วิธีการเข้าโค้งในสนามสำหรับมือใหม่หัดซิ่งครับ

การสนทนาใน 'Noi eLeven' เริ่มโดย 100cent, 12 กุมภาพันธ์ 2008

< Previous Thread | Next Thread >
  1. 100cent

    100cent New Member Member

    115
    1
    0
    การเข้าโค้งสำหรับมือใหม่

    เพื่อความเข้าใจโดยง่ายและปลอดภัย จะขอแบ่งการเข้าโค้งออกเป็น 4 ขั้นตอน
    เมื่อรถวิ่งมาถึงทางโค้ง สิ่งที่จะต้องทำมีดังต่อไปนี้ (ห้ามทำสลับกัน)


    1. เบรก เพื่อชะลอความเร็วให้เหมาะสมกับโค้งนั้นๆ การเบรกทำให้น้ำหนักรถถ่ายมาด้านหน้า ส่งผลให้รถหน้าทิ่ม ท้ายยก ยางหน้ามี traction มากกว่ายางหลัง(หน้าเกาะกว่าหลัง) ท้ายรถเบา ถ้าเบรกหนักเกินจนล้อล็อค ยางจะไถไปกับพื้นถนนและขาดการควบคุม ไม่ว่าจะหักพวงมาลัยยังไงรถก็จะไม่เลี้ยว(ยางรับภาระเกินความสามารถ) จนกว่าจะคลายเบรกเพื่อให้ยางรับภาระน้อยลงจึงจะสามารถควบคุมทิศทางได้อีก

    2. เปลี่ยนเกียร์ลง (shift down) เพื่อให้อัตราทดเกียร์เหมาะสมกับความเร็วระหว่างที่อยู่ในโค้งและกดคันเร่งออกจากโค้ง หากเปลี่ยนเกียร์ได้ไม่นุ่มนวลจะทำให้รถมีอาการหน้าทิ่ม น้ำหนักรถจะถ่ายมายังล้อหน้า

    3. ปล่อยเบรก เมื่อลดความเร็วลงอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับโค้งแล้วให้ปล่อยเบรก ณ จุดนี้น้ำหนักรถจะเริ่มถ่ายไปข้างหลัง

    4. เลี้ยวและเดินคันเร่ง น้ำหนักรถจะถ่ายไปข้างหลังมากขึ้นจากการเดินคันเร่ง และถ่ายไปด้านข้างจากการหักพวงมาลัยเลี้ยว น้ำหนักคันเร่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์ อย่างน้อยที่สุดให้คลอคันเร่งตลอดเวลาที่อยู่ในโค้ง ไม่ควร เข้าโค้งแบบใส่เกียร์ว่างหรือไม่เหยียบคันเร่งเลย(ลอยเข้าไป) เพราะการคลอคันเร่งจะทำให้มีกำลังส่งถ่ายไปยังล้อตลอดเวลา ทำให้อาการรถมั่นคงขึ้น แต่ไม่ควรเกินลิมิตของยางที่รับได้เพราะจะทำให้รถ understeer หรือ oversteer ได้


    แรกๆอาจจะยังไม่ค่อยคล่องและมีรอยต่อระหว่างการ เบรก เปลี่ยนเกียร์ ปล่อยเบรก เลี้ยว เดินคันเร่ง ฝึกไปเรื่อยๆครับ พยายามทำให้ไม่มีรอยต่อระหว่างแต่ละอย่าง แล้วก็ปรับน้ำหนักมากน้อยของแต่ละอัน ฝึกบนนถนนในชีวิตประจำวันด้วยก็ได้นะครับ จะช่วยให้ขับได้อย่างปลอดภัยขึ้น



    สิ่งที่ควรระวังที่สุดสำหรับมือใหม่ คือ

    ไม่ควรเหยียบเบรกในขณะที่พวงมาลัยไม่ตรง (เลี้ยวไปเบรกไป) การเลี้ยวไปเบรก(trail braking)ไปไม่ใช่สิ่งที่ผิด อันที่จริงเป็นสิ่งที่นักขับทุกคนต้องทำได้หากต้องการจะเร็ว แต่สำหรับมือใหม่แล้วมันยากที่ตัวท่านจะรู้ถึงลิมิตของยางและอาการต่างๆของรถตลอดจนการแก้ไขการเสียการทรงตัวของรถ ดังนั้นมือใหม่จึงยังไม่ควรใช้เทคนิค trail braking หรือเบรกควบคุมน้ำหนักเบรกขณะเข้าโค้ง การเบรคขณะเข้าโค้งส่งทำให้รถได้รับแรงจากสองทางคือ

