เรื่องน่ารู้สำหรับคลับเรานะครับ

การสนทนาใน 'DNA Racing Club' เริ่มโดย TK RACING, 12 เมษายน 2006

< Previous Thread | Next Thread >
  1. TK RACING

    TK RACING New Member Moderator

    1,163
    8
    0
    โดยธรรมชาติของสารเคมีที่นำมาประกอบเป็นสีนั้นจะสามารถต้านทานและคงทนต่อสภาพแวดล้อม หรือความผันแปรของภูมิอากาศได้ดีในระดับหนึ่งเท่านั้น หากการบำรุงไม่ดีพอ หรือไม่ถูกวิธีแต่จะทำให้สีของรถคุณหมดอายุ และหมดความเงางามเร็วยิ่งขี้น ข้อควรระวังเพื่อการรักษาสีรถมีดังนี้

    1.ไม่ควรจอดรถไว้ใกล้ๆ กับโรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยสารเคมีบางอย่างออกมา เช่น โรงงานผลิตอาหารสัตว์ โรงงานผลิตสารเคมี เพราะฝุ่นละอองจากอาหารสัตว์หรือสารเคมี ที่ปลิวมาติดผิวสีของรถอาจจะเป็นกรดหรือด่างเข้มข้นสามารถกัดสีให้เป็นจุดเป็นดวงได้หรือทำให้สีอ่อนตัวลงได้

    2.ควรพยายามจอดรถในที่ร่มหรือที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก พื้นไม่อับชื้น หากจำเป็นต้องจอดกลางแดดควรใช้ผ้าคลุมกันแดดไว้

    3.เมื่อขับรถผ่านบริเวณที่มีฝุ่น โคลน หรือชายทะเลเป็นเวลานานๆ ควรล้างฝุ่น โคลนหรือคราบต่างๆออกให้หมดเพราะคราบเหล่านี้ สามารถดูความชื้นได้ดี จึงทำให้ฝิวสีเสื่อมคุณภาพได้ง่าย และบางครั้งสิ่งสกปรกที่เกาะติดผิวสีรถก็เป็นสารเคมีที่ทำอันตรายต่อสีรถด้วย

    4.อย่าทำให้รถเกิดรอยขีดข่วนหรือหลุดร่อนเพราะจะทำให้ตัวรถผุและจะลามออกเป็นบริเวณกว้างทั้งนี้เพราะรอยขีดข่วนจะไม่สามารถป้องกันความชื้นระหว่างผิวสีกับผิวโลหะได้

    5.หากมีคราบน้ำมันหรือสารเคมีต่างๆ เปื้อนผิวสี ต้องรีบล้างออกทันที โดยใช้ผ้าชุบน้ำสะอาด หรือ ผสมสบู่อ่อนๆ หรือ แชมพูสำหรับล้างรถก็ได้ ห้ามใช้ทินเนอร์ น้ำมัน หรือ สารเคมีใดๆ ทำความสะอาดสีรถโดยเด็ดขาด สารเคมีที่มีโอกาสจะถูกสีรถได้ง่ายก็คือ น้ำมันเบรกซึ่งจะกัดสีในทันทีที่สัมผัสกับสีรถ การใช้จึงต้องระวังเป็นพิเศษ นอกจากนี้น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่น และ น้ำหอมประจำรถก็มีผลต่อสีรถเช่นกัน หากหกเลอะรถควรรีบใช้ผ้านุ่มที่สะอาดเช็ดออกโดยเร็วและล้างด้วยน้ำ



    6.สิ่งที่สำคัญที่สุดเพื่อเป็นการปกป้องสีรถของคุณให้ใหม่สวยงามอยู่เสมอ และปกป้องสิ่งที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถของคุณดังที่กล่าวมาลำดับต้นๆ คือควรจะเคลือบสีทุกๆครั้งหลังจากการล้างรถ เพื่อป้องกันสิ่งต่างๆที่จะมาทำลายสีรถของคุณ และประหยัดค่าใช้จ่ายในการขัดเคลือบสีซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายมากกว่าการเคลือบสีครับ


     
  2. oat_dna

    oat_dna Active Member Moderator

    2,715
    8
    38
    ความรู้แน่น อีกแล้วพี่ตู.....
     
