เข้าสู่ระบบหรือลงทะเบียน
ติดต่อลงโฆษณา
[email protected]
หรือโทร. 081-811-1138 หรืออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่
RacingWeb.NET | The Racing Cars Community on Web.
ฟอรั่ม
>
Community Car Clubs
>
Pickup Car Clubs
>
Sport Truck.
>
BASIC MODIFLY DIESEL ENGINE...2008 By sport truck
>
ตอบกลับหัวข้อ
ชื่อ:
การตรวจสอบ:
กรุณาเปิดใช้งานจาวาสคริปต์เพื่อดำเนินการต่อ
กำลังโหลด...
ข้อความ:
<p>[QUOTE="p_sutipoj, post: 486100, member: 7614"]1 ฟุต-ปอนด์ = 0.737265 นิวตัน-เมตร </p><p>1 กิโลกรัม-เมตร = 9.8 นิวตัน-เมตร </p><p><br /></p><p>อยากจะเปลี่ยนอะไรเป็นอะไรก็ คูณหารกันเข้าไปกันเองนะครับ </p><p>ตัวอย่าง เครื่องยนต์ A มีแรงบิดสูงสุด = 20.0 กิโลกรัม-เมตร = 196 นิวตัน-เมตร = 144.5 ฟุต-ปอนด์ </p><p><br /></p><p>- แรงม้าคืออะไร? </p><p>แรงม้าคือ หน่วยวัด พลัง ของเครื่องยนต์ที่ได้จากการทำงานของ แรงบิด ที่ความเร็วรอบใดๆ ต่อหน่วยเวลา </p><p>มีรากเง้าการคำนวณมาจากสูตร งาน (จูล) = แรง คูณด้วย ระยะทาง >>> W = F x S </p><p>และ พลังงาน P คือ งานต่อหน่วยเวลา มีชื่อว่าเรียกว่า วัตต์ (Watt) หรือ จูลต่อวินาที >>> P = W/วินาที </p><p>หรือเท่ากับ งาน คูณด้วย ความเร็วเมตรต่อวินาที" >>> P = W x v </p><p>โดยที่ . 1 แรงม้า = 746 วัตต์ </p><p><br /></p><p>- ความสัมพันธ์ระหว่าง แรงม้า กะ แรงบิด </p><p>เราสามารถคำนวณหา แรงม้า จาก แรงบิด หรือ คำนวณ แรงบิด จาก แรงม้า ได้เสมอ ถ้าเรารู้ค่าของตัวใดตัวหนึ่ง ที่ความเร็วรอบเครื่องขณะใดขณะหนึ่ง </p><p><br /></p><p>ด้วยสูตรการคำนวณค่าแรงม้าที่ให้มาข้างต้น เราสามารถสร้างสูตรสำเร็จในการคำนวณหาความสัมพันธ์ระหว่าง แรงม้า และ แรงบิด ได้ดังนี้ (ค่าแรงบิดที่ใช้สูตรการคำนวณมีหน่วยเป็น กิโลกรัม-เมตร.) </p><p><br /></p><p>คำนวณ แรงม้า จาก แรงบิด : แรงม้า = รอบต่อนาที X แรงบิด X 0.001376 </p><p>คำนวณ แรงบิด จาก แรงม้า : แรงบิด = แรงม้า / (รอบต่อนาที X 0.001376) </p><p><br /></p><p>ดังนั้น จากข้อมูลของเครื่องยนต์ที่เรามักจะเห็นจากสเป็คในโบชัวร์โฆษณารถ เราก็จะสามารถคำนวณต่อได้ว่า </p><p><br /></p><p>ที่แรงบิดสูงสุดนั้น มีกี่แรงม้า หรือ ที่แรงม้าสูงสุดนั้น มีแรงบิดเท่าไหร่ </p><p><br /></p><p>ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถคำนวณหาค่าอัตราทดเกียร์ เฟืองท้าย และ ขนาดล้อ ที่เหมาะสม เพื่อให้ได้รถที่มีสมรรถนะตามต้องการ ทั้ง อัตราเร่ง และ ความเร็วสูงสุด ทั้งนี้เราจะต้องรู้น้ำหนักรถ และ ค่าอากาศพลศาสตร์ ของรถด้วยนะครับ </p><p><br /></p><p>ตัวอย่างการคำนวณ </p><p><br /></p><p>ตัวอย่างที่ 1 </p><p>เครื่องยนต์ A มีแรงบิดสูงสุด 20.0 กิโลกรัม-เมตร ที่ 3,600 รอบต่อนาที มีแรงม้าสูงสุด 150 แรงม้า ที่ 6,000 รอบต่อนาที </p><p>คำนวณหา แรงม้า ที่แรงบิดสูงสุด ได้จาก : 3,600 X 20.0 X 0.001376 = 99.072 แรงม้า ที่ 3,600 รอบต่อนาที </p><p>คำนวณหา แรงบิด ที่แรงม้าสูงสุด ได้จาก : 150 / (6,000 X 0.001376) = 18.168 กิโลกรัม-เมตร ที่ 6,000 รอบต่อนาที </p><p><br /></p><p>ตัวอย่างที่ 2 </p><p>เครื่องยนต์ B มีแรงบิดสูงสุด 20.0 กิโลกรัม-เมตร ที่ 4,500 รอบต่อนาที มีแรงม้าสูงสุด 150 แรงม้า ที่ 6,500 รอาที </p><p>คำนวณหา แรงม้า ที่แรงบิดสูงสุด ได้จาก : 4,500 X 20.0 X 0.001376 = 123.84 แรงม้า ที่ 4,500 รอบต่อนาที </p><p>คำนวณหา แรงบิด ที่แรงม้าสูงสุด ได้จาก : 150 / (6,500 X 0.001376) = 16.771 กิโลกรัม-เมตร ที่ 6,500 รอบต่อนาที </p><p><br /></p><p>จากตัวอย่างการคำนวณของ เครื่องยนต์ A และ B เราจะเห็นได้ว่า แม้ทั้งคู่จะมี แรงบิด และ แรงม้า สูงสุด เท่ากัน แต่เครื่องยนต์ A จะได้อัตราเร่งที่ดีกว่าทั้งต้นและปลาย ที่อัตราทดของระบบการส่งกำลังเดียวกัน และ ถ้าจะให้เครื่องยนต์ B มีสมรรถนะเท่ากับเครื่อง A บนตัวถังเดียวกัน อาจจำเป็นต้องใช้ชุดเกียร์ที่มีอัตราทดชิดกันมากกว่า และอาจต้องมีจำนวนเกียร์มากกว่าด้วย นอกจากนี้ เครื่องยนต์ A ก็มีโอกาสประหยัดน้ำมันกว่า ถ้ามีความจุของเครื่องยนต์เท่าๆ กัน เพราะว่า เครื่องยนต์ A ดูจะมีประสิทธิภาพมากกว่าเครื่องยนต์ B จากลักษณะ แรงบิด และ แรงม้า ที่เครื่อง A ได้มาอยู่ในรอบเครื่องยนต์ที่ต่ำกว่า ทั้งนี้ก็ไม่เสมอไปนะครับ แต่มีโอกาสเป็นไปตามนี้สูงมาก </p><p><br /></p><p>ที่มาของสูตรการคำนวณ (สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการรู้ ก็ข้ามส่วนนี้ไปได้เลยครับ) </p><p>ทำ รอบต่อนาที ให้เป็น รอบต่อวินาที จากการหารด้วย 60 วินาที </p><p>ทำ รอบต่อวินาที ให้เป็นความเร็ว แบบ เมตรต่อวินาที จากการคูณด้วย (2 X Pi X R) หรือ (2 X 3.14 X 1) = 6.28 </p><p>ทำ วัตต์ ให้เป็น แรงม้า จากการหารด้วย 746 วัตต์ </p><p>ทำแรงบิด จาก กิโลกรัม เป็น นิวตัน จากการคูณด้วย 9.8 เมตรต่อวินาทีกำลังสอง </p><p>ดังนั้น จึงได้สูตรรวมการคำนวณแรงม้าจากแรงบิด เป็น </p><p>(รอบ X แรงบิด X 6.28 X 9. / (60 X 746) = รอบต่อนาที X แรงบิด X 0.001376 </p><p><br /></p><p>- การทดเกียร์ในรถยนต์ทำเพื่ออะไร?