คุยกันแบบวิชาการ เพื่อเป็นแนวทางในการทำรถกันบ้างดีมั้ยคับ

การสนทนาใน 'MiNi Truck Club' เริ่มโดย 4d56, 30 กรกฎาคม 2009

< Previous Thread | Next Thread >
  1. pandabank

    pandabank New Member VIP

    2,427
    4
    0
    มารอชมครับ
     
  2. EG4D

    EG4D New Member Member

    91
    0
    0
    อัพให้กระทู้ดีๆครับ ความรู้ทั้งนั้นเลย.....:eek::eek::eek:
     
  3. p_sutipoj

    p_sutipoj Active Member Moderator

    3,479
    9
    38
    http://www.bankspower.com/techarticles/show/36-airflow---the-secret-to-making-power

    ลองไปอ่านดู เกร็ดความรู้ครับ
     
  4. p_sutipoj

    p_sutipoj Active Member Moderator

    3,479
    9
    38
    ก๊อกๆแก๊กๆ เสียงหรือหรือชาร์ปละลายไม่รู้ล่ะ แต่ถ้าเขกจากปั้ม จะเล่าประสบการณ์ให้ฟัง

    1 เขกแก๊กๆ จากหัวฉีดหรือจากปั้มกันแน่นะ........

    สเวิลใครใช้หัวฉีดเจาะบ้างยกมือขึ้น.....มันอาจจะเขกดังแต่ว่าองศาการจุดระเบิดไม่ได้พอดีส่วนมากจะอ่อนไป.........ถ้าให้ชัวร์ลองให้หัวฉีดเดิมๆก่อนใส่แล้วได้องศาที่ใกล้เคียงเร่งเครื่องดูก็รู้แล้วครับว่าพอไหม แต่รอบสูงๆ ต้องหายเขกนะ ไม่เช่นนั้นเสี่ยงต่อการลูกแตกได้
    แล้วถ้าใครที่คิดจะผลักปั้มแก่อ่อนนั้นควรที่จะรู้ด้วยว่า เฟอร์นิเจอร์อะไรในปั้มที่ทำให้ปั้มเราแก่อ่อนได้ เช่น จานโรลเตอร์ ลูกทามเมอร์
    เท่าที่ครูพักลักจำได้มาก็รู้มาว่า ......แบ่งเป็น 1
    1 เขกแบบผลักปั้มหรือการทดเฟืองเป็นการเปลี่ยนองศาการจุดระเบิดทั้งหมดตั้งแต่รอบต่ำยันรอบสูง.........
    2 เขกแบบไดนามิก ใช้ลูกทามเมอร์เป็นตัวผลักให้จานโรลเตอร์แก่ขึ้นมากหรือน้อยปรับแต่งได้แล้วแต่สำนัก.........
    ปล. ถามว่ามีใครทราบว่าทำไมต้องมีการแก่อ่อนแบบนี้(2) เนื่องจากปรกติเครื่องดีเซลรอบเดินเบาต้องฉีดน้ำมันก่อน0ตายบนTDC ประมาณ 14 องศา ถ้าเครื่องยนต์เราหมุนไปที่4000รอบต่อนาทียังฉีดที่เดิม จะระเบิดควันขาวดังปุ๊กๆปั้กๆ แสดงว่าปั้มอ่อน ถามว่าทำไมอ่ะ อธิบายแบบลวกๆสุกๆดิบเอาอยากรู้ไปค้นคว้าเอาเองบ้าง ก็คือ สิ่งที่เราต้องกำหนดให้ตายตัวเลยก็คือ จุดที่มันระเบิดได้กำลังพอดีหลังTDCนิดหน่อย รอบเดินเบาพอดีเพราะว่าการเผาไหม้ต้องใช้เวลานาน ก่อน14 ไประเบิดพอดีใช้เวลาไป0.5วินาทีสมมุตินะ ถ้าหมุนไป4000รอบต่อนาที ฉีดที่เดิมเวลาการคลุกเค้ากว่าจะเผาไหม้ก็เท่าเดิม0.5 แต่ว่าข้อเหวี่ยงหมุนหนีไปแล้วเพราะรอบจัดขึ้นมันก็เลยไประเบิดที่ตอนที่ลูกสูบเลื่อนลงไปเยอะแล้ว พอกำลังติดไฟวาล์ไอเสียก็เปิดพอดีเลย ไม่แรงอะไรเลย ทามเมอร์ตัวนี้มีหน้าที่ทำให้มันแก่มากขึ้นเมื่อรอบสูงๆ มากหรือน้อยปรับแต่งได้ให้แผ่นชิมรองเอาดีที่สุดก็คือแก่พอดีในรอบต้นๆและมากขึ้นๆชดเชยกันไปโดยที่รอบสูงจะไม่แก่จนเขก
    เพราะว่าถ้าแก่ในรอบสูงอันตราย น้ำมันและอากาศที่บูทส์เยอะ มันรุนแรงร่องแหวนกับหัวลูกอาจจะแตกผ่าครึ่งเลยก็ได้นะ........