  3. TK RACING

    TK RACING New Member Moderator

    1,163
    8
    0
    แน่นมากคนหล่อแถมเก่งไม่มีอีกแล้ว
     
  4. num_dna_01

    num_dna_01 New Member Moderator

    526
    4
    0
    สุดยอดดดดดดดดดดดดดดดด
     
  5. TK RACING

    TK RACING New Member Moderator

    1,163
    8
    0
    หายไปไหนว่ะเมิงสาดหรือว่าไม่รักวีออส แล้วฮ่าๆๆระวังรถเค้าน้อยใจนะเว้ย
     
  6. chang

    chang Well-Known Member Member

    4,985
    57
    48
    ดี มาก มาก ครับ ความรู้ ทั้งนั้น
     
  7. oat_dna

    oat_dna Active Member Moderator

    2,715
    8
    38
    เอามาลงอ่านกันมั้งนะ.....อิอิ
     
  8. TK RACING

    TK RACING New Member Moderator

    1,163
    8
    0
    เด๋วจะหามาอีกคับ
     
  9. oat_dna

    oat_dna Active Member Moderator

    2,715
    8
    38
    ความรู้ๆๆ เต็มไปหมด
     
  10. num_dna_01

    num_dna_01 New Member Moderator

    526
    4
    0
    N_num

    พอจะขายน้องอ๊อดกูไม่พังเลยวะ ทีไม่ขายนะพังเอาๆๆๆ ไม่เข้าใจจิงๆๆ
     
  11. oat_dna

    oat_dna Active Member Moderator

    2,715
    8
    38
    มันคงไม่อยากไปมั้งอ่า.....
     
  12. num_dna_01

    num_dna_01 New Member Moderator

    526
    4
    0
    ความรู้ใหม่สำหรับถ่ายรูปแต่งงาน ลำบากใช่เล่นเลย
     
  13. oat_dna

    oat_dna Active Member Moderator

    2,715
    8
    38
    งั้นก้อไม่ต้องแต่งจะได้ไม่ลำบาก...อิอิ
     
  14. oat_dna

    oat_dna Active Member Moderator

    2,715
    8
    38
    สาระน่ารู้ : ระบบเบรก

    รถยนต์ไม่เพียงแต่ต้องพัฒนาให้แรงเร็วและดูแลให้ทะยานไปได้ ระบบเบรกก็ต้องเยี่ยม และได้รับการดูแล ควบคู่กันเสมอ แล่นได้ก็ต้องหยุดได้

    ระบบเบรก - BRAKE
    ประกอบด้วยอุปกรณ์หลักอย่างน้อยดังนี้ คือ แม่ปั๊มบน-ตัวสร้างแรงดัน ท่อโลหะและ ท่ออ่อน กระบอกเบรกที่ล้ออย่างน้อยล้อละ 1 กระบอก ผ้าเบรก และจานเบรก (ดิสก์) หรือดุมเบรก (ดรัม) แล้วค่อยมีการพัฒนาเสริมอุปกรณ์อื่นเข้ามา เช่น แม่ปั๊มบนตัวเดียวแต่แบ่งเป็น 2 วงจรภายใน เป็นล้อหน้า-หลัง หรือทแยงหน้าซ้าย-หลังขวา หน้าขวา-หลังซ้าย เพื่อเพิ่มความปลอดภัยเมื่อระบบย่อยหนึ่งบกพร่องจะได้ยังเหลือแรงเบรกอยู่บ้าง, หม้อลมเบรกช่วยผ่อนแรงในการกดแป้นเบรก โดยการใช้แรงดูดสุญญากาศที่จากท่อไอดี ของเครื่องยนต์มีหลายขนาดเล็กหรือใหญ่ไปก็ไม่ดี, วาล์วปรับแรงดันน้ำมันเบรก ติดตั้งต่อจากแม่ปั๊มเบรกตัวบนก่อนที่น้ำมันเบรกจะถูกส่งไปยังล้อต่าง ๆ ช่วยให้แรงดัน น้ำมันเบรกกระจายไปอย่างเหมาะสม, เพิ่มจำนวนกระบอกเบรกเพื่อเพิ่มแรงกดที่ผ้าเบรก, เพิ่มขนาดจาน-ดุมเบรก พร้อมเพิ่มพื้นที่ของผ้าเบรกให้สามารถสร้างแรงเสียดทานได้มากขึ้น, เอบีเอส ป้องกันการล็อกของล้อ ฯลฯ
     
  15. oat_dna

    oat_dna Active Member Moderator

    2,715
    8
    38
    แม่ปั๊มเบรก
    ทำหน้าที่รับแรงดันน้ำมันเบรกที่ถูกดันมาเพื่อดันลูกสูบเบรกภายในกระบอกแล้วไปกด ผ้าเบรก มีอย่างน้อย 1 กระบอก 1 ลูกสูบ (POT) ต่อ 1 ล้อ ภายในประกอบด้วยลูกสูบ พร้อมลูกยาง หรืออาจมีสปริงด้วย การมีขนาดของกระบอกเบรกใหญ่หรือจำนวน กระบอกเบรก ต่อ 1 ล้อมาก ๆ (2-4 POT) จะทำให้มีแรงกดไปสู่ผ้าเบรกมากขึ้น แต่ก็ต้องใช้แม่ปั๊มตัวบนที่รองรับกันได้ดีด้วย
    อาการเสีย คือ ไม่สามารถรับแรงดันจากลูกยางหมดสภาพได้ จนไม่สามารถดันลูกสูบเบรก ออกไปได้เต็มที่ หรือน้ำมันเบรกรั่วซึมออกมา และเสียทั้งตัวลูกยางพร้อมตัวกระบอกเป็นรอย การซ่อมจึงมีทั้งแบบเปลี่ยนเฉพาะลูกยางและชุดซ่อมหรือเปลี่ยนทั้งตัว
     
