คือผมอยากรู้ Specs เครื่องของ EVO 7-8-9 อะคับ รวมทั้งระบบขับเคลื่อน ช่วงล่าง อะคับจะเอาไปให้พ่อดูอะ แบบว่าอยากขับอะคับ ช่วยที่นะคับ
EVOLUTION VII EVOLUTION VII & EVOLTION VII GT – A 26 มกราคม 2001 จำกัดจำนวนผลิต 10,000 คัน เป็นครั้งที่ 2 ที่เปลี่ยนตัวถังใหม่โดยใช้พื้นฐานของแลนเซอร์ซีเดียมีขนาดตัวถังยาวขึ้นเป็น 4,455 มิลลิเมตร กว้าง 1,770 มิลลิเมตร สูง 1,450 มิลลิเมตร ระยะฐานล้อยาว 2,625 มิลลิเมตร ปรับปรุงให้แตกต่างจากรุ่นมาตรฐานหลายจุด เช่น ฝากระโปรงหน้าอะลูมิเนียมพร้อมช่องดังอากาศ การตกแต่งภายในยังคงบุคลิกสปอร์ตไว้เต็มพิกัด เครื่องยนต์ 4G63 ถูกปรับปรุงท่อทางเดินไอเสียเพื่อให้อากาศหลังการเผาไหม้ระบายออกสู่ปลายท่อดีขึ้น เพิ่มความกว้างให้กับอินเตอร์คูลเลอร์รีดกำลังสูงสุดออกมาได้ที่ 280 (PS) ที่ 6,500 รอบ / นาที แรงบิดสูงสุด 39.0 กก.- ม. 3,500 รอบ / นาที และยังคงส่งกำลังด้วยเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ รุ่น W5M51 ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อเปลี่ยนมาใช้ระบบ ACD (Active Center Differential) เป็นครั้งแรกในโลก แทนระบบ Viscous Coupling โดยใช้ระบบแรงดันไฮโดรลิกร่วมกับคลัตช์หลายแผ่นมั่นใจด้วยดิสก์เบรก 4 ล้อ 4 คาลิปเปอร์ พร้อม ABS ระบบกระจายแรงเบรก EBD (Electronic Controlled Brake Force Distribution System) พร้อมระบบลดความร้อนของจานเบรกและวาล์วปรับแรงดันน้ำมันเบรก PVC ( Presure Control Valve) ส่วนรุ่น GT-A เป็นรุ่นเกียร์อัตโนมัติรุ่นแรกในตระกูลอีโวลูชั่นนำเกียร์อัตโนมัติ 5 จังหวะ INVECS – II พร้อมโหมดบวก – ลบมาติดตั้งส่งผลให้กำลังสูงสุดของเครื่องยนต์บล็อกเดิมลดลงเหลือ 272 แรงม้า (PS) ที่ 6,500 รอบ / นาที แรงบิดเหลือ 35 กก.-ม. ที่ 3,000 รอบ / นาที อีกทั้งยังมีรายละเอียดการตกแต่งภายในและภายนอกต่างจากอีโวลูชั่น VII เล็กน้อย EVOLUTION VIII EVOLUTION VIII 28 มกราคม 2003 จำกัดจำนวนผลิต 5,000 คัน เป็นครั้งแรกที่มิตซูบิชิ มอเตอร์ส เริ่มส่งออกสายพันธ์ความแรงอีโวลูชั่นไปวาดลวดลายยังท้องถนนในดินแดนลุงแซม (สหรัฐอเมริกา) จุดประสงค์หลักของการปรับปรุงอีโวลูชั่น VIII พุ่งเป้าไปที่การยกระดับสมรรถนะที่ดีอยู่แล้วในอีโวลูชั่น VII ให้ดียิ่งขึ้น เริ่มจากขุมพลังรหัส 4G63 สูบ DOHC 16 วาล์ว 1,997 ซีซี พร้อมอินเตอร์คูลเลอร์และเทอร์โบถูกปรับปรุงรายละเอียดเล็กน้อย เพิ่มความทนทานของลูกสูบอะลูมิเนียม และก้านสูบแบบเหล็กหล่อ รวมทั้งเปลี่ยนใช้สปริงวาล์วน้ำหนักเบา เพื่อช่วยลดแรงเฉื่อยและแรงเสียดทานในการทำงานของชุดวาล์ว เวอร์ชั่นญี่ปุ่นยังคงแรงอยู่ที่ 280 แรงม้า (PS) ที่ 6,500 รอบ / นาที เพิ่มแรงบิดให้สูงขึ้น 40.0 กก. – ม. ที่ 3,500 รอบ / นาที โดยรุ่น GSR จะส่งกำลังด้วยเกียร์ธรรมดา 6 จังหวะ อัตราทดชิด (Close Ration ) รุ่น W6MAA พร้อมแหวนยกแป้นใต้หัวเกียร์ป้องกันการเข้าเกียร์ถอยหลังผิดผลาดเหมือนรถยุโรปบางรุ่น แต่รุ่น RS ยังคงติดตั้งเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ อัตราทดชิด Super Close Ration รุ่น W5M51 โดยมีเกียร์ 6 จังหวะจากรุ่น GSR ให้เลือกเป็นออฟชั่นพิเศษ สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงระดับ 9.7 กิโลเมตร / ลิตร โดยรุ่น RS ใช้ถังน้ำมันขนาด 55 ลิตร แต่ในรุ่น GSR เปลี่ยนขนาถังให้ใหญ่ขึ้นอีก 7 ลิตร เป็น 62 ลิตร ส่วนเวอร์ชั่นอเมริกันจำเป็นต้องลดพิกัดความแรงลงมาเพื่อให้ผ่านมาตรฐานมลพิษระดับ LEV1 - LEV ของมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ลงมาเหลือ 275 แรงม้า (PS) ที่ 6,500 รอบ / นาที แรงบิดสูงสุด 37.7 กก.-ม. ที่ 3,500 รอบ / นาที พ่วงกับเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ ไม่ว่าจะเป็นเวอร์ชั่นไหนจะถูกพ่วงเข้ากับระบบขับเคลื่อน 4 ล้อพร้อมระบบเพลากลาง ACD (Active Center Differential) ทำหน้าที่แทน Viscous Coupling โดยใช้ระบบแรงดันไฮโดรลิก ร่วมกับคลัตซ์หลายแผ่น เพื่อกระจายแรงบิดจากเครื่องยนต์ไปสู่ล้อคู่หน้าและหลังเท่าๆ กัน อีกทั้งผู้ขับขี่ยังเลือกการทำงานได้ 3 โหมดตามสภาพถนนคือ Tarmac / Gravel / Snow นอกจากนี้เฉพาะรุ่น GSR ยังเพิ่มระบบชุดเฟือง Super AYC (Active Yaw Control ) ติดตั้งใกล้เฟืองท้ายทำงานประสานกับระบบ ACD เพื่อเข้าโค้งได้ฉับไวและทรงตัวดีเมื่อเบรกกะทันหัน ระบบกันสะเทือนยกมาจากรุ่นเดิม หน้าแมคเฟอร์สันสตรัทหลังแบบมัลติลิงก์ พร้อมเหล็กกันโคลงหน้า – หลัง ถูกปรับปรุงจุดยึดต่างๆ เพื่อให้ช่วยลดการบิดตัว ส่งผลให้ยึดเกาะถนนดีขึ้น ระบบห้ามล้อเป็นดิสก์เบรกมีรูระบายอากาศทั้ง 4 ล้อ คู่หน้าเป็นแบบ 4 คาลิปเปอร์ส่วนคู่หลังมี 2 คาลิปเปอร์ ระบบป้องกันล้อล็อก ABS ถูกอัพเกรดขึ้นเป็นแบบ Sport ABS มีเซนเซอร์จับอาการล็อกล้อทั้ง 4 เพิ่มเซนเซอร์จับการหมุนของพวงมาลัยและหมุนเลี้ยวของล้อทั้ง เพื่อคำนวณหาแรงเบรกที่เหมาะสมของแต่ละล้อและสั่งการไปยังล้อข้างนั้น ๆ ส่วนระบบกระจายแรงเบรก EBD พร้อมระบบลดความร้อนของจานเบรกและวาล์วปรับแรงดันน้ำมันเบรก PVC (Pressure Control valve ) โครงสร้างตัวถังมีความยาว 4,490 มิลลิเมตร กว้าง 1,770 มิลลิเมตร สูง 1,450 มิลลิเมตร ระยะฐานล้อ 2,625 มิลลิเมตร กระจังหน้าทรงปิรามิดลายเอกลักษณ์ใหม่ของมิตซูบิชิกลืนเป็นช้อนเดียวกับกันชนหน้า เสริมการทำงานด้วยแผ่นปิดใต้ท้องเครื่องยนต์ช่วยให้การระบายอากาศเข้าสู่อินเตอร์คูลเลอร์ดีขึ้นกกว่าเดิม 10% และเพิ่มแรงกดให้กดให้กระแสลมบริเวณด้านหน้าทำให้อากาศไหลผ่านอย่างไหลลื่น