    เสริมอีกเรื่องนึง กรณีที่เครื่องเร่งเอง นอกจากปั้มพังแล้วยังเกิดจาก

    มีน้ำมันเครื่องเข้าไปในท่อไอดีเป็นจำนวนมากเช่น เทอร์โบแกนขาด หรือ น้ำมันจากท่อหายใจโดนเทอร์โบดูดเข้าไป ทำให้แว้นได้นะจะบอกให้
     
  5. p_sutipoj

    p_sutipoj Active Member Moderator

    3,479
    9
    38
    อีกเรื่องนึงก็คือ......อยากพูดถึง

    4D56 รุ่นวาล์โผล่ กับรุ่นวาล์หลบ แบบไหนน่าจะโมแล้วแรงกว่ากันนะ
     
  6. 4d56

    4d56 New Member Member

    521
    14
    0
    ขอบคุณคุณเจี๊ยบสำหรับความรู้คับ ก่อนถึงเรื่อง4d56 อยากจะขอถามเป็นความรู้ก่อนคับว่า ในปั๊มดิบหรือแบบแมคคานิคเนี่ย มันมีระบบจัดการให้ปั๊มแก่-อ่อนตามรอบเครื่องด้วยหรอคับ ไม่มีความรู้เลยคับ คือผมเข้าใจว่าระบบจุดระเบิดมันเป็นแบบคงที่ตายตัว ถ้าในเครื่องเบนซิลแน่นอนว่ามันสั่งจุดระเบิดล่วงหน้าด้วยกล่องหรือซีดีไอก้อตามแต่ เพราะมันเป็นเรื่องระบบไฟ แต่ในดีเซลปั๊มแมคคานิคผมคิดมาโดยตลอดว่ามันไม่สามารถadvanceหรือretardตามรอบเครื่องได้ เพราะมันเป็นระบบแมคคานิค มันใช้หลักการการเหวี่ยงหนีศูนย์หรอคับ ขอความรู้ด้วยคับ ขอบคุณคับ
     
  7. BANK 4 JB

    BANK 4 JB New Member Member

    1,560
    20
    0
    ขอบคุณครับ
     
  8. RUT

    RUT New Member Member

    1,222
    3
    0
    เยี่ยม.....ว่ะ พี่เจี๊ยบ
     

  9. อันนี้นี่เสียวเลยเนี่ยสงสัยต้องถอด อิอิ
     
  10. 4d56

    4d56 New Member Member

    521
    14
    0
    ถังดักไอพอช่วยได้ป่าวคุณตี๋ แล้วไอน้ำมันมันเข้าปั๊มได้ทางไหนอ่ะคับ ทางฝาปั๊มอ่ะหรอคับ
     
  11. pandabank

    pandabank New Member VIP

    2,427
    4
    0


    ได้ครับ

    เพราะสังเกตดูที่ข้างปั๊มครับ มันจะมีตัวที่ยื่นๆออกมา ตัวนั้นแหล่ะครับเรียกว่าไทม์มิ่ง

    เป็นตัวชดเชยหรือตัวปรับปั๊มให้แก่อ่อนตามรอบเครื่องยนต์

    ยกตัวอย่างเช่น(ในรถมิตซูนะครับ)

    รถตี๋คุงปั๊มยี่ห้อเดียวกับผม

    แต่ตี๋คุงถอดไทม์มิ่งปั๊มออก เสียงเขกมากกว่า และเขกตลอดทุกรอบเครื่อง

    แต่รถผมเองไม่ได้ถอดเสียงปั๊มเขกแค่ชั่วขณะแล้วก็เงียบไป

    ถามว่าปั๊มตัวไหนวิ่งกว่า ก็บอกได้เลยว่าของตี๋คุงไปดีกว่าแน่ๆ

    ปั๊มแต่ละตัวมีขอดีข้อเสียต่างกันครับ

    แต่ก็อย่าลืมนะครับ เขกมากปลายหาย(น้ำมันปลายก็หาย) กลับกันเขกน้อยต้นหาย แต่ปลายเดิน(ความรู้จากช่างปั๊มครับ)

