ใช่ครับ คลัชทองแดงไม่สามารถทำให้ไม่สั่นได้ครับ.....ต้องทำใจอย่างเดียว หรือไม่งั้นถ้าใช้หวีสองชั้นไม่จำเป็นต้องใช้คลัชทองแดงหรอครับ(ถ้าบูสไม่เกิน35ปอนด์) ใช้ผ้าผสมก็ได้ครับ.....ของผมบูส25++ผ้าผสมหวีสองชั้นก็อยู่ครับ
เคยสังเกตไหมว่าทำไมคลัทช์ทองแดงต้องเป็นก้อนๆด้วย ไมไม่ทำแผ่นเต็ม ......นั้นแหละปัญหาที่มันสั่นเพราะมันจับไม่เต็มหน้า เหมือนผ้าผสม
เพราะเวลาผ้าทองแดงเต็มแผ่นมันจะจับไม่อยู่ครับ พื้นที่ในการจับยิ่งน้อยแต่คุณสมบัติของวัสดุที่นำมาทำยิ่งดียิ่งจับดีครับ รู้หรือเปล่าครับว่าผ้าเบรกยิ่งเจียออกให้เหลือพื้นที่น้อยยิ่งเบรกดี.....แต่กินผ้าเบรกมากขึ้นครับ
ถ้าไม่อยากให้สั่นหรือสั่นน้อย ก้อคงต้อง ก้อนเยอะละก้อ ปรับหน้าฟลายวีลให้ดี + ต้องรันอินซัก 500โล ก่อนครับ หลังจากนั้นก็ตามสบายคับ ส่วนมากที่จัดให้คนที่มาทำ ถ้ารถโมไม่มาก ผมมักจะจัดผ้าผสมทองแดง ให้ครับ ลดปัญหาข้างเคียงไปได้มาก
ไปโดนมาแล้วครับ2วันแรกลื่นโคตรๆหลังจากนั้น...........................................แน่นๆเลยอะ......mimi
แบงค์ครับ ที่บอกว่า "ผ้าเบรกยิ่งเจียออกให้เหลือพื้นที่น้อยยิ่งเบรกดี.....แต่กินผ้าเบรกมากขึ้นครับ " ผมคิดไม่ตรงกับแบงค์คับ อย่างไงผมว่านะพื้นที่หน้าสัมผัสเยอะ ยิ่งเบรคดีนะ เบรคซิ่งๆที่ใช้กับ ยังออกแบบให้หน้าสัมผัสโตเลยคับ เช่นเดียวกันเรื่องคลัทช์ ที่ว่าหน้าสัมผัสเต็มแล้วจับไม่อยู่ เพราะอะไรครับ??? >> แต่ผมคิดว่าแบบนี้นะ ใช้สูตรความเค้นอัดแล้วกันครับ (จริงๆ ในตัวของผ้าคลัทช์รถยนต์ จะมีทั้ง"ความเค้นอัด"ที่เกิดจากแรงกดจากจานกดคลัทช์ และ "ความเค้นเฉือน" สูตร ทาว์ = F/A ที่เกิดจากแรงหมุนของฟลายวีลครับ) ทั้งนี้ขอกล่าวแค่ เฉพาะ ความเค้นอัด นะคับ สูตรความเค้นอัด >>>>> ซิกม่า = F/A F= แรงที่กระทำ A= พื้นที่หน้าตัด ซิกม่า คือ ความเค้นที่เกิดขึ้น กรณี หน้าตัดผ้าคลัทช์ ถ้าพื้นที่หน้าตัดใหญ่ๆ(หน้าเต็มๆ) จะเท่ากับว่า A เยอะ ฉนั้นแรงเค้นที่เกิดขึ้นจะน้อย เพราะว่าเลขตัวหารจะมาก ดังนั้นก็จะทำให้ค่าความเค้นต่อพื้นที่หน้าตัดที่เกิดขึ้นน้อยลงไปด้วย (เป็นที่รู้กันดีว่าหากวัสดุเกิดความเค้นมากๆถึงระดับนึง วัสดุนั้นก็จะเสียหายหรือเรียกว่าเกิด "ความเครียด") ขึ้น ...เปรียบกับผ้าคลัทช์ ที่มีความเค้นต่อพื้นที่หน้าตัดมากๆ เนื้อของผ้าคลัทช์จะเสียหายได้ง่าย (จึงทำให้เกิดการลื่น เพราะหน้าสัมผัสมันเสีย) ดังนั้นผมคิดว่าจะดีกว่าไหมหากเราไปเพิ่มพื้นที่รับแรงให้มากขึ้น หรือออกแบบวัดสุที่ทำผ้าคลัทช์ ให้รับ "แรงอัด" และ"แรงเฉือน " ได้มากขึ้น ดังเช่น การขยายหน้าตัดและการเลือกวัสดุ "ทองแดงล้วน" มาแทนผ้าคาร์บอน เป็นต้น ผมว่านะ การที่ออกแบบคลัทช์เป็น "ทองแดง" ดีล่ะ ถ้าต้องการการจับที่ดีขึ้นอีกก็ควรจะไปขยายหน้าสัมผัสให้โตขึ้น แค่อยากแสดงความคิดเห็นเท่านั้น อย่าโกรธกันนะค๊าบบบ ผิดถุกอย่างไงก็ขอโทษด้วยครับ:sad::sad:
Wowww ในทางทฤษฏีของ strength of materials มันเป็นในแนวทางที่พี่ว่ามาเลยครับ แต่ในทางปฎิบัติแล้ว ถ้าเกิดสามชิกที่เข้ามาอ่านบางท่านไม่ได้เรียน strength หรือ mechanical engineering design มาหล่ะ ผมว่า100ทั้ง100ไม่มีใครเข้าใจหรอกครับ ส่วนที่พี่บอกว่าพื้นที่หน้าสัมผัสเยอะ ยิ่งเบรคดีนะ เบรคซิ่งๆที่ใช้กันมันเรื่องจริงครับแต่ผมว่ามันก็คู่กับการเซาะร่องหรือเจาะรูใช่มั๊ยครับ ปล.ขอบคุณครับสำหรับความคิดเห็นอยากให้เข้ามาจอยๆกันครับสำหรับความรู้ใหม่ๆครับป๋ม!!!