การทดเกียร์มีจุดประสงค์ 2 ประการคือ </p><p><br /></p><p>หนึ่ง เพื่อให้สามารถควบคุมความเร็วรถได้อย่างเหมะสมตามรอบเครื่องยนต์ </p><p>สอง เพื่อให้สามารถสร้างอัตตราเร่งของรถได้ด้วยการทำให้แรงบิดของเพลาขับสูงกว่าแรงที่รถต้องการในแต่ละช่วงความเร็ว </p><p><br /></p><p>ประการที่หนึ่ง นั้นคงไม่ต้องอธิบายมาก แต่อยากจะบอกให้หายสงสัยว่า ทำไมรถที่เครื่องแรงมากๆๆๆๆๆ เช่น รถสปอร์ต 300-500 แรงม้า ยังคงต้องมีเกียร์ หนึ่ง ที่มีอัตราทดพอๆ กับรถจ่ายตลาดที่มีแรงม้าแค่ปริ่มๆ 100 แรงม้า ถามว่ารถที่แรงมากๆ ออกเกียร์ สอง ได้มั๊ย ก็ตอบว่า อาจได้ครับ แต่ไม่เห็นมีประโยชน์อะไร รถยนต์ต้องออกตัวจากจุดหยุดนิ่ง เสมอไม่ว่าจะเป็นคันไหน และถ้าไม่มีครัช เครื่องยนต์ก็ต้องเริ่มหมุนจาก 0 รอบต่อนาทีเหมือนกัน และไม่ว่าเครื่องจะมีแรงเท่าไหร่ ถ้าเครื่องหมุน 0 รอบต่อนาที ก็มีแรงเท่ากับ 0 เหมือนกันทุกเครื่องยนต์ ดังนั้น คุณต้องการเกียร์ หนึ่ง ที่มีอัตราทดมาก ไม่ได้ไว้เพื่อให้มีแรงอย่างเดียว แต่เพื่อความเหมาะสมต่อการเลี้ยงรอบเครื่องในการออกตัว ส่วนการทดในเกียร์ต่อๆ ไปก็เพื่อให้เครื่องได้ทำงานในรอบเครื่องยนต์ที่ให้การตอบสนองเหมาะสมต่อการใช้งานที่ดีที่สุดนั่นเอง </p><p><br /></p><p>ประการที่สอง อันนี้สำคัญ เพราะว่าการที่รถจะมีความเร็วคงที่อยู่ได้ หรือสามารถเร่งความเร็วเพิ่มขึ้นได้นั้น แรงบิดที่เพลาขับต้องมีเหลือมากกว่าแรงที่รถต้องการ ยิ่งความแตกต่างของแรงบิดที่เพลาขับมากกว่าแรงบิดที่รถต้องการมากเท่าใด รถก็จะยิ่งมีอัตราเร่งสูงขึ้นเท่านั้น แต่แรงที่รถต้องการเมื่อความเร็วสูงขึ้นเรื่อยๆ คือแรงต้านของอากาศที่มีสมการอยู่ในรูปของ ความเร็วยกกำลังสอง ทำให้แรงต้านนี้จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าการเพิ่มของความเร็วของรถ และบังเอิญว่า แรงบิด ของรถก็มักจะลดลงเมื่อรอบเครื่องยนต์พ้นรอบแรงบิดสูงสุดไป การทดเกียร์ จึงเป็นการเพิ่มแรงบิดของเพลาขับให้มากกว่าแรงที่รถต้องการตลอดช่วงการไต่หาความเร็วสูงสุด[/QUOTE]</p><p><br /></p>
