทางเดียวกับอุณหภูมิ ของเครื่องยนต์หรืออุณหภูมิหม้อน้ำ ซึ่งถ้าความร้อนของน้ำขึ้น อุณหภูมิของน้ำมันเครื่องก็จะขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ในสภาพการใช้งานเครื่องยนต์ควรรักษาอุณหภูมิของน้ำมันเครื่องให้อยู่ ในช่วง 80-110 องศาเซลเซียส ถ้าหากอุณหภูมิสูงขึ้นไปเกิน 120 องศาเซลเซียส ควรทำให้เย็นลงก่อนจึงใช้งานเครื่องยนต์ต่อไป สำหรับทางออกในการช่วยรักษาอุณหภูมิของน้ำมันเครื่อง รถยนต์ที่ผ่านการโมดิฟายมักมีการใส่ OIL COOLER เข้าไปช่วยก็ทำให้อุณหภูมิน้ำมันเครื่องไม่สูงเกินไป

    5. มาตรวัดแรงดันน้ำมันเครื่อง (OIL PRESSURE METER)


    มาตร วัดตัวนี้จะมีส่วนสำคัญในการแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของ น้ำมันเครื่อง โดยค่าที่แสดงออกมาให้เห็นจะเป็นเวลาที่เครื่องยนต์ทำงานในรอบสูงๆหรือขณะ ที่เครื่องยนต์ มีอุณหภูมิในการทำงาน เพราะเมื่อน้ำมันเครื่องเจอเข้ากับความร้อนสูง ๆ จะถูกหลอมให้เหลวลง และถ้าน้ำมันเครื่องเหลวมากเท่าไหร่ ประสิทธิภาพความหล่อลื่นก็จะลดลงการสึกหรอ จนถึงการ ระบายความร้อนก็จะลดประสิทธิภาพลงตามไปด้วย ดังนั้นการตรวจสอบตรงจุดนี้จึงมีความสำคัญ ซึ่งมาตรวัดแรงดันน้ำมันเครื่องจะเป็นตัวบ่งบอกข้อมูลนี้ได้ โดยในการแสดงข้อมูลให้เห็นนั้น หากว่ามีแรงดูดน้อย ที่เรียกว่า "แรงดันต่ำ" จะถือว่าการหล่อลื่นไม่ดี เพราะแสดงถึงว่าน้ำมันเครื่องเหลวมาก ใช้แรงดูดน้อยก็ไหลเข้ามาแล้ว ในทางกลับกัน ถ้าน้ำมันเครื่องมีความหนืดมาก แรงดูดก็ต้องใช้แรงมาก เรียกว่า "แรงดันสูง" จะสังเกตได้ว่าเวลาที่น้ำมันเครื่องยังคงเย็น มาตรวัดจะแสดงว่ามีแรงดันสูง แต่เมื่อความร้อนเพิ่มขึ้น น้ำมันเครื่องคลายความหนืดลง ความดันก็จะเริ่มต่ำลงมา สำหรับรถยนต์โดยทั่วไปในขณะวิ่ง แรงดันน้ำมันเครื่องควรอยู่ที่ประมาณ
    3 - 4 kg/cm2 หรือหากสูงมากก็ไม่ควรจะเกิน 6 kg/cm2

    6. มาตรวัดอุณหภูมิท่อไอเสีย (EX. TEMP METER)