    ลองศึกษาดูดีๆ ปั๊มบางตัวองศาได้ทุกอย่าง และแรงมากมาย

    แต่สุดท้ายก็พัง!!!!! ลองดูและกันครับ
     
  12. FunMax

    FunMax New Member Member

    384
    1
    0
    กระทู้นี้ดีคับ ความรู้ทั้งนั้น
     
  13. 4d56

    4d56 New Member Member

    521
    14
    0
    ใกล้คลอดหรือยังคับ92สามเอี๊ยดเนี่ยอิอิ
     
  14. p_sutipoj

    p_sutipoj Active Member Moderator

    3,479
    9
    38
    ใช่แล้วครับ ถ้าเคยแกะออกมาดูจะเห็นลูกสูบเป็นกระบอกวิ่งตามขวางอยู่ใต้ปั้ม ตัวลูกสูบจะมีแขนต่อกับถ้วยลูกกลิ้งครับ

    ลูกสูบจะทำงานสัมพันธ์กับแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิงที่อยู่ในเสื้อปั้ม แรงดันนี้มาจากเวนปั้มที่ดูดน้ำมันมาแล้วผ่านเรกกูเรทหัวปั้ม

    ถ้ารอบจัดมากๆ แรงดันปั้มจะสูงขึ้นแรงขนาด 60 กว่าpsiด้วย ผมเคยเอาเกจ์ไปวัดแล้ว แรงดันนี้จะไปดันลูกทามเมอร์ถ้าเอาชนะแรง

    สปริงก็จะทำให้ปั้มนั้นแก่ขึ้นเพราะว่าทามขยับขาทามเมอร์ก็หมุนงัดเอาถ้วยลูกกลิ้งหมุนสวนทางกับจานโรเตอร์ทำให้น้ำมันฉีดก่อนนั่นเอง

    ดังนั้นแกมากแก่น้อยได้ทั้งต้นได้ทั้งปลาย น่ะทำได้ แต่คงไม่ฟลุคในการทำปั้มเพียงครั้งเดียว เช่น..............

    ทำปั้มมา........ตะแคงปั้มให้แก่แบบที่ต้นๆวิ่งดีที่สุด ถ้าปลายๆไม่ดี จำเอาไว้ ลองผลักกลับให้ปลายๆวิ่งดีถ้าผลักให้อ่อนลงแล้วปลายวิ่งดี

    คราวนี้รู้แล้วว่าต้องให้ปลายอ่อนกว่านี้นะ

    ก็ลองถอดเอาปั้มออกมาแล้วชักชิมทามเมอร์ออกมา 1 แผ่นแล้ว ตั้งปั้มให้ต้นๆแก่ได้พอดี อย่างที่จะเอาไว้ และเราชักชิมออกไปแล้วทำให้

    ปลาย อ่อนลงเหมือนเราผลักตอนรอบ 2...... ถ้ามันยังไม่ดี ก็ถอดออกมาอีก...............ทำจนกว่าจะพอใจ น่ะครับ

    แล้วทำไมจะทำให้มันดีทั้งต้นทั้งปลายไม่ได้จริงไหม แต่ทำแบบนี้ ร้านปั้มที่ไหนเค้าจะชอบจริงไหม เค้าก็เลยบอกอย่างที่พูดกันนั่นเอง

    และเรื่องหัวฉีดก็เหมือนกัน ไม่มีความสามารถเค้นน้ำมันในรอบสูงๆได้เนื่องจาก ก็เลยตัดปัญหา เจาะหัวฉีดแม่งเลยง่ายดี

    คราวนี้ก็เขกควันก็ไหล เผาไหม้ก็ไม่ดี..........องศาก็จุดระเบิดก็หายาก ( อย่างช่างที่ชำนาญนั้น เร่งดูเค้าก็จะรู้คราวๆแล้วว่าแก่รอบต้น

    พอไหม เร่งแล้วไม่แก่เดินไปหรือป่าว ) ประมาณนี้แหละ.............มั้ง
     
  15. p_sutipoj

    p_sutipoj Active Member Moderator

    3,479
    9
    38
    รู้ไหมว่า ทำไมเครื่องดีเซลใช้รอบจัดไม่ได้

    รู้ไหมว่า เครื่องชักสั้น กับชักยาว ดีต่างกันอย่างไร

    ลองถามตัวเองเล่นๆดูว่า นักเลงรถกระบะอย่างเรา จะตอบคำถามนี้ได้ไหม
     

  16. ผมก็ใช้ถังดักอยู่ถามว่าช่วยได้มั๊ย

    จากที่สังเกตุดู 50% เท่านั้นแหล่ะครับอาจจะเป็นของไทยรึเปล่าก็ไม่รู้ประสิทธิภาพเลยม่ะค่อยดี