    1. การเบรกทำให้น้ำหนักรถจะถ่ายไปอยู่ล้อหน้า ทำให้ล้อหน้าเกาะกว่าล้อหลัง น้ำหนักด้านหลังจะเบา ท้ายจะยก
    2. การเลี้ยวทำให้น้ำหนักรถถ่ายไปด้านข้างในทิศทางตรงกันข้ามกับทิศที่เราจะเลี้ยวไป ทำให้รถเอียงออกหนีโค้ง

    ถ้าแรงสองอย่างนี้รวมกันแล้วเกินภาระที่ยางล้อหลังจะรับได้ จะทำให้ ท้ายออกหรือท้ายปัดนั่นเอง(oversteer) จนอาจถึงขั้นรถหมุนได้

    การที่บอกไว้ด้านบนว่าให้เริ่มปล่อยเบรกและคลอคันเร่งก่อนที่จะเลี้ยวเป็นการถ่ายน้ำหนักให้ไปอยู่ล้อหลังเหมือนเดิม หน้ารถจะได้ไม่ทิ่มขณะอยู่ในโค้ง น้ำหนักรถจะกระจายอย่างสมดุล ไม่มีล้อใดรับภาระมากกว่าล้ออื่นเยอะๆจนทำให้เสียอาการ ล้อทั้งสี่จะเกาะถนนเท่าๆกัน รถจะไม่หมุน

    แต่ขณะอยู่ในโค้งหากเราเข้าโค้งด้วยความเร็วสูงเกินกว่ายางจะรับภาระได้ รถก็จะไถลออกด้านนอก(แหกโค้ง หรือ understeer นั่นเอง) เพราะการเลี้ยวคือการที่รถต้องพยามยามฝืนแรงที่ส่งมาจากทางตรงโดยใช้ความฝืด(friction) ที่ยางทำกับถนน เป็นตัวเปลี่ยนทิศทางของรถให้เลี้ยว ถ้าหากแรงที่ส่งจากทางตรงสูงเกินไป เมื่อเราต้องการที่จะเลี้ยว ศักยภาพของยางในการที่จะฝืนรถให้เลี้ยวก็จะเหลือน้อยลง ถ้าหากหักพวงมาลัยมากเกิน รถก็จะแถออกด้านข้าง ทำให้เลี้ยวไม่เข้า วิธีแก้คือต้องชะลอความเร็ว(ยกคันเร่งหรือแตะเบรก แต่ถ้าจะแตะเบรกล้อต้องตั้งตรง ไม่เช่นนั้นก็จะกลายเป็น oversteer ทำให้ท้ายออก รถหมุน) เพื่อให้ยางมีประสิทธิภาพเหลือมากพอที่จะเลี้ยว





    สรุปข้อห้ามและข้อควรกระทำขณะเข้าโค้งสำหรับมือใหม่

    1. ห้ามเบรกอย่างรุนแรงขณะเข้าโค้ง

    2. ห้ามเหยียบคลัชแช่ไว้ขณะเข้าโค้ง

    3. เบรกให้เสร็จก่อนจะเริ่มเลี้ยว

    4. ไม่เปลี่ยนเกียร์ขณะอยู่ในโค้ง เพราะการ shift down ที่ไม่นุ่มนวลจะทำให้รถหน้าทิ่ม และผลจะเป็นแบบ oversteer

    5. หลังจากเบรกเสร็จให้เริ่มคลอคันเร่ง (น้ำหนักคันเร่งแล้วแต่สถานการณ์ ถ้าช้าไปก็เติมได้ ถ้าความเร็วสูงพอแล้วก็แค่คลอไป)