  16. oat_dna

    oat_dna Active Member Moderator

    2,715
    8
    38
    ดิสก์ / ดรัม
    มีลัษณะเป็นจานแบนกลม มีผ้าเบรกแผ่นแบนติดตั้งอยู่รวมกับชุดก้านเบรก (คาลิเปอร์) แล้วเสียบคร่อมประกบจานเบรกซ้าย-ขวา ถ้ามองจากภายนอกทะลุ กระทะล้อเข้าไป จะเห็นป็นจานโลหะเงาเพราะถูกผ้าเบรกถูทุกครั้งที่เบรก และมีชุดก้านเบรกคร่อมอยู่ ด้านใดด้านหนึ่ง เมื่อเบรกจะมีการบีบผ้าเบรกเข้าหากัน ดันเข้ากับตัวดิสก์ ต่างจากแบบดรัมที่เเบ่งตัวผ้าเบรกออกโดยเปรียบเทียบง่าย ๆ คือ คนเป็นกระบอกเบรก มีผ้าเบรกอยู่ที่ฝ่ามือ ทำแขนเหมือนกำลังยกมือไหว้แต่ไม่ชิดสนิทกันมีแผ่นกลม หมุนแทรกอยู่ระหว่างมือเมื่อมีการเบรกก็ประกบฝ่ามือเข้าหากัน

    ดิสก์เบรกมีจุดเด่นคือ ประสิทธิภาพสูงแม้จะมีพื้นที่สัมผัสของผ้าเบรกแคบกว่าแบบดรัมในขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง เท่ากัน ทำงานฉับไว ควบคุมระยะห่างและหน้าสัมผัสของผ้าเบรกกับตัวดิสก์ได้ดี โดยไม่ต้องปรับตั้ง ไม่อมฝุ่นเพราะทำความสะอาดตัวเองได้ดี ไล่น้ำออกจากตัวดิสก์ และผ้าเบรกได้เร็ว แต่มีจุดด้อยที่ไม่สามารถนับเป็นจุดด้อยได้เต็มที่นัก เพราะได้ใช้กัน แพร่หลายไปแล้ว คือ ต้นทุนสูง ผ้าเบรกหมดเร็วโดยมีรายละเอียดย่อยออกไปอีกเช่น มีการพัฒนาการระบายความร้อน เพราะยิ่งผ้าเบรกหรือตัวดิสก์ร้อนก็ยิ่งมีแรงเสียดทาน ต่ำลง หรือผ้าเบรกไหม้ ด้วยการทำให้พื้นที่ของจานเบรกสัมผัสกับอากาศมีการถ่ายเทกันมากขึ้น โดยการผลิตเป็นจานหนา แล้วมีร่องระบายความร้อนแทรกอยู่ตรงกลาง เสมือนมีจาน 2 ชิ้น มาประกบไว้ห่าง ๆ กัน โดยรถยนต์ในสายการผลิตส่วนใหญ่นิยมใช้ระบบดิสก์แบบ มีครีบระบายล้อหน้า เพราะเบรกหน้ารับภาระในการเบรกมากกว่า ส่วนการเจาะรู และเซาะร่อง มักนิยมในกลุ่มรถยนต์ตกแต่งหรือรถแข่ง เพราะสร้างแรงเสียดทานได้สูง แต่กินผ้าเบรกและแค่มีครีบระบายก็เพียงพอแล้ว

    ส่วนการขยายขนาดของดิสก์เบรกให้มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการเบรก เพราะสามารถเพิ่มพื้นที่ของผ้าเบรกพร้อมใช้ก้ามเบรกให้ใหญ่ขึ้นได้ ซึ่งมีการระบายความร้อนดีขึ้นจากพื้นที่สัมผัสอากาศที่มากขึ้น นับเป็นหลักการที่เป็นจริง แต่ในการใช้งาน มักมีขีดจำกัดที่ตัวดิสก์และก้ามเบรกต้องไม่ติดกับวงในของกระทะล้อ
    รถแข่ง หรือรถยนต์ที่ใช้กระทะล้อใหญ่ ๆ จึงจะเลือกใช้วิธีขยายขนาดของดิสก์เบรกนี้ได้

    นับเป็นเรื่องปกติที่ระบบดิสก์เบรกมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใกล้เคียงกับระบบดรัมเบรก ทั้งที่มีพื้นที่หน้าสัมผัสของผ้าเบรกน้อยกว่า ด้วยจุดเด่นข้างต้น ระบบดิสก์เบรกจะให้ ประสิทธิภาพในการเบรกสูงกว่าดรัมเบรก ตัวดิสก์และดรัมเบรกผลิตจากวัสดุเนื้อแข็งกว่า ผ้าเบรกเพื่อความทนทาน แต่ก็ยังมีการสึกหรอจนไม่เรียบขึ้นได้ เพราะผ้าเบรกก็มีความแข็ง พอสมควร จึงกัดกร่อนตัวดิสก์หรือดรัมเบรกได้ เมื่อผ้าเบรกหมด ไม่ใช่สูตรสำเร็จว่า ต้องเจียร์เรียบตัวดิสก์หรือดรัมเบรกทุกครั้งตามสไตล์ช่างไทยที่ต้องการเงินเพิ่ม เพราะต้องดูว่ายังเรียบร้อยพอไหม ถ้าเป็นรอยมากค่อยเจียร์เพราะดิสก์หรือดรัมเบรก มีขีดจำกัดในแต่ละรุ่นว่าต้องไม่บางเกินกำหนดเจียร์มาก ๆ ก็เปลืองและถ้าไม่เรียบ ก็จะทำให้ผ้าเบรกสัมผัสได้ไม่สนิท

    การเลือกติดตั้งระบบเบรกของผู้ผลิตรถยนต์ในแต่ละล้อ มีหลักการพื้นฐาน คือ ประสิทธิภาพของระบบเบรกล้อคู่หน้าต้องดีกว่าล้อหลังเสมอ เพราะเมื่อมีการเบรก น้ำหนักจะถ่ายลงด้านหน้า ล้อหลังจะมีน้ำหนักกดลงน้อยกว่า ระบบเบรกหน้าจึงต้อง ทำงานได้ดีกว่า มิฉะนั้น เมื่อกดเบรกแรง ๆ หรือเบรกบนถนนลื่น อาจจะเกิดการปัดเป๋ หรือหมุนได้เสมือนเป็นการดึงเบรกมือ ดังนั้น ถ้าอยากจะตกแต่งระบบเบรกเพิ่มเติม ก็ต้องเน้นว่าประสิทธิภาพของเบรกหลังต้องไม่ดีกว่าเบรกหน้า กลุ่มที่เปลี่ยนเฉพาะ จากดรัมเบรกหลังเป็นดิสก์ โดยไม่ยุ่งกับดิสก์เบรกหน้าเดิม ต้องระวังไว้ด้วย

    รถยนต์ในอดีตเลือกติดตั้งระบบดรัมเบรกทั้ง 4 ล้อ แล้วจึงพัฒนามาสู่ดิสก์เบรกหน้า ดรัมเบรกหลัง และสูงสุดที่ดิสก์เบรก 4 ล้อแต่ก็ยังยึดพื้นฐานเดิมคือ เบรกหน้าต้องดีกว่า เบรกหลังเสมอ แม้จะเป็นดิสก์เบรกทั้งหมดแต่ดิสก์เบรกหน้ามักมีขนาดใหญ่กว่า มีครีบระบายความร้อน มีผ้าเบรกขนาดใหญ่ และมีแรงกดมาก ๆ จากกระบอกเบรก ขนาดใหญ่ โดยดิสก์เบรกหลังมักจะเป็นแค่ขนาดไม่ใหญ่นัก ไม่มีครีบระบาย มีผ้าเบรกขนาดไม่ใหญ่ และมีแรงกดไม่มากจากกระบอกเบรกขนาดเล็กเพื่อมิให้มีประสิทธิภาพสูงเกินเบรกหน้า
     
  17. oat_dna

    oat_dna Active Member Moderator

    2,715
    8
    38
    ผ้าเบรก
    เป็นผ้าเบรกเกรดพิเศษ ซึ่งถูกผลิตเพื่อรองรับรถยนต์สมรรถนะสูงจัดจ้าน- รถแข่ง เหมาะกับการใช้ความเร็วสูง หรือมีความร้อนสะสมที่ผ้าเบรกจากการเบรกถี่ ๆ เนื้อของผ้าเบรคเกรดนี้มักมีการผสมผงโลหะไว้มากบางรุ่นเกือบจะเป็นโลหะอ่อน เช่น เป็นทองแดงผสมเกือบทั้งชิ้น การใช้งานในเมืองด้วยความเร็วต่ำ จำเป็นต้องมี การอุ่นผ้าเบรกเกรด R ให้ร้อนก่อน และเบรกหยุดได้ระยะทางยาวกว่าผ้าเบรกเนื้อนิ่มเกรด S-M ส่วนในช่วงความเร็วสูง ร้อนแค่ไหนก็ลื่นหรือไหม้ยาก ผ้าเบรกเกรดนี้ ไม่ค่อยเหมาะ กับรถยนต์ที่ใช้งานทั่วไป ยกเว้นพวกรถสปอร์ต หรือรถยนต์ที่มีสมรรถนะสูงจัดจ้านจริง ๆ เพราะไม่เหมาะกับการใช้งานด้วยความเร็วต่ำ ซึ่งลื่นกว่าผ้าเบรกเกรด S อีกทั้งยังมีราคาแพงกว่าผ้าเบรกเกรด S-M ไม่น้อยกว่า 3-5 เท่าด้วย

    ในการจำหน่ายจริงมักไม่มีการแบ่งผ้าเบรกเกรด S-M-R อย่างชัดเจนไว้บนข้างกล่อง ในการเลือกใช้จึงต้องเลือกด้วยการสอบถามระดับของผ้าเบรกในยี่ห้อที่สนใจ ซึ่งมักระบุเพียงว่าเบรกรุ่นนั้นทนความร้อนสูงกว่าอีกรุ่นหนึ่งในยี่ห้อเดียวกันหรือไม่ หรือดูช่วงตัวเลขของค่าความร้อนที่ผ้าเบรกชุดนั้นสามารถทำงานได้ดี เช่น ผ้าเบรก เกรด S-M ทำงานได้ดีตั้งแต่ 0-20 องศาเซลเซียสขึ้นไป ในขณะที่ผ้าเบรกเกรด R มักมีค่าความร้อน เริ่มต้นที่ 50-100 องศาเซลเซียสขึ้นไป อันหมายถึงการใช้งานในช่วงความร้อนต่ำไม่ดีนั่นเอง ควรเลือกเกรดผ้าเบรกให้ตรงลัษณะการใช้งานอย่างรอบคอบ และโดยทั่วไปเกรด M น่าสนใจที่สุดเพราะคงประสิทธิภาพการเบรกช่วงความเร็วต่ำไว้ใกล้เคียงกับเกรด S แต่รองรับความเร็วสูงดีกว่า และราคาไม่แพง ราคาจริงของผ้าดิสก์เบรก 2 ล้อ (4 ชิ้น) เกรด S-M สำหรับรถยนต์เกือบทุกรุ่น ตั้งแต่ซิตี้คาร์ยันสุดหรูไม่แตกต่างกันมากนัก 800-2,000 บาท คือราคาพื้นฐาน ส่วนดรัมเบรก 2 ล้อ ไม่น่าเกิน 1,000 บาท (ไม่รวมค่าแรงในการเปลี่ยน
     