    อุณหภูมิ ของท่อไอเสีย หลายคนอาจจะมองว่าไม่น่าจะเกี่ยวกับประสิทธิภาพ การทำงานของเครื่องยนต์ ทว่าในความเป็นจริงมันมีส่วนที่สัมพันธ์กับแรงดันน้ำมัน หรือการไหลของอากาศสำหรับรถที่ผ่านการโมดิฟาย นอกจากน้ำมันเครื่องแล้ว ยังมีอีกเรื่องที่สำคัญ ก็คือ ปริมาณการจ่ายน้ำมันเบนซิน ซึ่งปริมาณน้ำมันเบนซินจะมากจะน้อย ก็สามารถวัดได้จากมาตรวัดอุณหภูมิท่อไอเสียนี่เอง ซึ่งหากมีการปรับน้ำมันให้อ่อนลง จะทำให้อุณหภูมิของท่อไอเสียเพิ่มขึ้น แต่ถ้าเป็นในทางตรงกันข้ามน้ำมันแก่ อุณหภูมิของท่อไอเสีย ก็จะต่ำลง ดังนั้นมาตรวัดอุณหภูมิไอเสีย จึงสามารถบอกข้อมูลของรถในขณะวิ่งได้ อย่างไรก็ตามโดยทั่วไป มาตรวัดอากาศไหลเข้า หรือว่ามาตรวัดแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิง ก็ใช้บอกข้อมูลในทางเดียวกัน

    7. มาตรวัดแรงดันเชื้อเพลิง (FUEL PRESSURE METER)


    สำหรับมาตร วัดตัวนี้ใช้เป็นตัวเช็คแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิงว่า ในขณะที่เหยียบคันเร่งแล้วน้ำมันขึ้นมาตามปริมาณที่เราออกแรงกดลงไปบนคัน เร่งหรือไม่ สำหรับคนที่ใช้รถแบบปรกติหรือใช้บนถนนทั่วไป มาตรวัดตัวนี้คงจะไม่จำเป็น อย่างไรก็ดีหากว่า ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงหรือหัวฉีดเกิดมีปัญหาขึ้นมา มาตรวัดที่บอกค่าของแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิง ก็สามารถเป็นตัวบอกความผิดปกติได้ วิธีดูมาตรวัดตัวนี้ จะใช้ดูค่าในขณะที่รถยนต์ติดเครื่องเดินเบาเป็นหลัก สำหรับรถยนต์ที่มีเทอร์โบติดตั้งอยู่ด้วยค่าของแรงดันนี้จะขึ้นไปตามอัตรา การบูสต์ เช่น ค่าที่วัดได้ในขณะเดินเบามีค่าเป็น 3 บาร์ แต่เมื่อเทอร์โบบูสต์ไป 1 บาร์
    ค่าบนของมาตรวัดจะชี้ไปที่ 4 บาร์ ซึ่งหากว่าแรงดันนี้ตกลง นั่นหมายถึงว่าขนาดของปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงหรือหัวฉีดที่ใช้ไม่เพียงพอ เสียแล้ว ดังนั้นมาตรวัดตัวนี้จึงมีความจำเป็นไม่น้อยสำหรับรถยนต์เทอร์โบ ซึ่งผู้ขับขี่ความสังเกตค่าแรงดันในขณะที่เดินเบาเป็นหลัก และสังเกตว่าแรงดันน้ำมัน นั้นขึ้นไปตามอัตราการบูสต์หรือไม่

    8. มาตรวัดส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง (A/F METER)


    มาตร วัดตัวนี้เป็นการเช็คความสมดุลระหว่างอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับ A/F คืออัตราส่วนระหว่างอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งโดยทั่วไปอัตราส่วนตามหลักการนี้จะต้องมีค่าเท่ากับ 14 ในขณะที่เครื่องเดินเบา เลข 14 ก็จะหมายถึงอากาศ 14 ส่วน/น้ำมัน 1 ส่วน ซึ่งจะผสมอยู่ในห้องเผาไหม้สำหรับจุดระเบิด และค่านี้จะต่ำลงไปในขณะที่มีการเร่งเนื่องจากปริมาณน้ำมันเพิ่มขึ้น และค่า A/F นี้จะสูงขึ้นในขณะที่ทำการถอนคันเร่ง โดยค่า A/F นี้จะถูกแบ่งออกเป็น "บาง" กับ "หนา" ซึ่งถ้าต้องการทำให้รถแรงขึ้น ก็ต้องปรับให้ค่า A/F ให้มีค่าที่บางลง คือการปรับให้น้ำมันน้อยลง-อากาศมากขึ้น อย่างไรก็ตามการปรับในลักษณะดังกล่าว ก็มีผลทำให้อุณหภูมิในห้องเผาไหม้สูงขึ้นได้ จึงจำเป็นต้องมีการปรับอย่างระมัดระวัง ทั้งนี้ค่า A/F ไม่ควรสูงเกินกว่า 12 เพราะนั่นหมายความว่าน้ำมันเชื้อเพลิงน้อยเกินไป ซึ่งในรถที่มีการโมดิฟาย ควรจะให้มีค่า A/F ขณะเร่งอยู่ในช่วง 10.5- 11.5 ก็พอ

    9. แวคคั่ม มิเตอร์ (VACCUM METER)


    มาตรวัด VACCUM ตัวนี้ จริง ๆ แล้วมันก็อยู่ในมาตรวัดตัวเดียวกับมาตรวัดอัตราบูสต์เทอร์โบ มาตรวัดตัวนี้จะตอบสนองกับ อัตราการเหยียบคันเร่ง ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการเช็คความสิ้นเปลืองน้ำมันได้เหมือนกัน สำหรับการดูค่าของมาตรวัดตัวนี้ต้องดูเวลา เครื่องเดินเบา ซึ่งจะดูได้จากค่าสุญญากาศ ถ้าค่าสุญญากาศนี้มีมาก ก็จะถือได้ว่าเครื่องยังคงมีสภาพที่สมบูรณ์ ไม่รั่วซึม แต่ถ้าค่านี้ลดลงไปมาก นั่นก็เป็นไปในทางตรงกันข้าม มาตรวัดตัวนี้จึงเป็นมาตรวัดที่อาจมีไว้เช็คสภาพของเครื่องยนต์ได้ ทั้งนี้ในขณะเครื่องยนต์เดินเบาถ้าเข็มบนมาตรวัดนี้บอกค่าไม่ถึง 300 cmHg นั่นเป็นสัญญาณเตือนว่าเครื่องยนต์มีสภาพย่ำแย่ โดยเครื่องยนต์ใหม่ ๆ ที่มีความสมบูรณ์ค่าตัวนี้จะอยู่ที่ประมาณ 450 cmHg

    ขอขอบคุณแหล่งที่มาครับ >>> http://www.rz-racingzone.com/forums/...1010.msg556574

    ---------- เพิ่มกระทู้ เมื่อ 19:26:19 ---------- กระทู้ก่อนหน้านี้ เมื่อ 19:25:49 ----------

    เกร็ดความรู้เรื่องเกจ ต่างๆครับ

    1. มาตรวัดบูสต์ (BOOTS METER)


    มาตรวัดตัวนี้จะเห็นในรถยนต์แทบ ทุกคันที่มีการติดตั้งเทอร์โบเข้าไป รวมถึงรถยนต์ที่มีเทอร์โบมาจากโรงงานก็อาจจะมีตัวนี้มาให้ เนื่องจากมันเป็นตัวบ่งบอกสำคัญให้ผู้ขับขี่ทราบว่า มีแรงดันอากาศ หรือแรงบูสต์เข้ามายังเครื่องยนต์มากน้อยเพียงไร มาตรวัดตัวนี้โดยปกติบนหน้าปัด จะมีค่าตัวเลขด้านล่างขึ้นมาที่ 0 ซึ่งเป็นค่าของ แวคคั่ม หรือ แรงดันลบ และจาก 0 ขึ้นไป จะเป็นของเทอร์โบ หรือ แรงดันบวก และในส่วนของเทอร์โบนี่เองที่จะเป็นส่วนบ่งบอกว่า เทอร์โบ กำลังทำงานอยู่สำหรับการดูค่าอัตราบูสต์เทอร์โบนั้น ถ้าหากว่าเข็มบนมาตรวัดเดินช้ามาก เป็นตัวแสดงให้เห็นอย่างหนึ่งว่า เทอร์โบมีขนาดใหญ่เกินไป ส่งผลให้ไอเสียที่ไปปั่นใบเทอร์โบไม่พอ การแก้ไขก็น่าจะเป็นการเปลี่ยนเป็นแคมฯ องศาสูง
    รือไม่ก็เปลี่ยนจังหวะ ของวาล์วเป็นต้น นอกจากนี้หากบนมาตรวัดชี้ว่ามีแรงบูสต์สูงเกินไปจากที่มีการตั้งค่าเอาไว้ ก็อาจจะสรุปได้ว่าเกิดปัญหาขึ้นที่สปริงวาล์วของเวสต์เกต ที่เป็นตัวควบคุมแรงดันบูสต์ของเทอร์โบเป็นต้น สำหรับมาตรวัดอัตราการบูสต์นี้ อาจจะมีค่าการวัดไม่เหมือนกัน บางครั้งอาจบ่งบอกค่าการวัดเป็น Bar (บาร์) หรือว่า psi (ปอนด์) อีกทั้งค่าสูงสุดของมาตรวัดบูสต์ ก็ไม่เท่ากัน จึงควรเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับความต้องการ