    6. ถ้าไม่แน่ใจว่าโค้งนั้นต้องใช้ความเร็วเท่าใด ให้ใช้ความเร็วต่ำกว่าที่ประเมินไว้ (ปลอดภัยไว้ก่อน)

    7. หากมีข้อสงสัยหรือไม่มั่นใจ ให้ถามคนมีประสบการณ์ทันที

    8. เมื่อไหร่ที่รู้สึกว่าเข้าโค้งแล้วไม่มั่นใจหรือกลัว แสดงว่าเราขับเร็วเกินฝีมือ ให้ชะลอความเร็วลง

    9. ไม่หักพวงมาลัยแบบฉับพลับ หรือกระตุกพวงมาลัยเวลาเลี้ยวหรือแซง เพราะจะทำให้รถเสียการทรงตัว

    10. อย่าเอาเวลาเป็นตัววัดฝีมือตัวเองเป็นอันขาด ขับช้ากว่าแต่กลับบ้านปลอดภัย ย่อมดีกว่าเร็วแต่เสียวและเสี่ยง
    ผมเอง คงไม่ได้เน้นในเรื่องของเทคนิกมาก แต่คงจะเน้นเรื่องที่น่าจะทำให้ขับด้วยกันได้ปลอดภัยขึ้น (เนื้อหา มาจากสปีดซีเครทเล่มแรก)

    ๑. การที่เราจะต้องรู้ตลอดเวลา ว่ารถรอบๆตัวเรา อยู่ตรงไหนกันบ้าง เค้าพยายามจะทำอะไรกันอยู่ มีคนพยายามจะแซงเราไม๊ อันนี้ก็คล้ายๆกับเวลาวิ่งบนถนน ต้องดูรอบๆตัวให้ดี แต่ไม่ได้มัวแต่ดูข้างหลัง ไม่ดูทางนะ
    ๒. ตัวเราเอง ก็ต้องพยายามสังเกตุ ว่าคนที่เรากำลังจะแซง รู้ตัวไม๊ ว่าเรากำลังวิ่งไล่ หรือว่า กำลังจะเสียบแซงเค้าอยู่ ถ้าดูเหมือนกับว่าเค้าไม่รู้ตัวว่าเราจะแซง ต้องหาวิธีการทำให้เค้าเห็นเราก่อน เรื่องนี้ เราคงจะพอสังเกตุได้ คือ ถ้าคันหน้าเห็นเรา ขั้นแรก เค้าน่าจะเปลี่ยนไลน์ เพื่อที่จะพยายามบังเรา ถ้าเค้ายังขับไลน์ปกติ เราก็น่าจะต้องระวัง ถ้าคิดจะแซงเค้า
    ๓. การแซงที่ง่ายที่สุด คือ แซงทางตรง รองลงมาคือตอนเบรค ยากสุดคือแซงในโค้ง
    ๔. การแซงทางตรง ขั้นแรก เราต้องมั่นใจว่าเราออกจากโค้งด้วยสปีดที่สูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ก่อน ก็แปลว่า เราอาจจะต้องเว้นระยะจากคันหน้าบ้าง เพื่อที่จะสามารถทำให้ใช้พื้นที่ได้เต็มที่ ได้สปีดที่สูงที่สุด ถ้าเรามัวแต่จี้เค้าตลอด ทำให้เข้าโค้งได้ไม่เต็ม เราก็จะแซงเค้าทางตรงไม่ได้
    ๕. การแซงตอนเบรค โดยมารยาทคือ ถ้าเราเข้าไปได้ครึ่งคันทางด้านในของเค้าแล้ว เค้าควรจะให้เราไป แต่ก็เป็นแค่ไกด์ไลน์ ไม่แน่เสมอไป ที่ควรจะต้องทำก็คือ ไม่จำเป็นต้องเบรคลึกจนแซงเค้าไป เอาแค่ให้เท่ากับรถเค้าก็พอ ให้หัวพอๆกัน แต่เราอยู่ด้านใน และ ให้อยู่ใกล้เค้าให้มากที่สุดที่จะเป็นไปได้ โดยที่ไม่อันตรายเกินไป เนื่องจาก ถ้าเกิดชนกัน อยู่ใกล้ๆ ก็จะชนเบากว่า
    ๖. การบัง โดยมารยาท บังหนึ่งครั้ง กำลังดี ไม่ใช่โยกซ้ายขวาเพื่อจะบังให้ได้ แต่นี่ก็เป็นแค่ไกด์ไลน์เหมือนกัน ถ้าเป็นรอบเกือบเข้าเส้นชัย คงจะไม่ยอมกันง่ายๆ
    ๗. การศึกษาความหมายต่างๆของธงให้แม่นๆ แล้วคอยสังเกตุตลอดเวลา อันนี้ก็ตรงไปตรงมา ที่เพิ่มเติมคือ ให้ลองสังเกตุความจริงจังในการโบกธงของนายสนามด้วย คือ ถ้าดูว่าเค้าโบกจริงจังมากๆ ก็อาจจะแปลว่าเหตุการณ์มันอาจจะน่ากลัวมากด้วย
    ๘. การวิ่งในสนาม เค้าแนะนำว่า ให้มองคนอื่นให้เป็นส่วนนึงของสนาม ที่ไม่อยู่กับที่ เราก็แค่ปรับไลน์ของเราให้วิ่งผ่านพวกเค้าไป อย่าไปโฟคัสที่จะแซงเค้าให้ได้อย่างเดียวเกินไป จะทำให้ผ่อนคลายมากกว่า
    ๙. ในรอบซ้อม เราควรจะลองไปวิ่งในไลน์ที่เหมือนกับเราจะแซง เพื่อจะได้เห็นภาพ และ เป็นการตรวจสอบสภาพของพื้นสนามในไลน์แปลกๆนั้นไปด้วยในตัว
    ๑๐. การขับแข่ง กับการวิ่งให้เร็ว มันเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้ทั้งสองอย่าง และ จะขาดอย่างใดอย่างนึงไป ก็ไม่ดี จะเน้นแข่งได้อย่างเดียว ก็ไม่ดี จะขับคนเดียวเร็ว ก็คงไม่ชนะในการแข่ง สำหรับคนที่แข่งมาตลอด ก็อาจจะลองดูเรื่องของการวิ่งคนเดียวให้เร็วได้ด้วย อาจจะทำให้ประสพความสำเร็จในการแข่งมากขึ้น สมดุลมากขึ้น
    วิธีฝึกก็คือ เราจะต้องคุมน้ำหนักเบรค ให้หัวทิ่มเท่าเดิมตลอด ตั้งแต่เริ่มเบรค จนถึงตอนที่รถเกือบจะหยุด จะต้องค่อยๆคลาย ให้หัวทิ่มน้อยลงอย่างต่อเนื่อง จนหัวไม่ทิ่มเลยตอนที่รถหยุดพอดี

