เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ความต่างของกันโคลงหลัง ระหว่าง si กับ type-r มีขนาดที่ต่างกัน ด้วยความเข้าใจเราๆก็เข้าใจกันดีว่า มันต้องมีสมรรถนะที่ดีกว่า หนืดกว่า และต้องเข้าโค้งได้ดีกว่า แต่มันจะเข้าใจได้อย่างไรถ้าไม่ลองใช้ดู มาลองดูกันคับว่าเราต้องทำอะไรมั่ง ซึ่งขั้นตอนก็ง่ายๆ เริ่มจาก 1 ถอดล้อเพื่อให้ง่ายต่อการทำงานมุมต่างๆ สำหรับท่านที่ไม่มี ฮ้อย 2 แม่แรงอันนี้ผมไม่มากมายละกันว่าใช้งานตอนไหนยังไง 3 รูปกันโคลงใหม่ที่เราจะทำการใส่เข้าไป ขนาด 23 มิล ถูกป่าววะ 4 อุปกรณ์เสริมของวันนี้ ชุดปืนลม เพื่อง่ายต่อการเอาน๊อตออก แต่ขาเข้าผมแนะนำมือขันคับ
5 ถอดน๊อตปลายกันโคลงทั้งสองด้านออก ุ6 ถอดน๊อตยึดประกับ และ น๊อตยึดตัวรับประกับออก 7 ที่จุดนี้เราต้องแก้ตัวรับประกับใหม่ให้มีขนาดกว่างขึ้น โดยผมใช้แผ่นเหล๊กขนาด เกือบ1หุล หน้ากว้าง และ ความยาว เท่ากับหน้าประกับใหม่ มาเชื่อมเสริมเข้าไป เพื่อให้เกิดทั้งความแข็งแรง และ เจาะตำแห่งใหม่ให้เข้ากับ ขนาดประกับใหม่เช่นกัน ขั้นตอนนี้ถ้าไม่เข้าใจก็ถือของแล้วขับรถมาหาก็ละกัน ^^ ง่าย 8 ขนาดความกว่างของรูที่แก้แล้วจะกว้างกว่า
9 มาถึงขั้นตอนการใส่ ผมแนะว่าให้ไขว้ตัวรับประกับ กัน เพื่อให้จุดยึดขะเยิบขึ้นมา (กรอบเล็กคือทิศทางเดิม) ไม่เช่นนั้น จุดยึดที่ต่างกันจะทำให้ประกับไปจับเข้าที่ไหล่กันโคลงแทนซึ่งอาจส่งผลให้เหมือนใส่ไม่เข้าคับ ส่วนน๊อตยึดประกับ ผมจัดใหม่ เป็นเบอร์ 14 ยาวหนึ่งนิ้ว ตัวเมีย 12 ทั้งหมดสี่ชุด เพื่อร้อยประกับเข้าก่อนที่จะยกกันโคลงขึ้นใส่รถพร้อมล๊อกให้เรียบร้อย ทุกตัวตามปรกติคับ 10 เมื่อครบแล้วทุกชิ้นก็เป็นอันเสร็จ ขาใส่น๊อต ผมพยายามใช้มือขันทั้งหมด จะปลอดภัยมาก จิงมั้ยพี ^^ งานนี้ครั้งแรก ล่อไปเกือบ แปดชั่วโมงได้ ทั้งวิ่งอะไหล่ กินข้าว เทสไดรว์ เล่นบาส เล่นกับหมา ครบ กาลละครั้งนี้ ผลที่ได้ ซึ่งผมไม่ได้มีบททดสอบขนาดเป็นรูปแบบคลิป หรือ 3d อะไรมากมายขนาดนั้นที่จะนำเสนอ ซึ่งสมรรถนะรถที่ได้เป็นอย่างไร คงต้อง สอบถามกันไปอีกทีกับ รถของพีคับ ส่วนตัวผมนั่งข้างคนขับ ผลที่รู้สึกจับใจความได้ว่า