    เพราะผมก็ต่อออกจากถังดักเขาปากเทอร์โบด้วยแต่งก็ยังเยิ้มอยู่ดี

    เห็นพี่เจี๊ยบบอกว่ารอบแว๊นได้เลยชักเสียวๆ อิอิ
     
  17. pandabank

    pandabank New Member VIP

    2,427
    4
    0
    เคลียร์ทุกข้อสงสัยเมื่อโค๊ชเจี๊ยบมาตอบ

    ขอบคุณครับโค๊ชสำหรับความรู้
     
  18. มีแต่ความรู้ดีคับ
     
  19. jun1171

    jun1171 New Member Member

    269
    1
    0
    ขอความรู้หน่อยคับ
    รถผม VIGO 2500 no i/c หลังคาสูง ใส่กล่อง 2 ใบ อยากเปลี่ยนเทอร์โบใหม่ ใส่โบ อะไรดีคับระหว่าง TD 05H กับ ihi f5v รถผมวิ่งตจวบ่อยบรรทุกหนัก 1 ตันกว่าๆ อันไหนจะมีอัดตราแร่งที่ดีและต่อเนี่องกว่า
    หรือมีโบตัวไหนพอจะแนะนำบ้างคับ
     
    แก้ไขล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 สิงหาคม 2009
  20. aj anucha

    aj anucha New Member Member

    948
    1
    0
    รถเอาไว้ขนของ เล่น td-04h ก็คงพอมั้งครับพี่ เพราะรถเราเน้นแรงบิดที่ดี และมาในรอบต่ำ
    อีกอย่างนะเวลาพี่บรรทุกของเต็มท้ายแล้วใส่ พวก โบ td-05 ผมว่ามันจะไม่มีแรงเอานะครับ
     
  21. pandabank

    pandabank New Member VIP

    2,427
    4
    0
    ตามนั้นครับ ถ้าเอาโบ05 มันจะไล่โข่งหลังยากครับ
     
  22. NONG_SCG

    NONG_SCG New Member Member

    2,132
    3
    0

    ปล่อยลงล่างเลยครับไม่ต้องต่อเข้าท่อกรองอากาศกรอดครับ
     
  23. NONG_SCG

    NONG_SCG New Member Member

    2,132
    3
    0
    เหอๆๆ จะว่าเป็นเพราะน้ำมันก็ถูก เป็นเพราะอัตราส่วนอัดก็ถูก ระเบิดแรงกว่าหรือป่าว อันนี้ไม่แน่ แต่รากเหง้าจริงๆ มันมีที่มาที่ไปอย่างงี้ ดูรูปประกอบไปพลางๆ ก่อน ผมจะเกลิ่นเท้าความซักเล็กน้อย โดยธรรมชาติเครื่องเบนซิน (แก๊สโซลีน) จะไม่สามาเพิ่มอัตราส่วนอัดได้มากเพราะมีข้อคุณลักษณะของน้ำมัน รถบ้านๆ อัตราส่วนอัดก็จะอยู่ที่ราวๆ 9-10 ประมาณนี้ ซึ่งจริงๆ แล้วถ้าไม่ติดข้อจำกัดของน้ำมันก็จะสามารถเพิ่มได้อีก ส่วนเครื่องดีเซลถ้าใช้อัตราส่วนอัดต่ำๆ ก็ทำงานได้ครับ แต่ประสิทธิภาพจะไม่ดี แต่เดี๋ยวนี้มองอย่างงั้นไม่ได้ เพราะอัดตราส่วนอัดเป็นแค่ตัวแทนของความดัน ซึ่งจริงๆ กำลังงานหรือประสิทธิภาพที่ดีก็แปรผันกับความดันในกระบอกนั่นเอง จะเห็นได้ว่ารถที่มีเทอร์โบจะลดอัตราส่วนกำลังอัดลงเพื่อเพิ่มพื้นที่ให้อากาศเข้าไปได้มากๆ แต่พอถึงขั้นตอนอัดจริงความดันในกระบอกจะมากกว่าเครื่องไม่มีเทอร์โบแม้ว่าเครื่องที่ไม่มีเทอร์โบจะมีอัตราส่วนกำลังอัดมากกกว่าก็ตาม เพราะมวลอากาศถูกเทอร์โบดันเข้าไปมากกว่านั่นเอง เหมือนต้อนควายเข้าคอก ควายเยอะคอกก็แน่น อัตราส่วนอัดของดีเซลมีช่วงกว้างทำงานได้ตั้งแต่ 15-20 กว่าๆ แล้วแต่จะออกแบบ แต่ที่เห็นกันมากๆ จะเกาะอยู่ที่ 10 ปลายถึง 20 ต้นๆ

