เป็นความจริงที่ว่า เจ้าของรถมักให้ความสำคัญกับการเลือกซื้อยางเป็นพิเศษ เพราะยางมีส่วนอย่างมากกับความปลอดภัยใน การขับขี่ ผู้ใช้รถจึงต้องการยางที่มีสมรรถนะในการยึดเกาะถนนได้ดีสามารถทนความร้อนและแรงเสียดทานได้แต่ในขณะเดียวกัน เจ้าของรถหลายรายยังคงมีความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการเลือกซื้อยาง อันมีสาเหตุมาจากการได้รับฟัง หรือได้อ่านเรื่องราวความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับอายุการผลิตยาง ทำให้เจ้าของรถในเมืองไทยจำนวนไม่น้อย คำนึงถึงวันผลิตที่อยู่บนแก้มยางหรือ DOT แทนที่จะให้ความสำคัญกับยางคุณภาพที่เหมาะกับประเภทรถและการใช้งาน จากการศึกษาและวิจัยจากหน่วยงานภาครัฐบาลและบริษัทชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศพบว่า แท้จริงแล้ว วันผลิตของยางไม่ได้มีผลกับสมรรถภาพของยางอย่างที่หลายคนเข้าใจ เพราะโดยปกติยางที่ผลิตออกมานั้น เมื่อมีการจัดเก็บที่ดีพอ เช่น การเก็บรักษาในอุณหภูมิที่เหมาะสมและยังไม่ได้เริ่มใช้งาน ก็จะสามารถเก็บยางเส้นนั้นๆ ได้เป็นเวลาหลายปีโดยไม่เสื่อมสภาพ ดังนั้นจะเห็นได้จากตัวอย่างหนึ่งของการทดสอบโดย กรมคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศเกาหลีใต้ เพื่อพิสูจน์ระดับความปลอดภัยในการใช้ยาง ระหว่างยางที่ผลิตใหม่และยางที่ผลิตย้อนหลังไปสามปี ( พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2550 ) ด้วยการทดสอบแบบ KSM6750 โดยเกี่ยวกับการขับขี่ด้วยความเร็วสูงและการขับขี่แบบหยุดเป็นระยะได้ผลลัพธ์ที่ออกมาพบว่า แม้วันที่ผลิตยางจะแตกต่างกัน แต่ประสิทธิภาพและสมรรถนะของยางไม่ต่างกัน นอกจากนี้ กรมคมนาคมของประเทศสหรัฐอเมริกา ยังเคยตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับ " ประสิทธิภาพของยางหลังเติมลมแล้ว ( The Pneumatic Tier )" ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 โดยระบุความร้อนที่เกิดขึ้นขณะที่ยางมีการใช้งาน คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้ยางเสื่อมสภาพ ยางรถยนต์ที่วิ่งด้วยความเร็ว 120 ก.ม.ต่อชั่วโมง สามารถทำให้เกิดอุณหภูมิที่หน้ายางสูงขึ้นถึง 75 องศาเซลเซียส แต่หากความดันในลมยางน้อยกว่าปกติ ( เช่นยางแบน )ก็จะยิ่งทำให้ความร้อนหน้ายางสูงมากกว่าที่ควรจะเป็นด้วย ดังนั้น อุณหภูมิในโกดังที่จัดเก็บยางรถยนต์ก่อนใช้งานจริงจึงมีผลต่อคุณภาพของเนื้อยางเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เมื่อเทียบกับความร้อนที่เกิดจากแรงเสียดสีเมื่อนำยางไปใช้ในการขับขี่จริง เพราะโดยทั่วไปนั้น ยางที่ยังไม่ได้ถูกนำไปใช้งาน สามารถเก็บได้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปีก่อนการใช้งานจริง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเก็บรักษาจากคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต อีกตัวอย่างหนึ่งที่ได้จากการทดสอบของประเทศในฝั่งยุโรป โดยองค์กร ADAC ซึ่งเป็นหน่วยงานเพื่อผู้ขับขี่รถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเยอรมนี ได้พิสูจน์เรื่องสมรรถนะของยางเอาไว้ในเดือน มิถุนายน 2553 โดยได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพยางรถยนต์ที่ผลิตใน พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2547 สำหรับการขับขี่ในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อน ซึ่งผลการทดสอบก็ไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่า ยางที่ผลิตใหม่จะมีสมรรถนะเหนือกว่ายางที่ผลิตมานานกว่า ขณะเดียวกัน ทางประเทศไทยเอง ก็มีหน่วยงานภาควิชาการที่ได้ทำการทดสอบในลักษณะเดียวกันโดย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ TUV Rheinland Group Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำหน้าที่ทดสอบและให้การรับรองคุณภาพแก่ผลิตภัณฑ์และสินค้าของบริษัทชั้นนำทั่วโลก มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศเยอรมนี ทำการทดสอบเพื่อหาข้อพิสูจน์ว่า ในสภาพแวดล้อมประเทศไทยนั้น