    2. มาตรวัดอุณหภูมิเครื่องยนต์ (WATER TEMP METER)


    สำหรับมาตรวัดความร้อน ตามปกติในรถธรรมดาทั่วไป ก็จะมีติดตั้งมาให้เป็นมาตรฐานอยู่แล้ว
    แต่ ว่ารถยนต์ทั่วไปนั้นอาจไม่ได้อ่อนไหวในเรื่องของความร้อนมากนัก ค่าแสดงให้เห็นจึงไม่ละเอียดมากนัก ทั้งนี้เป็นเพราะทางโรงงานตั้งใจทำมาอย่างนั้น เพื่อคนขับจะได้ไม่ต้องเป็นห่วงมาก แต่ว่าเมื่อไหร่ที่เกจความร้อนขยับสูงขึ้น นั่นหมายความว่าความร้อนขึ้นค่อนข้างมาก ทว่าถ้าเป็นในรถธรรมดา อาจจะยังไม่ก่อปัญหามากนัก ขณะที่รถยนต์ซึ่งใช้เครื่องยนต์เทอร์โบและมีการโมดิฟาย หรือปรับบูสต์ เรื่องปัญหาความร้อนมีความสำคัญมาก เพราะอาจหมายถึงความเสียหายที่เกิดกับเครื่องยนต์ได้เลยทีเดียว โดยปกติ เซ็นเซอร์ ที่ใช้วัดความร้อนของเครื่องยนต์จะติดตั้งอยู่ตรงท่อน้ำที่ออกจากเครื่อง ซึ่งอุณหภูมิโดยปกติที่เครื่องยนต์ทำงานควรจะอยู่ที่ราว 90-100 องศาเซลเซียส และควรควบคุมไม่ให้สูงขึ้นเกินไปกว่า 120 องศาเซลเซียส หากว่าอุณหภูมิยังสูงขึ้นก็พอมีวิธีแก้ไขคือ เพิ่มขนาดของหม้อน้ำให้ใหญ่ขึ้น เปิดกันชนหน้าให้ลมผ่านเข้าหม้อน้ำได้ง่ายขึ้น หรือไม่ก็เจาะสคูปดักลมบนฝากระโปรงหน้า ให้ลมเข้ามาเป่าห้องเครื่อง วิธีการเหล่านี้พอจะสามารถทำให้เครื่องยนต์เย็นได้บ้างเหมือนกัน