    เริ่มเข้าเรื่อง ถ้าเครื่องเบนซินและดีเซลมีความโตของกระบอกเท่ากัน (เส้นผ่าน ศก) ด้วยข้อจำกัดของน้ำมันเบนซินทำให้อัตราส่วนอัดได้ประมาณ 10 ส่วนดีเซลต้องอัดไปราวๆ 20 ซึ่งถ้าดูจากรูปแล้วจินตนาการจะเห็นว่าระยะ R ของเครื่องดีเซลต้องยาวกว่า คราวนี้เครื่องทั้งสองตัวเริ่มอัดอากาศแล้วก็จุดระเบิด สมมติให้จ่ายน้ำมันเข้าไปพอๆ (ในแง่พลังงาน ไม่ใช่ในแง่ปริมาณ) พลังงานภายในน้ำมันก็จะถูกแปลงมาเป็นพลังงานความร้อนบางส่วน และก็กลายเป็นงานที่ทำให้เพลาข้อเหวี่ยงหมุน เครื่องดีเซลก็ได้เปรียบซิ่ครับ ระยะ R ยาวกว่าเหมือนเราต่อด้ามประแจยาวกว่าก็ออกแรงขันน้อยกว่า นี่แหละคือที่มาจริงๆ ของเครื่องดีเซลที่มีแรงบิดดีกว่า เครื่องเบนซินแขนสั้นในแง่แรงบิดสู้ไม่ได้แต่ว่าเนื่องจากระยะ R น้อยทำให้ลูกสูบเคลื่อนที่ในระยะสั้นๆ ลูกสูบไม่เดินทางไกลเหมือนดีเซล มันก็ขึ้นลงได้เร็ว นี่แหละครับที่มาว่าทำไมเบนซินจึงมีรอบจัดกว่า

    เราเปรียบเทียบในแง่ที่ใส่พลังงาน (น้ำมัน) และขนาดความโตกระบอกเท่ากันไปแล้วก็พอจะเห็นภาพคร่าว และกายภายของเครื่องแต่ละแบบ

    คราวนี้โลกมันพัฒนาไปเยอะ เครื่องเบนซินถ้าเพิ่มอัตราส่วนอัดได้มากกว่านี้ โดยอาจจะมีน้ำมันพิเศษที่ทนต่อกำลังอัดสูงๆ ได้โดยไม่ติดไฟเอง มันก็จะทำให้ช่วงชักมันยาวขึ้นแรงบิดมันก็อาจจะดีกว่าดีเซลบางตัวก็เป็นได้ หรือไม่เพิ่มกำลังอัดแต่เพิ่มน้ำมันเข้าไปมากๆ มันก็มีแรงบิดมากกว่าดีเซลได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมันก็ต้องออกแบบให้ชิ้นส่วนต่างๆ รับแรงที่เกิดขึ้นได้ด้วย และก็เช่นกันดีเซลถ้าอัดได้อีกมันก็แรงไปอีก หรืออัดไม่ได้แล้วเพิ่มน้ำมันเข้าไปอีก แรงบิดมันก็ได้เพิ่มมาอีก พูดไปพูดมาสรุปได้ก็คือ ถ้าเครื่องมันทนได้คุณเพิ่มน้ำมันไปเหอะทั้งแรงบิดแรงม้ามันก็จะเพิ่ม 555 ไม่ว่าเบนซินหรือดีเซล แต่อารายก็ดีผมว่าเครื่องยนต์ดีเซล มันทนไม่ค่อยไหว รอบ4500-5000 ก็เหนื่อยแล้ว ....มิมิ
     
  24. Reloaded

    Reloaded New Member Member

    1,378
    32
    0
    เซียนมาเอง
     
  25. na046

    na046 Member Member

    983
    7
    18
    ง่ะอ่านไง ก็ งง ว่ะ พี่เอ้ย ผมไม่ค่อยรู้เรื่อง อะนะ ตตาพี่เจี๊ยบ เมื่อไรเข้ามาเจอกันที่ อะพี่ .......
     