สมรรถนะของยางที่ผลิตใหม่กับยางที่ผลิตมานานกว่าจะมีความแตกต่างกันในด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยหรือไม่ จึงได้นำยางรถยนต์ที่มีวันผลิตต่างกันหนึ่งปี ไปทดสอบการใช้งาน โดยขับขี่ด้วยความเร็ว 230 กิโลเมตรต่อชั่งโมง ในระยะเวลาที่ต่อเนื่องนาน 60 นาที ผลที่ได้จากการทดสอบพบว่ามีความแตกต่างไม่ถึงหนึ่งเปอร์เซนต์ รวมทั้งยังมีความสามารถสำหรับการบรรทุกและวิ่งเป็นระยะทางไกล ตลอดจนความแข็งแรงของหน้ายางและโครงสร้างยางไม่แตกต่างกัน ทั้งๆ ที่วันผลิตยางนั้นห่างกันถึงหนึ่งปี นอกจากนั้น TUV Rheinland Group Ltd. ยังได้ทำการทดสอบว่า วันที่ของการผลิตที่แตกต่างกันจะมีผลส่งต่อสมรรถนะของยางในด้านความสามารถในการเกาะถนน การควบคุมการขับขี่และการเบรคของยางหรือไม่ โดย TUV Rheinland Ltd. ได้ทำการทดสอบระยะเบรค ที่ความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจนกระทั่งหยุดนิ่ง ณ สนามแข่งรถ จ. ปทุมธานี ผลการทดสอบพบว่ายางที่มีวันที่ของการผลิตแตกต่างกันมีความสามารถในการเกาะถนน การควบคุมการขับขี่และเบรคใกล้เคียงกันมากจนแทบจะไม่มีความแตกต่าง นาย ชูเดช ดีประเสริฐกุล อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า " ยางที่มีวันผลิตต่างกันสองถึงสามปีจะให้สมรรถนะและประสิทธิภาพในการขับขี่ในระดับที่ไม่แตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ตาม ก็ต้องขึ้นอยู่กับการจัดเก็บรักษายางในร้านด้วยว่ามีการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสม รวนถึงไม่โดนแดด เพราะอาจจะทำให้หน้ายางมีความยืดหยุ่นน้อยลงและแข็งขึ้น ดังนั้น การเลือกซื้อยางในร้านที่เชื่อถือได้จึงมีความสำคัญ แทนที่จะคำนึงเรื่องวันเดือนปีที่ผลิตเป็นหลัก" "ส่วนความเชื่อที่ว่ายางรุ่นเดียวกันถ้ายิ่งผลิตใหม่ที่สุดก็จะทำให้ได้รับยางที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้นและมีมีวัตถุดิบที่ดีขึ้นก็ไม่ได้รับการยืนยันเพราะยางในแต่ละรุ่นนั้นจะมีการใช้วัตถุดิบและเทคโนโลยีเช่นเดียวกัน บางครั้งยางที่ผลิตก่อนอาจจะมีความเหนียวของยางมากกว่า ซึ่งทำให้การขับขี่มีสมรรถนะยิ่งขึ้น สำหรับคำแนะนำในการเลือกซื้อยางสำหรับผู้ขับขี่ชาวไทย คือ ต้องเลือกยางที่เหมาะสมกับการใช้งานและขนาดของล้อ ส่วนวันที่ผลิตนั้นไม่ถือเป็นสิ่งที่มีผลโดยตรงต่อการเสื่อมสภาพของยางแต่อย่างใด" นาย ชูเดช กล่าว สรุป ในการเลือกยางครั้งต่อไป อย่าเสียเวลาหรือกังวลไปกับการหาซื้อยางที่มีวันผลิตใหม่ที่สุด ควรจะหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยในการขับขี่ และการดูแลรักษายางอย่างสม่ำเสมอจะดีกว่า พิมพ์มาตั้งนานเห็นมีประโยชน์และเสริมความรู้ดี จึงนำมาฝากเพื่อนๆและน้องๆครับ ได้มาจากหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง หวังว่าคงเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยจะได้ไม่ต้องไปเถียงกัน ครับ สรุป ยางดี อายุการใช้งานนาน อยู่ที่การใช้และดูแลรักษา ครับ
ขอบคุณครับ แต่ก็ขึ้นอยู่กับวิถีเก็บของแต่ละร้านอีก บางร้านวางซ้อน ๆ ตั้งกัน ไม่อยากจะคิด ว่าเส้นล่างสุดจะเป็นยังไง
ดังนั้น เราไม่อาจรู้ว่าแต่ละร้าน เก็บรักษาดีหรือไม่ดีอย่างไร สรุป หาซื้อยางที่ปีใหม่ๆ ไว้ ก็เป็นดีครับ ^_______________^ อย่างน้อย มันก็ตากแดด หรือ โดนทับไม่นานมาก
สำหรับผม... ผมเลือกร้านใหญ่ เพราะมีการจัดเก็บที่ดีอากาศถ่ายเท ยางใหม่ส่วนใหญ่จะเก็บในแนวตั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงการรับน้ำหนักกดทับ และเช็คขนาดยางได้ง่าย แต่ถ้าวางซ้อนกันไม่เกิน 4 เส้น ผมว่าไม่น่ามีผลเท่าไร เพราะยางมีริมการ์ดแข็งแรงมาก ดูจากน้ำหนักรถของเราสิยังรับได้นี่ยังไม่รวมแรงกระแทกตอนใช้งานจริงนะ และอีกอย่างยังไม่ได้ เติมลมด้วย เนื้อยางยังไม่ได้รับการขยายตัว ผมเห็นส่วนใหญ่ก็มีอายุไม่เกิน 3 ปี นะ เพราะทางร้านเขาก็ต้องรับประกันเหมือนกัน ส่วนเพื่อนๆที่ได้ยางปีเก่าไม่เกิน 3 ปี ในราคาประหยัดร้านจัดเก็บดี ก็ขอแสดงความอิจฉา มา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ :D