รู้หรือไม่…ขับรถขึ้นเขา – ลงเขา ขับอย่างไรให้ปลอดภัย

การสนทนาใน 'Variety Forum' เริ่มโดย Carkrungthai, 12 กันยายน 2017

< Previous Thread | Next Thread >
  1. Carkrungthai

    Carkrungthai New Member Member

    15
    1
    3
    [​IMG]
    สวัสดีท่านผู้รักรถยนต์ทุกท่านวันนี้ ช่างแอด ก็กลับมากับ เกร็ดความรู้รถยนต์ เกี่ยวกับการเดินทางท่องเที่ยวในเส้นทางขึ้นเขา – ลงห้วย ซึ่งมักจะเจอได้ในเส้นทางต่างจังหวัดที่มีทั้งเนินต่ำๆ ไปจนถึงหุบเขาที่สูงชัน ที่ผู้ขับต้องมีความระมัดระวังและมีทักษะในการควบคุมรถที่แม่นยำ พร้อมต้องมีสมาธิสูงมากๆ การขับรถขึ้นหรือลงเขานั้นควรทำอย่างไรจึงจะปลอดภัยที่สุด วันนี้ ช่างแอด ก็มีเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ในการขับรถมาฝากกันครับ

    การขับรถขึ้นเขา

    ในส่วนของการขับรถยนต์บนทางขึ้นเขาไม่ว่าจะชันน้อยหรือมาก สิ่งที่ต้องทำอันดับแรกคือ ประเมินความสูง ระยะทางที่สามารถเร่งเครื่องยนต์ในจุดที่มีกำลังขึ้นได้สบาย ด้วยเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ต่ำลง 1 หรือ 2 ตำแหน่งขึ้นกับความเร็วเดิมที่ใช้อยู่ขณะนั้น อีกทั้งยังต้องเร่งรอบเครื่องยนต์ค้างไว้ที่รอบสูง ให้อยู่ในระหว่าง 2,000 – 3,000 รอบต่อนาที เพื่อให้มีกำลังในการส่งขึ้นเนินและต้องเลี้ยงคันเร่งให้คงที่ รักษาระดับความเร็วที่เหมาะสมหากเจอโค้งที่มีความชันและสลับกันซ้ายขวาต่อเนื่อง ให้เติมคันเร่งในจังหวะก่อนจะหักพวงมาลัยเลี้ยวขึ้นโค้งถัดไป เพื่อรักษากำลังเครื่องยนต์เอาไว้และต้องใช้เกียร์ต่ำให้รอบเครื่องยนต์ค้างระดับเดิมเอาไว้ เมื่อทางชันมากขึ้นและกำลังเริ่มตกลงเรื่อยๆ อย่ารอให้รอบต่ำจนเร่งไม่ไหว ให้รีบเปลี่ยนเกียร์ต่ำถัดไปก่อนรอบเครื่องยนต์ตกมาราวๆ 2,000 รอบต่อนาที เพื่อให้มีกำลังต่อเนื่องในการเร่งขึ้นต่อไปนอกจากนี้สายตาผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารจำเป็นต้องช่วยกันมองทางข้างหน้า ทั้งมุมมองด้านหน้าตรง มุมมองด้านข้างและระยะไกลเท่าที่เห็นได้ เพราะในเส้นทางอาจมีต้นไม้ หุบเขาไหล่เขาบดบัง ทำให้มองไม่เห็นเหตุการณ์ข้างหน้าได้ โดยเฉพาะเมื่อเข้าทางโค้งและเป็นทางชันแคบๆ มักมีโอกาสเจอรถสวนทางมา หากไม่ขับในช่องทางที่ถูกต้องก็อาจเกิดอันตรายได้ครับ