  26. 4d56

    4d56 New Member Member

    521
    14
    0
    รู้ไหมว่า ทำไมเครื่องดีเซลใช้รอบจัดไม่ได้ ผมมองอย่างนี้คับ
    1.เครื่องยนต์ดีเซลมีกำลังอัดสูง เพื่ออัดไอดี(อากาศ+น้ำมัน)ให้เกิดความร้อนจรจุดระเบิดได้โดยไม่ต้องอาศัยประกายไฟ ฉะนั้นด้วยกำลังอัดที่สูงมาก มันก้อจะมีแรงต้านมากด้วยเช่นกัน จนมันไม่สามารถหมุนรอบได้มากกว่านี้
    2.ด้วยกำลังอัดที่สูงมาก ชิ้นส่วนภายในจึงต้องใหญ่ขึ้นเป็นเงาตามตัวเพื่อรองรับแรงอัด ชิ้นส่วนที่ใหญ่ทำให้การหมุนทำได้ไม่สูงมาก หรือถ้าหมุนจัดมากๆอาจจะทำให้เกิดแรงหนีศูนย์มาก ทำให้ชิ้นส่วนภายในเสียหายได้ง่าย
    รู้ไหมว่า เครื่องชักสั้น กับชักยาว ดีต่างกันอย่างไร ผมมองอย่างนี้
    1.ในเครื่องที่มีปริมาตรฝาสูบเท่ากัน กระบอกสูบเท่ากัน เครื่องช่วงชักสั้นจะมีกำลังอัด แรงบีบ ที่น้อยกว่าเครื่องชักยาว ทำให้การเคลื่อนตัวทำได้ง่ายกว่า การหมุน1รอบทำเวลาได้น้อยกว่าเครื่องชักยาว แรงเสียดสีภายในกระบอกสูบมีระยะที่สั้นกว่า ทำให้ความฝืดมีน้อยกว่า เครื่องชักสั้นจึงทำรอบได้สูงกว่ากำลังจึงไปอยู่ที่รอบสูงกว่า
    2.เครื่องชักยาว ในการหมุน1รอบใช้เวลานานกว่าก้อจริง แต่จะมีการจุดระเบิดที่รุนแรงกว่าเพราะกำลังอัดสูงกว่า และการหมุน1รอบจะให้พลังที่ยาวนานกว่า(เครื่องชักสั้นลูกสูบลงสุดแล้ว กำลังจะขึ้นไปจุดระเบิดใหม่อีกรอบ แต่เครื่องชักยาวเพิ่งจะลงสุด) ทำให้เครื่องชักยาวมีพละกำลังที่ดีที่รอบต่ำกว่าเครื่องชักสั้น
    ดังนั้นจะบอกว่าเครื่องชักสั้น ชักยาว อย่างไหนดีกว่ากัน คงตอบได้ยากคับขึ้นอยู่กับการออกแบบว่าจะใช้งานเช่นไร เครื่องชักสั้นถ้าอยู่ในบอดี้หนักๆกำลังที่จะฉุดลากตัวถังในรอบต่ำมีน้อยทำให้บอดี้เคลื่อนตัวได้ไม่ดี แล้วถ้ามันหนักมากจนเครื่องชักสั้นไม่สามารถทำรอบสูงได้(รอบสูงที่มัพละกำลังของเครื่องชักสั้น) มันก้อจะเป็นการทำลายเครื่องยนต์ชักสั้นตัวนั้น แรงรอบต่ำก้อไม่มีและบอดี้หนักจนทำรอบสูงไม่ได้ เครื่องชักยาวก้อจะได้เปรียบ ส่วนเครื่องชักยาวถ้าอยู่ในบอดี้เบาๆ แน่นอนแรงฉุดลากที่มีมากทำให้เคลื่อนที่ได้ดีกว่า แต่พอถึงรอบสูงซึ่งเครื่องชักยาวทำได้ลำบาก ยากกว่า บอดี้ถูกฉุดลากให้เคลื่อนที่ได้แล้ว แต่เครื่องไม่มีรอบให้ใช้งาน(หมดรอบ)ความเร็วปลายก้อจะไม่มี มันก้อจะสู้เครื่องชักสั้นไม่ได้เพราะเครื่องชักสั้นทำรอบได้ง่ายกว่า สูงกว่า อันนี้คือความคิดส่วนตัวผมนะคับ ฉะนั้นมันจึงมีตัวแปรอื่นมาช่วย เช่นอัตราทดของเกียร์ เฟืองท้าย แต่ถ้าใช้กำลังของเครื่องเพียวๆ(อย่างเรือที่ไม่มีเกียร์)เราต้องดูระยะทางที่เราจะใช้งาน ระยะทางสั้นกว่าเครื่องชักยาวได้เปรียบ ระยะทางยาวกว่าเครื่องชักสั้นจะได้เปรียบ
     
  27. NONG_SCG

    NONG_SCG New Member Member

    2,132
    3
    0
    จะจะเลยนะครับ

    ความแตกต่างในหลักการทำงาน เนื่องจากการทำงานของเครื่องยนต์ทั้ง 2 ชนิดนี้ไม่เหมือนกัน กล่าวคือ เครื่องยนต์ดีเซลจะใช้การจุดระเบิดด้วยการฉีดเชื้อเพลิงเข้าสันดาป กับอากาศที่ถูกอัดอยู่ภายในห้องสันดาปซึ่งมีอุณหภูมิอัดตัวสูง คามเร็วรอบภาระของเครื่องสามารถควบคุมได้โดยการปรับแต่งปริมาณน้ำมันที่ฉีดเข้าสูบ ส่วนเครื่องยนต์เบนซิน จุดระเบิดส่วนผสมน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศด้วยประกายไฟจากหัวเทียน คาร์บูเรเตอร์จะช่วยทำหน้าที่ผสมน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศให้มีอัตราส่วนที่ถูกต้องและให้ประมาณของส่วนผสมเข้าห้องสันดาปได้ตามความเหมาะสม ความเร็วรอบ และภาระของเครื่องให้การควบคุมปรับแต่งด้วยการปิดเปิดของลิ้นเร่ง ( throttle vslve )