  18. ae100

    ae100 New Member Member

    1,495
    3
    0
    ยาวไปปะเนี่ย
     
  19. oat_dna

    oat_dna Active Member Moderator

    2,715
    8
    38
    อยากมีความรู้ก้อต้องอ่าน
     
  20. ae100

    ae100 New Member Member

    1,495
    3
    0
    มิงอะอ่านหรือยัง
     
  21. TK RACING

    TK RACING New Member Moderator

    1,163
    8
    0
    ทำไมไม่ไปรวมก่ะ อันที่ติดหมุดอ่ะ
     
  22. ae100

    ae100 New Member Member

    1,495
    3
    0
    ก้อคนมานโง่อะ
     
  23. sukanin

    sukanin New Member Member

    19
    2
    0
    เอามาฝาก

    สำหรับชาวกระโปรงดำที่ต้องการจดทะเบียนเปลี่ยนสีรถเป็นทูโทนทั้งหลาย โปรดฟังทางนี้..
    คำแนะนำคือ
    - ไปแต่เช้าๆ เพราะช่วงนี้มีรถไปขอจดทะเบียนแจ้งเปลี่ยนเชื้อเพลิงจากน้ำมัน เป็น น้ำมัน+แก็ส กันเยอะมากๆ เรียกว่าคิวยาวแต่เช้า ผมไปถึงขนส่งเขตบางจาก พระโขนงตอน 8.30 เห็นรถต่อคิว 2 แถว ต่อกันรอเข้าสตรวจสภาพรถ แม้ว่าเราจะแจ้งแค่เปลี่ยนสีรถ ก็ต้องเข้าไปตรวจสภาพจากกรมขนส่งเท่านั้น!!! ไม่สามารถไปตรวจที่ ตรอ. เหมือนตอนต่อภาษีได้
    - แนะนำว่าไปกันสัก 2 คนได้ก็จะดี คนหนึ่งขับไปรอคิวไว้เลย อีกคนไปขอพวกเอกสารคือ แบบคำขอแก้ไขเพิ่มเติมรายการในทะเบียนรถ โดยติดต่อขอได้ที่เคาร์เตอร์ประชาสัมพันธ์
    - เตรียมเอกสารรถเราให้พร้อม คือ 1. สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของรถ 2.สำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของรถ 3.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของรถ และถ้ากรณีไม่ใช่เจ้าของรถ ก็ให้ทำหนังสือมอบอำนาจ เซ็นต์มาให้เรียบร้อย (เซ็นสำเนาเอกสารเจ้าของรถมาให้เรียบร้อย) และสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ และไปติดต่อชั้น 2 ซื้อากรแสตมป์ 10 บาทมาติด ที่หนังสือมอบอำนาจ และที่สำคัญลืมไม่ได้คือ เล่มทะเบียนรถ และ ***ใบเสร็จ หรือบิลเงินสดค่าทำสีรถ อย่างของผมฝากระโปรงดำ ไม่ได้เตรียมบิลไป เจ้าหน้าที่่กระซิบๆว่า ให้ไปซื้อบิลเงินสดลงค่าทำสีรถมา และที่สำคัญอีกอย่างคือบิลเงินสดต้องลงวันที่ไม่เกิน 7 วันที่มายื่นเรื่องเท่านั้น ถ้าเกินกว่านั้นจะโดนค่าปรับประมาณ 200 บาท ส่วนบิลเงินสดถ้าใครไม่ได้เตรียมไป ก็ลองไปถามๆพวกร้านค้าหรือร้านถ่ายเอกสารแถวขนส่งนั้นๆดูนะครับ มาเขียนเอา
    -กรอกเอกสารเสร็จแล้ว ไปต่อคิวรอตรวจสภาพตามคิว จะมีเจ้าหน้าที่คอยโบกๆ รถติดรอบตึกขนส่งเป็นวงกลมเลย Smiley และไปถึงจุดตรวจ เปิดฝากระโปรงไว้ให้เจ้าหน้าที่มาขูดเลขตัวถังรถ ไม่ต้องเปิดกระโปรงหลังเหมือนรถแก็สนะครับ เหอๆ บอกเจ้าหน้าที่เค้าเลยว่าแค่มาแจ้งเปลี่ยนสีรถ
    - หลังเจ้าหน้าที่ขูดเลขเสร็จ จะให้เอาเอกสารใบคำขอไปยื่นที่เคาร์เตอร์แถวๆนั้น แล้วรอเค้าเรียก ตรงจุดนี้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
    -ได้ เอกสารจากฝ่ายตรวจสภาพเสร็จแล้ว เค้าจะให้ขึ้นไปติดต่อชั้น 2 ที่ฝ่ายรับเรื่อง ไปยื่นเอกสารทั้งหมดที่ผมบอก แนบไปทั้งหมดที่่เคาร์เตอร์รับเอกสาร(อย่าลืมบิลหรือใบเสร็จค่าทำสีแนบไป ด้วย แล้วก็ซื้ออากรแสตมป์ติดที่ใบเสร็จด้วย ผมจำไม่ได้แล้ว 1 บาทหรือ 5 บาท ) แล้วรอเรียกจากเจ้าหน้าที่
    - เสียค่าธรรมเนียมอีก 55 บาท เป็นอันเสร็จเรียบร้อย โรงเรียนขนส่ง Smiley เบ็ดเสร็จใช้เวลาตั้งแต่ 8.30-11.00 พอดี
    ใคร จะไปแจ้งช่วงนี้ทำใจหน่อยครับ คิวยาว คิดว่าน่าจะเป็นทุกขนส่ง เพราะคนติดแก็สแห่กันมาจด เลยต้องไปแจมกับเค้า แต่ใครกำลังจะจด ก็วางแผนให้ดีๆครับ ทำให้เสร็จๆไปทีเดียวเลย ไปทั้งที ครึ่งวัน เอาให้คุ้ม กินข้าวไปให้อิ่มๆ ถ่ายเอกสารไปให้พร้อม จะได้ไม่เสียเวลาแบบผม
     
  24. TK RACING

    TK RACING New Member Moderator

    1,163
    8
    0
    ดีครับพี่
     
  25. oat_dna

    oat_dna Active Member Moderator

    2,715
    8
    38
    ความรู้ๆ มาบริโภคกันซะ
     
  26. tu_dna09

    tu_dna09 New Member Member

    711
    2
    0
    ขอบคุณครับ อืม แล้วใครจะไปทำกับผมเนี้ย กระโปงหน้าดำอยู่คันเดียว????
     
  27. ae100

    ae100 New Member Member

    1,495
    3
    0
    ก้อไปคนเดียวดิ
     
  28. TK RACING

    TK RACING New Member Moderator

    1,163
    8
    0
    เด๋วเอาฟามาใส่กระโปรงจะได้ไปด้วยกาน
     
  29. ae100

    ae100 New Member Member

    1,495
    3
    0
  30. TK RACING

    TK RACING New Member Moderator

    1,163
    8
    0
    เรคกูเรต

    เรกกูเรเตอร์
    หรือ ตัวควบคุมแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดในระบบเชื้อเพลิง
    โดยมีหน้าที่ควบคุมแรงดันน้ำมันที่ดูดมาจากถังน้ำมัน ปั้มน้ำมันหรือปั้มติ๊ก แล้วถูกส่งไปยังท่อน้ำมัน
    แล้วผ่านระบบกรองน้ำมันหรือ กรองเบนซิล จึงไหลเข้าสู่รางหัวฉีดแล้วจึงจะไหลผ่านเจ้า เรคกูเรเตอร์ก่อนไหลกลับสู่ถังน้ำมันไหลกลับ