    3. มาตรวัดรอบ (TACHO METER) RPM


    สำหรับ มาตรวัดรอบ ก็เหมือนกับมาตรวัดความร้อน คือรถยนต์ส่วนใหญ่จะมีการติดตั้งมาให้จากโรงงานอยู่แล้ว แต่สาเหตุที่มีบางคนต้องไปติดเพิ่มอาจจะมาจากเหตุผลต่างกันไป บางคนอาจคิดว่าเป็นอุปกรณ์ตกแต่งสร้างความสวยงาม หรือความเท่ แต่กับบางคนอาจจะเป็นสิ่งจำเป็นจริง ๆ อย่างรถยนต์ที่ผ่านการโมดิฟายเปลี่ยนไปใช้แคมฯ องศาสูงมาก ๆ จนทำให้สามารถเร่งรอบได้มากกว่าเดิม ซึ่งวัดรอบที่มีติดมากับรถ ไม่สามารถแสดงข้อมูลได้เพียงพอ จึงต้องหาอันใหม่มาติดเข้าไป หรือในรถยนต์ที่ทำขึ้นมาสำหรับการแข่งขันควอเตอร์ไมล์ซึ่งจังหวะการเปลี่ยน เกียร์ ถือเป็นสิ่งที่ต้องการให้ความสำคัญมาก การตัดสินแพ้ชนะอยู่ที่เวลาเพียงเศษเสี้ยววินาที ดังนั้นมาตรวัดรอบที่มาพร้อมไฟเตือน จึงกลายเป็นอุปกรณ์ช่วยได้อย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตามการแพ้ชนะไม่ได้เพียงอุปกรณ์ที่ว่าเท่านั้น จังหวะฝีมือ สมาธิ ในการเปลี่ยนเกียร์ของผู้ขับขี่เป็นเรื่องที่สำคัญกว่า

    4. มาตรวัดอุณหภูมิน้ำมันเครื่อง (OIL TEMP METER)


    อุณหภูมิ น้ำมันเครื่อง มีความสำคัญมากพอสมควร เพราะถือว่ามีผลกระทบกับเครื่องยนต์โดยตรง หากว่าอุณหภูมิของน้ำมันเครื่องสูงเกินไป เครื่องยนต์ก็ไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ทั้งนี้อุณหภูมิของน้ำมันเครื่องจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของน้ำมันเครื่องที่ใช้ ซึ่งในตลาดน้ำมันเครื่องแยกเป็นหลายประเภท มีทั้งแบบทนความร้อนสูงที่อุณหภูมิสูงถึง 120 องศาเซลเซียส ส่วนบางประเภทอุณหภูมิแค่ 110 องศาเซลเซียส ก็ทนไม่ไหวกลายสภาพเป็นน้ำก็มี โดยปกติของอุณหภูมิน้ำมันเครื่องจะสูง-ต่ำ
    ไปในแนวทางเดียวกับอุณหภูมิ ของเครื่องยนต์หรืออุณหภูมิหม้อน้ำ ซึ่งถ้าความร้อนของน้ำขึ้น อุณหภูมิของน้ำมันเครื่องก็จะขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ในสภาพการใช้งานเครื่องยนต์ควรรักษาอุณหภูมิของน้ำมันเครื่องให้อยู่ ในช่วง 80-110 องศาเซลเซียส ถ้าหากอุณหภูมิสูงขึ้นไปเกิน 120 องศาเซลเซียส ควรทำให้เย็นลงก่อนจึงใช้งานเครื่องยนต์ต่อไป สำหรับทางออกในการช่วยรักษาอุณหภูมิของน้ำมันเครื่อง รถยนต์ที่ผ่านการโมดิฟายมักมีการใส่ OIL COOLER เข้าไปช่วยก็ทำให้อุณหภูมิน้ำมันเครื่องไม่สูงเกินไป

    5. มาตรวัดแรงดันน้ำมันเครื่อง (OIL PRESSURE METER)