[QUOTE="p_sutipoj, post: 486100, member: 7614"]1 ฟุต-ปอนด์ = 0.737265 นิวตัน-เมตร 1 กิโลกรัม-เมตร = 9.8 นิวตัน-เมตร อยากจะเปลี่ยนอะไรเป็นอะไรก็ คูณหารกันเข้าไปกันเองนะครับ ตัวอย่าง เครื่องยนต์ A มีแรงบิดสูงสุด = 20.0 กิโลกรัม-เมตร = 196 นิวตัน-เมตร = 144.5 ฟุต-ปอนด์ - แรงม้าคืออะไร? แรงม้าคือ หน่วยวัด พลัง ของเครื่องยนต์ที่ได้จากการทำงานของ แรงบิด ที่ความเร็วรอบใดๆ ต่อหน่วยเวลา มีรากเง้าการคำนวณมาจากสูตร งาน (จูล) = แรง คูณด้วย ระยะทาง >>> W = F x S และ พลังงาน P คือ งานต่อหน่วยเวลา มีชื่อว่าเรียกว่า วัตต์ (Watt) หรือ จูลต่อวินาที >>> P = W/วินาที หรือเท่ากับ งาน คูณด้วย ความเร็วเมตรต่อวินาที" >>> P = W x v โดยที่ . 1 แรงม้า = 746 วัตต์ - ความสัมพันธ์ระหว่าง แรงม้า กะ แรงบิด เราสามารถคำนวณหา แรงม้า จาก แรงบิด หรือ คำนวณ แรงบิด จาก แรงม้า ได้เสมอ ถ้าเรารู้ค่าของตัวใดตัวหนึ่ง ที่ความเร็วรอบเครื่องขณะใดขณะหนึ่ง ด้วยสูตรการคำนวณค่าแรงม้าที่ให้มาข้างต้น เราสามารถสร้างสูตรสำเร็จในการคำนวณหาความสัมพันธ์ระหว่าง แรงม้า และ แรงบิด ได้ดังนี้ (ค่าแรงบิดที่ใช้สูตรการคำนวณมีหน่วยเป็น กิโลกรัม-เมตร.) คำนวณ แรงม้า จาก แรงบิด : แรงม้า = รอบต่อนาที X แรงบิด X 0.001376 คำนวณ แรงบิด จาก แรงม้า : แรงบิด = แรงม้า / (รอบต่อนาที X 0.001376) ดังนั้น จากข้อมูลของเครื่องยนต์ที่เรามักจะเห็นจากสเป็คในโบชัวร์โฆษณารถ เราก็จะสามารถคำนวณต่อได้ว่า ที่แรงบิดสูงสุดนั้น มีกี่แรงม้า หรือ ที่แรงม้าสูงสุดนั้น มีแรงบิดเท่าไหร่ ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถคำนวณหาค่าอัตราทดเกียร์ เฟืองท้าย และ ขนาดล้อ ที่เหมาะสม เพื่อให้ได้รถที่มีสมรรถนะตามต้องการ ทั้ง อัตราเร่ง และ ความเร็วสูงสุด ทั้งนี้เราจะต้องรู้น้ำหนักรถ และ ค่าอากาศพลศาสตร์ ของรถด้วยนะครับ ตัวอย่างการคำนวณ ตัวอย่างที่ 1 เครื่องยนต์ A มีแรงบิดสูงสุด 20.0 กิโลกรัม-เมตร ที่ 3,600 รอบต่อนาที มีแรงม้าสูงสุด 150 แรงม้า ที่ 6,000 รอบต่อนาที คำนวณหา แรงม้า ที่แรงบิดสูงสุด ได้จาก : 3,600 X 20.0 X 0.001376 = 99.072 แรงม้า ที่ 3,600 รอบต่อนาที คำนวณหา แรงบิด ที่แรงม้าสูงสุด ได้จาก : 150 / (6,000 X 0.001376) = 18.168 กิโลกรัม-เมตร ที่ 6,000 รอบต่อนาที ตัวอย่างที่ 2 เครื่องยนต์ B มีแรงบิดสูงสุด 20.0 กิโลกรัม-เมตร ที่ 4,500 รอบต่อนาที มีแรงม้าสูงสุด 150 