    หน้าที่การทำงานด้วยสุญญากาศ
    เรคกูเรเตอร์ จะทำงานร่วมกับระบบสุญญากาศ โดยสังเกตุเห็นว่าบนหัวของเรคกูเรเตอร์ทุกตัว
    จะมีท่อสูญญากาศเล็กๆเพื่อต่อกับท่อร่วมไอดีด้านหลังลิ้นปีกผีเสื้อ ดังนั้นเมื่อเหยียบคันเร่งน้อยเเรงดูดจากเครื่องจะมากอากาศไหลผ่านลิ้นน้อย
    สูญญากาศก็เกิดมาก เมื่อเหยียบคันเร่งมากอากาศไหลผ่านลิ้นมากสูญญากาศก็เกิดน้อย
    แรงดูดตัวนี้หละที่จะคอยควบคุมให้เรกกูเรเตอร์ทำงานเพื่อควบคุมเเรงดันน้ำมันให้คงที่
    ไม่ว่าจะลิ้นปีกผีเสี้อจะเปิดมากหรือเปิดน้อยก็ตามที

    เริ่มต้นการทำงานตั้งแต่ก่อนสตาร์ทเครื่อง
    เมื่อเราเปิดสวิทย์กุญแจ ปั้มน้ำมันเชื้อเผลิงจะทำงาน
    แรงดันน้ำมันจะสูงมาก เพราะเครื่องยังไม่ติด ไม่มีแรงดูดสุญญากาศเเละเมื่อเราเริ่มสตาร์ทเครื่อง
    จะทำให้หัวฉีด ฉีดน้ำมันมากทำให้เครื่องยนต์
    ์สตาร์ทติดง่าย เมื่อเครื่องติดแล้วในรอบเดินเบา
    เครื่องยนต์ต้องการน้ำมันน้อย เรกกูเรเตอร์จะเปิดน้ำมัน
    ให้ไหลกลับสู่ถัง ไหลกลับมาก เพื่อให้ประหยัดน้ำมัน

    เมื่อเริ่มต้นเหยียบคันเร่ง
    เครื่องยนต์จะต้องการปริมาณน้ำมันเเพิ่มขึ้น
    ตามความต้องการของเครื่องยนต์ ที่ต้องการเร่งรอบ
    ให้สูงขึ้นโดยรับข้อมูลมาจากเซนเซอร์ต่างเช่น
    airfrowmeter , totelsensor,vaccumesensor,
    และเซนเซอร์รอบเครื่องยนต์โดยทั้งหมด
    นี้จะส่งข้อมูลไปยังกล่อง ECU โดยกล่อง ECU
    จะไปสั่งให้หัวฉีด ฉีดน้ำมันถี่ขึ้นเพื่อเร่งรอบเครื่องยนต ์ ปริมาณการใช้น้ำมันสูงขึ้นซึ่งอาจทำให้แรงดันน้ำมัน
    ในรางหัวฉีดตกลง ก็เจ้าเรกกูเรเตอร์นี่แหละ
    ที่จะคอยควบคุม ให้แรงดันน้ำมันเพิ่มขึ้นโดย
    ทำการปิดน้ำมันไหลกลับสู่ถังน้ำมันไหลกลับน้อยลง

    ทฤษฎี
    แรงดันน้ำมันในรางหัวฉีดจะอยู่ที่ 2.5-3.3 bar หรือ 36-48 ปอนด์ แล้วแต่ spec ของเครื่องแต่ละยี่ห้อเช่น Toyota จะกำหนดไว้ที่ 2.7 bar Mitsubishi จะกำหนดไว้ที่
    3.3 bar และ Nissan,Honda จะกำหนดไว้ที่ 2.5 barเพื่อให้ส่วนผสมของอากาศ
    และน้ำมันในการเผาไหม้อยู่ที่ 14.7-15 : 1 คือ อากาศ 14.7-15 ต่อน้ำมัน 1 ส่วน
    จึงจะถือว่าการเผาไหม้สมบูรณ์ที่สุด ดั้งนั้นเรคกูเรเตอร์ต้องทำหน้าที่รักษาแรงดันน้ำมัน
    ให้สอดคล้องกับปริมาณการฉีดน้ำมันของหัวฉีดในแต่ระรอบความเร็ว