    มาตร วัดตัวนี้จะมีส่วนสำคัญในการแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของ น้ำมันเครื่อง โดยค่าที่แสดงออกมาให้เห็นจะเป็นเวลาที่เครื่องยนต์ทำงานในรอบสูงๆหรือขณะ ที่เครื่องยนต์ มีอุณหภูมิในการทำงาน เพราะเมื่อน้ำมันเครื่องเจอเข้ากับความร้อนสูง ๆ จะถูกหลอมให้เหลวลง และถ้าน้ำมันเครื่องเหลวมากเท่าไหร่ ประสิทธิภาพความหล่อลื่นก็จะลดลงการสึกหรอ จนถึงการ ระบายความร้อนก็จะลดประสิทธิภาพลงตามไปด้วย ดังนั้นการตรวจสอบตรงจุดนี้จึงมีความสำคัญ ซึ่งมาตรวัดแรงดันน้ำมันเครื่องจะเป็นตัวบ่งบอกข้อมูลนี้ได้ โดยในการแสดงข้อมูลให้เห็นนั้น หากว่ามีแรงดูดน้อย ที่เรียกว่า "แรงดันต่ำ" จะถือว่าการหล่อลื่นไม่ดี เพราะแสดงถึงว่าน้ำมันเครื่องเหลวมาก ใช้แรงดูดน้อยก็ไหลเข้ามาแล้ว ในทางกลับกัน ถ้าน้ำมันเครื่องมีความหนืดมาก แรงดูดก็ต้องใช้แรงมาก เรียกว่า "แรงดันสูง" จะสังเกตได้ว่าเวลาที่น้ำมันเครื่องยังคงเย็น มาตรวัดจะแสดงว่ามีแรงดันสูง แต่เมื่อความร้อนเพิ่มขึ้น น้ำมันเครื่องคลายความหนืดลง ความดันก็จะเริ่มต่ำลงมา สำหรับรถยนต์โดยทั่วไปในขณะวิ่ง แรงดันน้ำมันเครื่องควรอยู่ที่ประมาณ
    3 - 4 kg/cm2 หรือหากสูงมากก็ไม่ควรจะเกิน 6 kg/cm2

    6. มาตรวัดอุณหภูมิท่อไอเสีย (EX. TEMP METER)


    อุณหภูมิ ของท่อไอเสีย หลายคนอาจจะมองว่าไม่น่าจะเกี่ยวกับประสิทธิภาพ การทำงานของเครื่องยนต์ ทว่าในความเป็นจริงมันมีส่วนที่สัมพันธ์กับแรงดันน้ำมัน หรือการไหลของอากาศสำหรับรถที่ผ่านการโมดิฟาย นอกจากน้ำมันเครื่องแล้ว ยังมีอีกเรื่องที่สำคัญ ก็คือ ปริมาณการจ่ายน้ำมันเบนซิน ซึ่งปริมาณน้ำมันเบนซินจะมากจะน้อย ก็สามารถวัดได้จากมาตรวัดอุณหภูมิท่อไอเสียนี่เอง ซึ่งหากมีการปรับน้ำมันให้อ่อนลง จะทำให้อุณหภูมิของท่อไอเสียเพิ่มขึ้น แต่ถ้าเป็นในทางตรงกันข้ามน้ำมันแก่ อุณหภูมิของท่อไอเสีย ก็จะต่ำลง ดังนั้นมาตรวัดอุณหภูมิไอเสีย จึงสามารถบอกข้อมูลของรถในขณะวิ่งได้ อย่างไรก็ตามโดยทั่วไป มาตรวัดอากาศไหลเข้า หรือว่ามาตรวัดแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิง ก็ใช้บอกข้อมูลในทางเดียวกัน

    7. มาตรวัดแรงดันเชื้อเพลิง (FUEL PRESSURE METER)


    สำหรับมาตร วัดตัวนี้ใช้เป็นตัวเช็คแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิงว่า ในขณะที่เหยียบคันเร่งแล้วน้ำมันขึ้นมาตามปริมาณที่เราออกแรงกดลงไปบนคัน เร่งหรือไม่ สำหรับคนที่ใช้รถแบบปรกติหรือใช้บนถนนทั่วไป มาตรวัดตัวนี้คงจะไม่จำเป็น อย่างไรก็ดีหากว่า ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงหรือหัวฉีดเกิดมีปัญหาขึ้นมา มาตรวัดที่บอกค่าของแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิง ก็สามารถเป็นตัวบอกความผิดปกติได้ วิธีดูมาตรวัดตัวนี้ จะใช้ดูค่าในขณะที่รถยนต์ติดเครื่องเดินเบาเป็นหลัก สำหรับรถยนต์ที่มีเทอร์โบติดตั้งอยู่ด้วยค่าของแรงดันนี้จะขึ้นไปตามอัตรา การบูสต์ เช่น ค่าที่วัดได้ในขณะเดินเบามีค่าเป็น 3 บาร์ แต่เมื่อเทอร์โบบูสต์ไป 1 บาร์
    ค่าบนของมาตรวัดจะชี้ไปที่ 4 บาร์ ซึ่งหากว่าแรงดันนี้ตกลง นั่นหมายถึงว่าขนาดของปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงหรือหัวฉีดที่ใช้ไม่เพียงพอ เสียแล้ว ดังนั้นมาตรวัดตัวนี้จึงมีความจำเป็นไม่น้อยสำหรับรถยนต์เทอร์โบ ซึ่งผู้ขับขี่ความสังเกตค่าแรงดันในขณะที่เดินเบาเป็นหลัก และสังเกตว่าแรงดันน้ำมัน นั้นขึ้นไปตามอัตราการบูสต์หรือไม่