    การขับลงเขา

    สำหรับการขับลงเขานับว่าอันตรายมากกว่าขึ้นเขาซ่ะอีกครับ เพราะเนื่องจากมีโอกาสเสี่ยงที่ระบบเบรกจะทำงานหนักเกินไป จากการใช้เบรกตลอดในช่วงการลงทางชัน หรือการชะลอความเร็วในแต่ละช่วงซึ่งถ้าโชคร้ายอันตรายรุนแรงก็เบรกแตกตอนลงเลยก็ได้ ดังนั้นแล้วการขับลงเขาหรือทางชันต่างๆ ควรใช้เกียร์ต่ำถัดลงมาจากเกียร์เดิมที่ความเร็วในขณะนั้น เพื่อใช้เบรกจากเครื่องยนต์ช่วยหน่วงความเร็วให้ช้าลงและค่อยๆ แตะสลับกับปล่อยเบรกเป็นช่วง เพื่อลดความร้อนของผ้าเบรกและลดอาการเบรกแข็งด้วยครับและอาจทำให้ผ้าเบรกไหม้ได้สำหรับผู้ที่ต้องขับรถในทางชันบ่อยๆ ให้ฝึกฝนทักษะการควบคุมพวงมาลัยและการเลี้ยวโค้งให้แม่นยำ นอกจากนี้ควรฝึกใช้ระบบเกียร์ต่ำให้คล่อง ทั้งรถยนต์ที่ใช้เกียร์ธรรมดาและเกียร์อัตโนมัติ ในรถยนต์เกียร์อัตโนมัติ ให้เลื่อนตำแหน่งคันเกียร์ไปที่เลข “3 หรือ 2” เพื่อให้ตำแหน่งเกียร์ต่ำลงและหากต้องขับขี่ผ่านทางชันมากๆ ทั้งขึ้นหรือลงก็ควรใช้ตำแหน่ง “L” ซึ่งจะคล้ายๆ การใช้เกียร์ 1 นั่นเองส่วนรถที่มีระบบเปลี่ยนเกียร์ทั้งแบบบวก/ลบ (+/-) หรือมี Paddle Shift บนพวงมาลัย โดยเฉพาะใช้แบบโยกที่คันเกียร์ให้ฝึกจนเกิดความเคยชินว่าต้องผลักคันเกียร์ไปในทิศทางใดเป็นการเพิ่ม-ลดตำแหน่งเกียร์ด้วยเพื่อลดความผิดพลาดและเพื่อความปลอดภัยด้วยครับ



    ครับท้ายสุดแล้ว ช่างแอด ก็หวังว่า เกร็ดความรู้รถยนต์ บทนี้น่าจะเป็นเกร็ดความรู้ที่มีประโยชน์สำหรับท่านผู้รักรถยนต์ที่มีแผนที่จะเดินทางไปเที่ยวต่างจังหวัดในช่วงสุดสัปดาห์กันนะครับซึ่งก็เป็นทริคเล็กๆ น้อยๆ ที่ช่วยให้การขับรถยนต์ขึ้นและลงเขาหรือทางชันได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น แม้ว่ารถยนต์รุ่นใหม่ๆ จะมีระบบตัวช่วยในการป้องกันไม่เสียการทรงตัวต่างๆ มากมาย แต่สิ่งที่ผู้ขับจะต้องมีคือ ความรู้ความเข้าใจรู้ว่าสมรรถนะของรถที่ใช้ว่ามีขีดจำกัดมากเพียงใด เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทุกการเดินทางครับ ติดตาม ช่างแอด ในเรื่อง เกร็ดความรู้รถยนต์ ได้ที่ทางเว็บไซต์ โตโยต้า กรุงไทย ได้ครับและ เกร็ดความรู้รถยนต์ คราวหน้าจะเป็นเรื่องอะไรนั้นต้องคอยติดตามกันนะครับ



    =================================



    ท่านสามารถเช็กโปรโมชั่นรถดีๆ คลิกเลย : โปรโมชั่นรถโตโยต้า



    ท่านสามารถนำรถเข้ารับการดูแลกับเราได้ที่ : ศูนย์บริการและอะไหล่ โตโยต้า กรุงไทย



    ท่านสามารถนำรถของท่านมาซ่อมสีและตัวถังรถของท่านได้ที่ : ศูนย์ซ่อมตัวถังและสี โตโยต้า กรุงไทย
     
    แก้ไขล่าสุด: 19 กรกฎาคม 2018
< Previous Thread | Next Thread >

แบ่งปันหน้านี้