    เปลี่ยนใหม่ดีหรือไม่
    ในเครื่องยนต์ standard เรคกูเรเตอร์มีโอกาสเสียหายได้ เช่นแผ่นไดอะแฟรมขาด เกิดการกระทบกระเเทกรุนเเรง การอุดตันในท่อสุญญากาศ และอาการค้าง
    ไม่ยอมให้น้ำมันไหลกลับในเครื่องยนต์ที่ไม่ใช้งานนานๆ มีผลให้ เครื่องยนต์สตาร์ทไม่ติด
    สตาร์ทติดยาก ไม่มีแรง หรือทำให้กินน้ำมันมากผิดปกติ จึงควรตรวจเช็คหรือ
    ทำการเปลี่ยนเสียใหม่
    ในเครื่องยนต์โมดิฟายในเสตปเริ่มต้น
    หรือเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่ ติดเทอร์โบเพิ่ม เปลี่ยนเทอร์โบใหม่ หรือปรับบูชให้สูงขึ้น ส่วนใหญ่แล้วยังถือว่ายังไม่จำเป็น
    ต้องเปลี่ยนเรคกูเรเตอร์ เพราะเรคกูเรตอร์ที่ติดตั้งมา ให้กับเครื่องยนต์แต่ละรุ่นได้ออกแบบมา
    ได้เพียงพอต่อการใช้งานแล้ว หรือบางรุ่นทำงานได้ดีกว่า แบบปรับตั้งได้เสียอีก ดังนั้นควรจะหันมาใส่ใจ ปั้มน้ำมันเชื้อเผลิงจะดีกว่าเพราะมีผลต่อความต้องการ
    ของเครื่องยนต์แท้จริง
    ในเครื่องยนต์ทีมีการโมดิฟายในสเตปสูง
    เช่นการเปลี่ยนหัวฉีดให้มีซีซีสูงขึ้น เปลี่ยนรางหัวฉีดที่มีขนาดใหญ่ เพิ่มปั้มแรงดันน้ำมันเชื้อเผลิง เปลี่ยนแอร์โฟร์
    ลิ้นปีกผีเสื้อให้มีขนาดใหญ่ ขยายปริมาตรกระบอกสูบ จนเรคกูเรเตอร์เดิมไม่สามารถรองรับ
    การใช้งานได้ ควรเปลี่ยนเสียใหม่ ทั้งนี้ต้องติดตั้งเกจ์วัดแรงดันน้ำมัน
    เพื่อใช้ในการอ้างอิงในการปรับจูนอยู่เสมอ

    การติดตั้ง
    ก่อนทำการติดตั้งควรหาเกจ์วัดแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิง
    มาตรวจวัดเสียก่อนว่าแรงดันที่ใช้อยู่
    ในปัจจุบันมีค่าเท่าไร เพื่อตรวจเช็คความพร้อม
    ของระบบ และอ้างอิงถึงเเรงดันของเรกกูเรเตอร
    ์ที่จะถูกเปลี่ยนเข้าไปใหม่

    ในบางยี่ห้อที่ทำชุดคิดมาสำหรับเเต่ละเครื่องยนต์ สามารถถอดของเดิมออกและนำของใหม่ใส่แทน
    ลงไปได้เลย

    ในยี่ห้อที่ต้องติดตั้งใหม่ ควรถอดเรกกูเรเตอร์เดิมออก
    แล้วกลึงน็อต หรือต่อท่อไหลกลับมายังเรกกูเตอร์ใหม่ แล้วต่อท่อไหลกลับลงสู่ถังน้ำมัน และอย่าลืมต่อท่อ
    สุญญากาศ ที่หัวของเรกกูเรเตอร์แทนที่ของเดิม
    หรือหลังลิ้นปีกผีเสื้อไว้ด้วย

    การติดตั้งควรอยู่ห่างจากความร้อนเช่นท่อไอเสีย จุดหมุนพวกสายพานต่างๆ และควรสร้างจุดยึด
    ให้แน่นหนา เพื่อไม่ให้แกว่งไปตามแรง
    เครื่องยนต์ จนท่อน้ำมันเกิดการฉีกขาดได้

    ควรเปลี่ยนท่อน้ำมันเชื้อเผลิง และเหล็กรัด
    ไปใช้ที่สามารถทนเเรงดันสูงขึ้นเพราะต้องรับภาระ
    แรงดันน้ำมันสูงจนเกิดการหลุดแตก






    ข้อดี
    สามารถเพิ่มปริมาณการฉีดน้ำมันให้สูงได้ง่ายๆ ทำให้เครื่องยนต์มีแรงขึ้นแก้ไข
    ในกรณีปั้มเเรงดันเชื้อเผลิง เริ่มเสื่อมประสิทธิภาพ และในการปรับจูนเครื่องยนต์
    ์ให้ที่ต้องการแรงดันน้ำมันสูงกว่าปกติมากๆ

    ข้อเสีย
    ในเครื่องยนต์ที่เรคกูเรเตอร์เดิมสามารถทำงานได้ดีอยู่แล้ว หรือปรับแต่งไม่ถูกต้อง ทำให้เครื่องยนต์กินน้ำมัน โดยใช่เหตุ เครื่องแรงตก แรงต้นปลายไม่แรง
    เผาไหม้ไม่หมดเกิดมลภาวะ หรือถ้าแรงดันน้ำมัน น้อยเกินไปทำให้ส่วนผสมบางเครื่องยนต์อาจพังได้
     
< Previous Thread | Next Thread >

แบ่งปันหน้านี้