    8. มาตรวัดส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง (A/F METER)


    มาตร วัดตัวนี้เป็นการเช็คความสมดุลระหว่างอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับ A/F คืออัตราส่วนระหว่างอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งโดยทั่วไปอัตราส่วนตามหลักการนี้จะต้องมีค่าเท่ากับ 14 ในขณะที่เครื่องเดินเบา เลข 14 ก็จะหมายถึงอากาศ 14 ส่วน/น้ำมัน 1 ส่วน ซึ่งจะผสมอยู่ในห้องเผาไหม้สำหรับจุดระเบิด และค่านี้จะต่ำลงไปในขณะที่มีการเร่งเนื่องจากปริมาณน้ำมันเพิ่มขึ้น และค่า A/F นี้จะสูงขึ้นในขณะที่ทำการถอนคันเร่ง โดยค่า A/F นี้จะถูกแบ่งออกเป็น "บาง" กับ "หนา" ซึ่งถ้าต้องการทำให้รถแรงขึ้น ก็ต้องปรับให้ค่า A/F ให้มีค่าที่บางลง คือการปรับให้น้ำมันน้อยลง-อากาศมากขึ้น อย่างไรก็ตามการปรับในลักษณะดังกล่าว ก็มีผลทำให้อุณหภูมิในห้องเผาไหม้สูงขึ้นได้ จึงจำเป็นต้องมีการปรับอย่างระมัดระวัง ทั้งนี้ค่า A/F ไม่ควรสูงเกินกว่า 12 เพราะนั่นหมายความว่าน้ำมันเชื้อเพลิงน้อยเกินไป ซึ่งในรถที่มีการโมดิฟาย ควรจะให้มีค่า A/F ขณะเร่งอยู่ในช่วง 10.5- 11.5 ก็พอ

    9. แวคคั่ม มิเตอร์ (VACCUM METER)


    มาตรวัด VACCUM ตัวนี้ จริง ๆ แล้วมันก็อยู่ในมาตรวัดตัวเดียวกับมาตรวัดอัตราบูสต์เทอร์โบ มาตรวัดตัวนี้จะตอบสนองกับ อัตราการเหยียบคันเร่ง ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการเช็คความสิ้นเปลืองน้ำมันได้เหมือนกัน สำหรับการดูค่าของมาตรวัดตัวนี้ต้องดูเวลา เครื่องเดินเบา ซึ่งจะดูได้จากค่าสุญญากาศ ถ้าค่าสุญญากาศนี้มีมาก ก็จะถือได้ว่าเครื่องยังคงมีสภาพที่สมบูรณ์ ไม่รั่วซึม แต่ถ้าค่านี้ลดลงไปมาก นั่นก็เป็นไปในทางตรงกันข้าม มาตรวัดตัวนี้จึงเป็นมาตรวัดที่อาจมีไว้เช็คสภาพของเครื่องยนต์ได้ ทั้งนี้ในขณะเครื่องยนต์เดินเบาถ้าเข็มบนมาตรวัดนี้บอกค่าไม่ถึง 300 cmHg นั่นเป็นสัญญาณเตือนว่าเครื่องยนต์มีสภาพย่ำแย่ โดยเครื่องยนต์ใหม่ ๆ ที่มีความสมบูรณ์ค่าตัวนี้จะอยู่ที่ประมาณ 450 cmHg