แรงม้า ที่ 6,500 รอาที คำนวณหา แรงม้า ที่แรงบิดสูงสุด ได้จาก : 4,500 X 20.0 X 0.001376 = 123.84 แรงม้า ที่ 4,500 รอบต่อนาที คำนวณหา แรงบิด ที่แรงม้าสูงสุด ได้จาก : 150 / (6,500 X 0.001376) = 16.771 กิโลกรัม-เมตร ที่ 6,500 รอบต่อนาที จากตัวอย่างการคำนวณของ เครื่องยนต์ A และ B เราจะเห็นได้ว่า แม้ทั้งคู่จะมี แรงบิด และ แรงม้า สูงสุด เท่ากัน แต่เครื่องยนต์ A จะได้อัตราเร่งที่ดีกว่าทั้งต้นและปลาย ที่อัตราทดของระบบการส่งกำลังเดียวกัน และ ถ้าจะให้เครื่องยนต์ B มีสมรรถนะเท่ากับเครื่อง A บนตัวถังเดียวกัน อาจจำเป็นต้องใช้ชุดเกียร์ที่มีอัตราทดชิดกันมากกว่า และอาจต้องมีจำนวนเกียร์มากกว่าด้วย นอกจากนี้ เครื่องยนต์ A ก็มีโอกาสประหยัดน้ำมันกว่า ถ้ามีความจุของเครื่องยนต์เท่าๆ กัน เพราะว่า เครื่องยนต์ A ดูจะมีประสิทธิภาพมากกว่าเครื่องยนต์ B จากลักษณะ แรงบิด และ แรงม้า ที่เครื่อง A ได้มาอยู่ในรอบเครื่องยนต์ที่ต่ำกว่า ทั้งนี้ก็ไม่เสมอไปนะครับ แต่มีโอกาสเป็นไปตามนี้สูงมาก ที่มาของสูตรการคำนวณ (สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการรู้ ก็ข้ามส่วนนี้ไปได้เลยครับ) ทำ รอบต่อนาที ให้เป็น รอบต่อวินาที จากการหารด้วย 60 วินาที ทำ รอบต่อวินาที ให้เป็นความเร็ว แบบ เมตรต่อวินาที จากการคูณด้วย (2 X Pi X R) หรือ (2 X 3.14 X 1) = 6.28 ทำ วัตต์ ให้เป็น แรงม้า จากการหารด้วย 746 วัตต์ ทำแรงบิด จาก กิโลกรัม เป็น นิวตัน จากการคูณด้วย 9.8 เมตรต่อวินาทีกำลังสอง ดังนั้น จึงได้สูตรรวมการคำนวณแรงม้าจากแรงบิด เป็น (รอบ X แรงบิด X 6.28 X 9. / (60 X 746) = รอบต่อนาที X แรงบิด X 0.001376 - การทดเกียร์ในรถยนต์ทำเพื่ออะไร?การทดเกียร์มีจุดประสงค์ 2 ประการคือ หนึ่ง เพื่อให้สามารถควบคุมความเร็วรถได้อย่างเหมะสมตามรอบเครื่องยนต์ สอง เพื่อให้สามารถสร้างอัตตราเร่งของรถได้ด้วยการทำให้แรงบิดของเพลาขับสูงกว่าแรงที่รถต้องการในแต่ละช่วงความเร็ว ประการที่หนึ่ง นั้นคงไม่ต้องอธิบายมาก แต่อยากจะบอกให้หายสงสัยว่า ทำไมรถที่เครื่องแรงมากๆๆๆๆๆ เช่น รถสปอร์ต 300-500 แรงม้า ยังคงต้องมีเกียร์ หนึ่ง ที่มีอัตราทดพอๆ กับรถจ่ายตลาดที่มีแรงม้าแค่ปริ่มๆ 100 แรงม้า ถามว่ารถที่แรงมากๆ ออกเกียร์ สอง ได้มั๊ย ก็ตอบว่า อาจได้ครับ แต่ไม่เห็นมีประโยชน์อะไร รถยนต์ต้องออกตัวจากจุดหยุดนิ่ง เสมอไม่ว่าจะเป็นคันไหน และถ้าไม่มีครัช