    ที่จะยากก็คือ
    ๑. เราจะต้องเบรค แรง/เบา ขนาดไหน ถึงจะได้ระยะเบรคที่พอดี กับความหัวทิ่มที่จะต้องคงที่ตลอด คือ ไม่ทิ่มน้อยลง หรือ มากขึ้น จนกว่าจะถึงจุดที่เกือบจะหยุด
    ๒. พอความเร็วเริ่มลดลง ด้วยน้ำหนักเบรคเท่าเดิม หัวมันจะทิ่มมากขึ้น ดังนั้น เราจะต้องปรับน้ำหนักเบรคให้น้อยลง ถึงจะทำให้หัวทิ่มเท่าเดิมได้
    ๓. ตอนที่ค่อยๆลดน้ำหนักเบรคก่อนจะหยุด จะค่อนข้างคุมยาก เพราะต้องให้หัวค่อยๆทิ่มน้อยลงเรื่อยๆ

    ผลทางตรงของการฝึกอันนี้ คือ การที่เราจะสามารถคุมเบรคได้ดีขึ้น ถ้าคนที่อยากจะไปวิ่งในสนาม ถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญมาก และ คนที่นั่งด้วย ก็จะนั่งสบายแน่ๆ แต่ก็ยังได้ผลทางอ้อมอื่นๆ เช่น การรับรู้เรื่องของ G-Force ที่เกิดขึ้นจากการเบรค และ สามารถปรับน้ำหนักของเท้า ตามแรง G-Force ที่เปลี่ยนไป เพื่อให้สามารถคุมน้ำหนักการเบรค ให้ได้แรง G-Force ตามที่ต้องการ