    ขอขอบคุณแหล่งที่มาครับ >>> http://www.rz-racingzone.com/forums/...1010.msg556574
     
  14. AOFMOTORSPORT

    AOFMOTORSPORT New Member Member

    460
    8
    0
    หุหุ แรงๆกันทั้งนั้น

    เด๋วนี้ไม่ค่อยเห็นรถพี่ ในเทคโนเลยครับ

    สบายดีทั้งคนทั้งรถนะครับ

    ทำกะช่างยิ้ม รู้จักแม็ก ป่าวครับ ที่ขี่แอคคอดตาเพชร ที่ตอนนี้พึ่งทำอีซุ 4ประตูสีขาวอะครับ เห็นทำกับช่างยิ้มเหมือนกัน พอดีเป็นเพื่อนกัน
     
  15. EmPel2ol2

    EmPel2ol2 Well-Known Member VIP

    9,637
    61
    48
    อุ้ย ไม่แรงหลอกคับ วิ่งได้เฉย ๆ

    เทอมที่แล้วไม่ได้ลงเรียนคับ เรียนเทอมน่าอ่ะ

    แม็กหรอ รู้จักกัน เปนรุ่นน้องผมตั้งแต่ ม.ต้นแล้วคับ บ้านมันอยู่แถวๆอู่นั่นแหละ
     
  16. Ea"RT"h

    Ea"RT"h New Member VIP

    7,434
    191
    0
    กระทู้ความรู้
     
  17. EmPel2ol2

    EmPel2ol2 Well-Known Member VIP

    9,637
    61
    48
    Fuel Press เดินเบาขึ้น 60ปอนด์ พอตอบซัด ตกเหลือ 42ปอนด์ มันจาเปนไรป่าวคับ แต่ตกมาแล้วนิ่งนะคับ

    ไม่รุ้ต้องเพิ่มปั๊มติก ไม๊คับ แล้วเวลาเข้าต่อเจ้าFuel Press เค้าต่อกันตรงไหนยังไงคับ กลัวต่อผิด
     
  18. musachi

    musachi New Member VIP

    2,336
    264
    0
    [​IMG]

    เผื่อมีประโยชน์
     
  19. Robin

    Robin New Member Ads

    1,612
    45
    0
    ถ้าตกมาแล้วนิ่งจิงๆก็ไม่น่าจะเป็นอารายคับ คือปั้มมันก็ยังคงจะพออยู่ในระดับนั้น แต่ถ้าเป็นผม ผมเพิ่มคับ เพราะแรงดันตกมาก็ไม่ค่อยดีแล้วคับ

    Fuel Press ของผมใช้แบบ Mechanic ผมต่อเอาน้ำมันจากตูด Regulator เข้ามาวัดหลังเกจ์อ่ะคับ


    ---------- เพิ่มกระทู้ เมื่อ 21:21:02 ---------- กระทู้ก่อนหน้านี้ เมื่อ 21:20:42 ----------

    ถ้าตกมาแล้วนิ่งจิงๆก็ไม่น่าจะเป็นอารายคับ คือปั้มมันก็ยังคงจะพออยู่ในระดับนั้น แต่ถ้าเป็นผม ผมเพิ่มคับ เพราะแรงดันตกมาก็ไม่ค่อยดีแล้วคับ

    Fuel Press ของผมใช้แบบ Mechanic ผมต่อเอาน้ำมันจากตูด Regulator เข้ามาวัดหลังเกจ์อ่ะคับ
     
  20. Hally_YoKuBo FuGo

    Hally_YoKuBo FuGo New Member Privilege

    4,243
    59
    0
    อัพๆๆได้ความรู้เยอะเลย
    (แวะมาอ่านรอบสอง) อิอิ
     
  21. EmPel2ol2

    EmPel2ol2 Well-Known Member VIP

    9,637
    61
    48



    อ่าคับผม ผมต่อจากสาย ไหลกลับจาก ถังA เข้า Regulator คับ
     
< Previous Thread | Next Thread >

แบ่งปันหน้านี้