    จากหลักการที่ต่างกันของเครื่องยนต์ทั้ง 2 ชนิด จึงมีข้อเปรียบเทียบที่เกี่ยวกับการทำงานของเครื่องยนต์ทั้ง 2 ชนิด ดังนี้

    1. อัตราส่วนความอัด เครื่องยนต์เบนซินจะมีอัตราส่วนความอัดต่ำ อยู่ในเกณฑ์ประมาณ 5 ถึง 10.5 ต่อ 1 ทั้งนี้เป็นเพราะ ข้อจำกัดเกี่ยวกับคุณภาพการต้านทานการน็อคของเชื้อเพลิง ถ้าใช้อัตราส่วนความอัดสูงเกินไปจะทำให้เกิดการระเบิดซ้อนรุนแรง หรือที่เรียกว่า ดีโทเนชัน ( detonation ) ส่วนเครื่องยนต์ดีเซลจะใช้อัตราส่วนความอัดสูง ได้ประมาณ 12 ถึง 20 ต่อ 1 หรือมากกว่า จากอัตราส่วนความอัดที่สูงของเครื่องยนต์ดีเซลนี้ เป็นผลให้เครื่องยนต์ได้ประสิทธิภาพทางความร้อนสูงกว่าเครื่องยนต์เบนซินช่วยลดการเกิดดีโทเนชัน ทำให้ไม่เกิดการชิงจุดระเบิด ( preignition ) และกำลังที่ได้ออกมาสูง

    2. กำลังดันการทำงาน เครื่องยนต์ดีเซลจะมีกำลังดันสูง ทั้งนี้เป็นผลมาจากการใช้อัตราส่วนความอัดสูง ทำให้อากาศอัดภายในกระบอกสูบมีความร้อนมากจนเกิดอุณหภูมิจุดระเบิดของเชื้อเพลิง แรงอัดภายในกระบอกสูบของเครื่องยนต์ดีเซลมีประมาณ 28 ถึง 50 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ในขณะที่เครื่องยนต์เบนซินจะมีเพียง 7 ถึง 15 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร

    3.ความเร็วรอบของการทำงาน ความเร็วรอบของเครื่องนั้นจะเกี่ยวข้องกับกำลังม้าของเครื่องความเร็วรอบจะเปลี่ยนแปลงหรือมีขนาดต่าง ๆ กันไปตามความแตกต่างของเครื่อง โดยปกติแล้วความเร็วรอบของเครื่องยนต์เบนซินจะสูงกว่าเครื่องยนต์ดีเซล เช่น รถยนต์นั่งที่ใช้เครื่องรอบสูง ปรากฏว่ารถที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินจะให้กำลังสูงสุดที่ความเร็วรอบประมาณ 3000 ถึง 4000 รอบต่อนาที ในขณะที่เป็นเครื่องยนต์ดีเซลจะให้กำลังสูงสุดที่ความเร็วรอบประมาณ 400 ถึง 1200 รอบต่อนาที

    4. การจ่ายเชื้อเพลิงเข้าสูบ ในเครื่องยนต์ประเภทหลายสูบ ปรากฏว่าการจ่ายเชื้อเพลิงเข้าสูบของเครื่องยนต์เบนซินจะยุ่งยากกว่า เพราะจะต้องจ่ายส่วนผสมเข้าสูบต่าง ๆ ให้แต่ละสูบได้รับอัตราส่วนผสมเท่ากันทุกสูบ แต่เนื่องจากละอองของส่วนผสมจะต้องผ่านท่อร่วมไอดีก่อนที่เข้าถึงแต่ละสูบ ผนังท่อร่วมไอดีมีส่วนขัดขวางการไหลของไอดี จึงเป็นเหตุให้อัตราส่วนผสมที่เข้าไปยังสูบต่าง ๆ อาจไม่เท่ากัน ในขณะที่เครื่องยนต์ดีเซล การจ่ายเชื้อเพลิงเข้าสูบจะดีกว่า เพราะใช้วิธีฉีดเชื้อเพลิงออกจากหัวฉีดเข้าภายในแต่ละสูบโดยตรง