ทั้งยังลดค่าสัมประสิทธิ์หลักอากาศพลศาสตร์ได้อีกด้วยสปอยเลอร์หลังหล่อขึ้นรูปจากพลาสติกผสมคาร์บอนไฟเบอร์ CFRP (Carbon Fiber - reinforced Plastic ) ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของรถยนต์ซีดานจากสายการผลิตบริษัทแม่โดยตรง ห้องโดยสารตกแต่งด้วยโทนสีดำเป็นหลัก แผงหน้าปัดตกแต่งคอนโซลด้วยสีน้ำเงินชุดมาตรวัดความเร็วจะเพิ่มตัวเลขให้เกินพิกัดความเร็วสูงสุดถึง 270 กิโลเมตร / ชั่วโมง แต่ยังจะมีระบบตัดการจ่ายเชื้อเพลิงเมื่อถึงความเร็ว 180 กิโลเมตร / ชั่วโมง ตามกฎหมายของญี่ปุ่นไว้เช่นเดิม EVOLUTION IX EVOLUTION IX อีโวลูชั่น 9 แบ่งออกเป็น 3 รุ่น คือ จีแอลเอส, อาร์เอส และรุ่นท็อปไลน์ เอ็มอาร์ (มิตซูบิชิ เรซซิ่ง) ลูกค้าสามารถเลือกการตกแต่งได้หลากหลายรูปแบบตามแต่รสนิยมความต้องการ รวมถึงการตกแต่งให้ใกล้เคียงกับตัวแข่งแรลลี่โลก WRC ให้มากที่สุดก็สามารถทำได้ อีโวลูชั่น 9 ใช้เครื่องยนต์ บล็อก 4 สูบเรียง 16 วาล์ว พ่วงเทอร์โบ-อินเตอร์คูลเลอร์เวอร์ชั่นล่าสุด โดยทำงานพร้อมกับระบบ Mivec ยกวาล์วผันแปรตามรอบเครื่องยนต์ ช่วยรีดพละกำลังได้สูงสุด 280 แรงม้า ที่ 6,500 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 390 นิวตัน-เมตร มาที่รอบต่ำเพียง 3,500 รอบ/นาที ระบบส่งกำลังใช้แบบเกียร์ธรรมดา 5 สปีดในรุ่นจีแอลเอสและอาร์เอส ซึ่งได้รับการปรับปรุงอัตราทดให้ถ่ายเทแรงบิดได้ไหลลื่นยิ่งขึ้น ขณะที่อัตราทดในเกียร์สูงสุดก็ได้รับการพัฒนาเพื่อการใช้ความเร็วสูง ในส่วนของรุ่นเอ็มอาร์ ใช้ระบบเกียร์ธรรมดาแบบ 6 สปีด ในส่วนของช่วงล่างได้รับการปรับแต่งให้แน่นปึ๊กสไตล์แรลลี่ ช็อกอัพใช้ของบิลสไตน์ ระบบขับเคลื่อนเป็นแบบ ออลวีลไดรฟ์ ตะกุยสี่ล้อตลอดเวลา ซึ่งจะมาพร้อมกับระบบควบคุมแรงบิด ACD ปรับเปลี่ยนได้ 3 โหมด สำหรับสภาพถนนแบบ ฝุ่นกรวด, ลาดยาง และพื้นหิมะ ขณะที่ระบบเบรกใช้ของเบรมโบ คอยคุมฝูงม้าไม่ให้พยศเกินความจำเป็น รูปโฉมภายนอกดีไซน์ใหม่ โดยมีจุดประสงค์เพื่อ สร้างแรงกดตามหลักแอโรไดนามิกส์ และเพื่อระบายความร้อนจากเครื่องยนต์ได้ดียิ่งขึ้น ในส่วนของล้ออัลลอย ถือว่า เป็นหนึ่งในไฮไลต์ของอีโวลูชั่น แทบทุกรุ่น สำหรับ "อีโว 9" ใช้ล้อของเอนไก อะลูมิเนียมอัลลอยน้ำหนักเบา ขนาด 17 นิ้วหุ้มด้วยยางขนาด 235/45 R17 ของโยโกฮาม่า แอดวาน เกาะถนนเหนียวแน่นหนึบ การตกแต่งภายใน ทางมิตซูบิชิเน้นให้ถอดแบบมาจากตัวแข่งแรลลี่ให้มากที่สุด เบาะที่นั่งบั๊กเก็ตซีทของสปาร์โก หุ้มด้วยอัลคันทาร่าและหนังแท้ โอบกระชับและนั่งสบาย พวงมาลัยสามก้านทรงซิ่งสีไทเทเนี่ยมของโมโม แป้นเหยียบอะลูมิเนียมกันลื่น ส่วนแผงข้างประตู และคอนโซลใช้วัสดุคาร์บอนไฟเบอร์ ก๊อบมาอีกทีครับ