ทันทีที่ขับสลาลอมไปมา ท้ายรถจะไม่แซงล้อหน้าง่าย ^^ ท้ายดื้อขึ้น เข้าใจว่าสามารถใช้ความเร็วที่โค้งกว้างได้ดี อารมณคล้ายได้สปริงหลังใหม่ ประมานนี้คับ บททดสอบจริงในสนามเป็นอย่างไรให้เจ้าของมาตอบเองละกัน เพราะสนามที่ใช้ในวันนี้ prakkasa circuit ก็ได้ผลที่ค่อนค่างดีคับ diy วันนี้ สวัสดีคับ
คราบบ ก่อนอื่นต้องขอบคุณท่านประธานคลับของเราเป็นอย่างมากๆ ถึงมากที่สุด ทั้งปรึกษา หาของ วิเคราะห์ ลงมือ โอยสาระพัด งานนี้เล่นเอาหน้ามืด ใครว่านอนทำงานจะสบาย ^^ บุญคุณนี้ไม่มีวันลืมเลือน ผลจากการใช้งานนั้น จากตอนใส่จนถึงตอนนี้เพียงแค่ 3 วัน จึงยังไม่สามารถที่จะรับรู้อะไรได้มากครับ ^^ ไม่ค่อยมีที่ให้ลองครับ กลัวว - - แต่จากการลองเบื้องต้นนั้น(ในความรู้สึกของผม) ผลที่ได้ การโคลงด้านหลังลดลงอย่างชัดเจน ล้อหน้ากับล้อหลังเหมือนจะไปพร้อมๆกัน จากเดิมที่รู้สึกว่าล้อพอหน้าเลี้ยวแล้วล้อหลังจะยังไม่ตามมาทันที พูดไปก็งงไป ^^" การเข้าโค้งด้วยความเร็วสูงมั่นใจมากขึ้นเยอะ โดยรวมแล้วตัวผมเองรู้สึกดีขึ้นเป็นอย่างมาก (ฝีมือประธานก็ดีแบบนี้แหล่ะ ^^ ) แต่ในตอนนี้ผมก็ยังตอบไม่ได้ว่า จะทำเวลาตอนเข้าโค้งในสนามได้ดีขึ้นมั้ย ^^ เอาเป็นว่า หลังจากสนามหน้า บททดสอบคงจะตอบได้ชัดเจนกว่านี้ แล้วผมจะมาเล่าต่อนะครับ เจอกันสนามหน้าครับพี่น้องง ^^
ร่วมทดสอบไปแล้วอีกหนึ่งคันนะคับ ผลที่ได้คือโค้งกว้างที่ความเร็วสูงได้ผลชัดเจน เช่น ทางด่วนเป็นต้น ส่วนบททดสอบโค้งแคบความเร็วต่ำแบบจิมคาน่า ไม่เห็นผลเพิ่มเติม ด้วยสนามอาจจะไม่มาตรฐาน (ทรายเยอะ) ใครที่กำลังสงสัยเรื่องแรงสั่นสะเทือน อันนี้ไม่เกี่ยวนะคับ ใส่แล้วความสามัคคีของตัวถังกะช่วงล่างสูงขึ้นเท่านั้น กะเทือนยังคงอยู่ที่ การบิดน้ำมันที่โช๊ค กับลมยางที่ใช้ ชัดเจนคับ ใครสนใจสรรหามาใส่ซะนะคับ ใส่ไม่เป็น ใส่ไม่ได้ ถือของมา น๊ะจ๊ะ^^
เคยได้ยินเหมือนกันครับ แล้วก็จะว่าไปแล้วก็มีโอกาดความน่าจะเป็นอยู่เหมือนกันเพราะเนื่อเหล็กบริเวนนั้นไม่ได้หนามากมายอะไร น๊อตที่ใช้ก็ยังเบอร์ 12 เหมือนเดิม ทั้งที่ผมคิดว่าน่าจะขยายความกว้างของจุดยึดน๊อตที่เบอร์เดิมมากกว่า ตรงนี้อาจจะเพิ่มเติมข้อมูลผู้ที่เคยใส่อีกที งานนี้มีสองทาง ระหว่างรอให้ฉีกกันไป แล้วตัดเหล็กส่วนนั้นออก เชื่อมใหม่ให้หนาขึ้น หรือ ใส่ซับเฟรมช่วยเข้าไป ก็เรียบร้อยแล้วหละครับ ภาพที่ได้มาพอจะมีข้อมูลแหล่งที่มามั้ย ว่ามาจากไหน เค้าทำยังไงถึงฉีก ถ้าเค้าบอกว่าเค้าใส่กันโครงอารแล้วฉีกก็ เสียเงินเพิ่มเติมซับเฟรมกันไป บ้านเราขายอยู่เยอะ^^ ก็เลือกซื้อหากันเอา ของใต้หวันสนนราคา 5000 ของคุน กอลฟ์si ก็มีขายเห็นลงไว้หมื่นไม่ทราบประเทศ ยังไงแวะมาอ่านก็บอกกล่าวกันนิด(นิดเดียวพอคับ) เผื่อว่าอนาคตใครถามว่า "ซับเฟรมใส่ไม่วะ สวยเหรอ เออไม่รู้มันของไรสาระมั้ง" จะได้ตอบได้ชัดเจนว่า ไว้ใส่กันโครงใหญ่ๆได้เนอะ
ครับ จากการใช้งานมาสองเดือนกว่าๆ ทั้งบนถนนในกรุงเทพที่ขรุขระ เหวี่ยงซ้ายขวาในสนาม ยังไม่พบอาการฉีกขาดใดๆ ของตัวถัง อย่างที่ประทานได้กล่าวไป โค้งความเร็วสูงนั้นมั่นใจขึ้นมาก ได้มีโอกาสลองเลี้ยวเกือบๆ เต็มกริปที่ความเ็ร็วประมาน 170 ถืิอว่าใช้ได้เลยทีเดียวครับ ของงี้ต้องลองดูครับผม ^^
ทำมาแล้ว ไม่เห็นดีอย่างที่บอกเลย โหห ใครไม่เชื่อ ไปลองหามาใส่ดูเองก็แล้วกัน ไม่อยากจะเล่า รีบๆหามาใส่ละ จะได้รู้ พูดจริงๆนะ
ขอเพิ่มเติมนิดครับ กันโคลงหลัง Civic Type R หรือ EK9 ที่ขายๆกันอยู่นั้นจะไม่มีอแดปเตอร์ยกขึ้นมาจากคานนะครับ ถ้าเห็นตัว EK9 มันจะยึดกับคานเลย มีหลายคนบอกว่าคาน EK9 หนากว่าของSi แล้วที่เคยมีคนบอกว่ามันฉีกๆนั้น ผมมองว่าเกิดจาก 1. เนื่องยึดกันโคลงหลังโดยตรงกับคานเลย ทำให้ไม่มีจุดกระจายแรง บางคนบอกถ้าจะใส่ต้องหาเหล็กแผ่นมารองก่อนเพื่อให้คานแข็งแรงขึ้น 2. จากการสังเกตุ ทั้งชุดกันโคลงหลังAOEที่ผมขาย กันโคลงSir หรือตัว ASR Subframe ที่ผมเคยขาย ทุกตัวจะยกกันโคลงหลังขึ้นจากคานประมาณ 1 นิ้ว ทั้งนั้น เนื่องจากมันจะทำให้ใส่กันโคลงได้ตำแหน่งที่ถูกต้องไม่ต้องมานั่งงัด อิอิ และพอมันยกขึ้นมาอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องคานก็เลยไม่ฉีก 555+ ASR Subframe นั้นผมเคยถามทางโรงงานเค้า(USAนะครับ ลองเข้าไปดูในเว็บได้จะเห็น Absolute Car Part เป็นตัวแทนอยู่) เค้าบอกสามารถใส่กันโคลงหลังได้ถึง 32 มิล เลย จะแข็งไปไหนเนี้ย ปล. สำหรับ DC2 นั้นผมไม่ค่อยมีข้อมูลครับ แต่ที่เห็นจากท่านดิวใส่ ก็จะมีตัวอแดปเตอร์ด้วย ผมว่าใส่ได้เลยไม่ฉีกหลอกครับ
ไปเดิน เชียงกง ได้ เหล็กกันโคลงหลัง ของ RNR มาใส่ดู เหล็กใหญ่กว่า ของ TYPE R แต่น้ำหนักเบากว่า (ลองยกดู) ใส่DC2 แล้ว เวลาเค้าโค้ง เจอ ถนนไม่เรียบพวกรอยต่อถนน จะรู้สึก ช่วงล้อหลังแน่นขึ้น โคลงน้อยลง เหมือนตอนขับมีคนนั่งข้างหลัง 2 คนประมาณนั้น ส่วนเรื่องฉีก นี่ยังไม่เห็น เพราะขับไม่โหด
จริงๆ แล้วกันโคลงหน้าDC บ้านเรากับ TypeR จะมีขนาดเท่ากันกับTypeR 96, 98สิ่งที่แตกต่างกันจะมีแต่กันโครงหลัง เท่านั้น ฟิลลิ่งที่แตกต่างกัน อย่างที่ข้างบนบอกมาแล้ว คือเวลาเปลี่ยนเร็วที่ความเร็วสูงๆ ท้ายจะไม่ย้วย ฮวบ ให้เสียขวัญกำลังใจ ในการยัดไลน์ต่อไป ถ้าโช๊คเรานุ่ม เราจะสัมผัสได้ถึงแรงดึง แรงดีดของเหล็กกันโคลงในขณะที่มันทำงาน จะทำให้รำคาญบ้าง แต่เมื่อเราได้โช๊คซิ่งมาใส่ จะทำให้เราสัมผัสถึงแรงดึงและแรงดีด น้อยลงไปมาก แต่กลับเป็นความรู้สึกที่แน่นหนัก ของตัวรถมากขึ้นมาแทน ฟิลลิ่งเพิ่มเติม เวลา U-Turn ออกตัวแรงๆ ก่อนเปลี่ยน ล้อหน้ามักจะเถ ดึงไม่ค่อยจะเข้า แต่เมื่อใส่กันโคลงหลังไทป์อาร์ มาแล้ว ทำให้ลดอาการหน้าเถ ลงไปได้เยอะ โดยที่รถจะถ่ายอาการ Slip มาที่ล้อหลังมากขึ้น ทำให้รถเถ ไปทั้งคัน สมมุติว่าจากเดิม เวลาU-Turn แรงๆๆๆ ล้อหน้าเถไป 90Cm หล้อหลัง 10Cm จะเหลือที่ หน้า 60Cm หลัง 40 Cm ทำให้รtถยะการเถน้อยลง ควบคุมรถง่ายขึ้น แค่ถอนคันเร่งช่วยหน่อย พวงมาลัยแทบไม่ต้องแต่ง อาการเถ นี้ก็จะหายไปทันที คล้ายๆสไตล์รถขับ4 เลยครับ ไม่ได้รู้อะไรมากหรอกครับ แค่เอาประสบการณ์ มาแชร์กันครับ ไม่เห้นด้วยก็ปล่อยผ่านไป เพราะเรื่องของความรู้สึกมัน สัมผัสได้ต่างกัน สไตล์การสไลด์รถก็ชอบต่างกันครับ บางคนพอรู้ว่าตูดมีออก กลับไม่ชอบเลยซะงั้น แต่ผมมองว่าออก แบบพอเหมาะ มันช่วยถ่ายน้ำหนักรถทิ้งไปได้เป็นอย่างดีเลยครับ เพราะหน้าออกผมไม่ชอบอย่างมาก ควบควมรถยากมาก จะไปแนบฟุตบาทท่าเดียว 555 + อ้างถึง ตอบกลับ