เครื่องยนต์ก็ต้องเริ่มหมุนจาก 0 รอบต่อนาทีเหมือนกัน และไม่ว่าเครื่องจะมีแรงเท่าไหร่ ถ้าเครื่องหมุน 0 รอบต่อนาที ก็มีแรงเท่ากับ 0 เหมือนกันทุกเครื่องยนต์ ดังนั้น คุณต้องการเกียร์ หนึ่ง ที่มีอัตราทดมาก ไม่ได้ไว้เพื่อให้มีแรงอย่างเดียว แต่เพื่อความเหมาะสมต่อการเลี้ยงรอบเครื่องในการออกตัว ส่วนการทดในเกียร์ต่อๆ ไปก็เพื่อให้เครื่องได้ทำงานในรอบเครื่องยนต์ที่ให้การตอบสนองเหมาะสมต่อการใช้งานที่ดีที่สุดนั่นเอง ประการที่สอง อันนี้สำคัญ เพราะว่าการที่รถจะมีความเร็วคงที่อยู่ได้ หรือสามารถเร่งความเร็วเพิ่มขึ้นได้นั้น แรงบิดที่เพลาขับต้องมีเหลือมากกว่าแรงที่รถต้องการ ยิ่งความแตกต่างของแรงบิดที่เพลาขับมากกว่าแรงบิดที่รถต้องการมากเท่าใด รถก็จะยิ่งมีอัตราเร่งสูงขึ้นเท่านั้น แต่แรงที่รถต้องการเมื่อความเร็วสูงขึ้นเรื่อยๆ คือแรงต้านของอากาศที่มีสมการอยู่ในรูปของ ความเร็วยกกำลังสอง ทำให้แรงต้านนี้จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าการเพิ่มของความเร็วของรถ และบังเอิญว่า แรงบิด ของรถก็มักจะลดลงเมื่อรอบเครื่องยนต์พ้นรอบแรงบิดสูงสุดไป การทดเกียร์ จึงเป็นการเพิ่มแรงบิดของเพลาขับให้มากกว่าแรงที่รถต้องการตลอดช่วงการไต่หาความเร็วสูงสุด[/QUOTE]
เข้าสู่ระบบด้วย Facebook
เข้าสู่ระบบด้วย Twitter
เข้าสู่ระบบด้วย Google
ชื่อผู้ใช้งานหรือที่อยู่อีเมล์ของคุณ:
คุณมีบัญชีผู้ใช้หรือไม่?
ไม่มี, สร้างบัญชีผู้ใช้ตอนนี้
มี, รหัสผ่านของฉันคือ:
ลืมรหัสผ่านของคุณ?
อยู่ในระบบตลอดเวลา
RacingWeb.NET | The Racing Cars Community on Web.
ฟอรั่ม
>
Community Car Clubs
>
Pickup Car Clubs
>
Sport Truck.
>
BASIC MODIFLY DIESEL ENGINE...2008 By sport truck
>
X
หน้าแรก
หน้าแรก
Quick Links
โพสต์ล่าสุด
กิจกรรมล่าสุด
ผู้เขียน
ฟอรั่ม
ฟอรั่ม
Quick Links
ค้นหาฟอรั่ม
โพสต์ล่าสุด
ประกาศซื้อขาย
ประกาศซื้อขาย
Quick Links
ค้นหาประกาศซื้อขาย
กิจกรรมล่าสุด
ผู้ค้าขายคะแนนสูงสุด
สื่อ/วิดีโอ
สื่อ/วิดีโอ
Quick Links
Search Media
New Media
สมาชิก
สมาชิก
Quick Links
สมาชิกที่โดดเด่น
สมาชิกที่ลงทะเบียน
ผู้ใช้งานในขณะนี้
กิจกรรมล่าสุด
โพสต์ข้อมูลส่วนตัวใหม่
เมนู
ค้นหาเฉพาะชื่อ
โพสต์โดยสมาชิก:
แยกชื่อด้วยเครื่องหมายจุลภาค
ใหม่กว่า:
ค้นหาเฉพาะหัวข้อนี้
ค้นหาเฉพาะฟอรั่มนี้
แสดงผลเป็นหัวข้อ
การค้นหาที่มีประโยชน์
โพสต์ล่าสุด
เพิ่มเติม...