    เอาง่ายๆเรื่อง Heel and Toe ก่อนละกันนะครับ ตามหลักการง่ายๆ มันคือการบาลานซ์รถ เวลาที่เราต้องการลดเกียร์ลง

    ตามที่เสธ.เอ๋ถามไว้ ว่า จะทำ down shifting ยังไง ไม่ให้รถมีอาการกระชาก หรือกระตุก หรือเสียอาการ

    ในขณะที่เรา down shifting หรือ ลดเกียร์ลง รอบเครื่องจะตีขึ้นสูง เนื่องจากอัตราทดของเกียร์ที่ต่ำกว่า

    ทีนี้ การจะทำให้มันนุ่มนวล ก็ต้องอาศัยการ Blip throttle(แย๊บคันเร่ง) เพื่อช่วยเร่งรอบเครื่องขึ้นไปรอ ในจังหวะที่เรากำลังจะปล่อยคลัทช์

    แล้วถามว่า เกี่ยวกับคำว่า Heel and Toe ได้ไง? ก็นี่หละครับ กระบวนการลดเกียร์ลง มักจะอยู่ในขั้นตอนการลดความเร็วก่อนเข้าโค้ง

    โดยที่(ส่วนมาก) 1.เราจะใช้ด้านบนของเท้า(ตั้งแต่บริเวณนิ้วโป้งหรือ Toe)เป็นตัวกดแป้นเบรค---2.เท้าซ้ายเหยียบคลัทช์---ลดเกียร์ลง---3.ใช้ส้นเท้า(Heel)เป็นตัวแย๊บคันเร่ง

    เพื่อเร่งรอบขึ้นไปรอ---4.ปล่อยคลัทช์ ทำซ้ำจะไปถึงเกียร์จะเราจะใช้ออกจากโค้งก็เป็นอันเสร็จพิธี ขั้นตอนทั้ง 4 ดูเหมือนจะง่ายนะครับ แต่ว่ามันจะต่อเนื่องกันหมด

    โดยมาก ผู้ที่หัดใหม่ๆ มักจะคุมน้ำหนักเบรคเท้าไม่อยู่ เวลาใช้ส้นเท้าแย๊บคันเร่ง ก็จะเผลอกดน้ำหนักปลายเท้าที่เบรคลงไปด้วย ไม่ต้องตกใจครับ เป็นอาการปกติของคนหัดใหม่
     
  2. M RB20

    M RB20 New Member Member

    444
    4
    0
    ประสบกานจะสอนตัวท่านเอง
    ไม่มีใครสอนท่านได้
     
  3. POP 11

    POP 11 New Member VIP Racer

    137
    1
    0
    heel and toe ฝึกเยอะๆ ขี่ไปไหนมาไหนก็ทำไป:D
     
    แก้ไขล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2008
  4. 100cent

    100cent New Member Member

    115
    1
    0
    จัดไป
     
  5. Yo Civic Spoon

    Yo Civic Spoon New Member VIP

    9
    0
    0
    เปนยังไงอะ ทิวเบรค สอนหน่อยดิฮ่ะ จารย์ ป๊อป
     
  6. JumpRacing.

    JumpRacing. Member Super Moderator VIP

    255
    15
    18

    แหม่!!!! มีแซวๆ ใครจะไปสู้อ.โยได้ล่ะครับออกกริตที่ 24 เข้า ที่ 8 เยดดดดดด ระดับโลกเกิ๊น ..... 555...
     
  7. slow-fobia

    slow-fobia New Member Media

    327
    6
    0
    ขอบคุณครับ ระดับอาจารย์มาเองเลยง่ะ......
     
  8. oad-ottawa

    oad-ottawa New Member Member

    25
    0
    0
    ขอบคุณครับสำหรับข้อมูลดีๆๆ
    จะนำไปฝึก เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน
     
< Previous Thread | Next Thread >

แบ่งปันหน้านี้