    5. การซูเปอร์ชาร์จ เป็นการอัดอากาศเข้าไปในสูบเพื่อให้มีกำลังดันสูงกว่ากำลังดันของอากาศที่เครื่องจะดูดได้เองตามปกติ ทั้งเครื่องยนต์เบนซินและเครื่องยนต์ดีเซลอาจเพิ่มปริมาตรของไอดีได้โดยการซูเปอร์ชาร์จ แต่ปริมาณการซูเปอร์ชาร์จที่จะให้กับเครื่องยนต์เบนซินนั้นถูกจำกัดเพราะการเกิด ดีโทเนชันในขณะที่ถ้าเป็นเครื่องยนต์ดีเซลจะเป็นการป้องกันการเกิดดีโทเนชัน อย่างไรก็ตาม ปริมาณของการซูเปอร์ชาร์จก็ถูกจำกัดด้วยขนาดของกำลังที่ใช้ในการขับเครื่องซูเปอร์ชาร์จ

    6. อุณหภูมิของไอเสีย เครื่องยนต์ดีเซลจะมีอุณหภูมิของไอเสียที่ปล่อยออกจากเครื่องต่ำกว่าเครื่องยนต์เบนซิน ทั้งนี้เพราะว่าเครื่องยนต์ดีเซลให้อัตราส่วนความอัดสูงกว่า สามารถให้ประสิทธิภาพทางด้านความร้อนสูง นั่นคือ พลังงานความร้อนที่นำไปใช้งานจะมาก ความร้อนสูญไปกับไอเสียจะต่ำอุณภูมิของไอเสียจึงต่ำ

    7. การเริ่มเดินเครื่อง เครื่องยนต์ดีเซลจะเริ่มเดินเครื่องได้ยากกว่าเครื่องยนต์เบนซิน สาเหตุเพราะเครื่องยนต์ดีเซลต้องใช้แรงพยายามขับเคลื่อนเพลาข้อเหวี่ยงมากเพื่อสามารถเอาชนะแรงอัดดันที่เกิดจากอัตราส่วนความอัดดันสูงมากของเครื่องยนต์ นอกจากนี้สภาวะแวดล้อมของอากาศที่เย็นทำให้อุณหภูมิของอากาศเมื่อเริ่มเดินเครื่องต่ำ ความร้อนจะถ่ายเทผ่านผนังห้องสันดาปไปได้มาก ยากแก่การที่จะทำให้อุณหภูมิอัดตัวเพิ่มสูงขึ้นได้ เมื่อเป็นเช่นนี้คามร้อนจึงไม่สูงพอที่จะจุดระเบิดเชื้อเพลิงที่ฉีดออกมาจากหัวฉีดได้

    อิอิ
     
  28. NONG_SCG

    NONG_SCG New Member Member

    2,132
    3
    0
    แต่ถ้าผมมองแบบบ้านๆเลยนะครับว่าทำไมเครื่องดีเซลถึงเล่นรอบสูงๆไม่ได้

    ก็อาจเกิดจากการออกแบบเพื่อใช้งานบรรทุกต้องการแรงบิดมากกว่ารอบ

    และในการสันดาปความร้อนก็สูงอยู่แล้ว เวลาเล่นรอบสูงเกิน อุปกรณ์

    เช่นพวก กระเดื่องวาล์ว ลูกถ้วย มันรับแรงไม่ไหวในรอบสูงๆ(อันนี้ผมหมายถึงเครื่อง direct ที่ผมคุ้นเคยนะ) แต่อย่างไรก็ดีครับ ก็ลองออกข้อคิดเห็นกัลครับ จาได้ Up ความรู้ไปพร้อมๆกันครับ
     
  29. p_sutipoj

    p_sutipoj Active Member Moderator

    3,479
    9
    38
    รู้ไหมว่า ทำไมเครื่องดีเซลใช้รอบจัดไม่ได้

    เครื่องดีเซลหมุนรอบจัดไม่ได้เพราะ คุณลักษณะของน้ำมันที่เผาไหม้ช้า การออกแบบชักสั้นหรือยาว ก็กำหนดได้ว่าจะให้กำลังอัดเท่าไหร่ เพราะว่ามันก็แค่พื่นที่เหลือบนหัวลูกสูบ สิ่งที่ได้จากคำถามนี้จะเป็นการตอบโจทย์ได้ว่าทำไมต้องเปลี่ยนหัวฉีดทำไมต้องเพิ่มน้ำมัน เรื่องมันมีอยู่ว่า

    น้ำมันดีเซลเผาไหม้ช้าติดไฟยากต้องเอาไอดีบีบอัดจนเกิดความร้อนสูงๆแล้วฉีดน้ำมันเข้าไปถึงจะเผาไหม้ได้ เวลาการฉีดเมื่อเครื่องดีเซลหมุนรอบสูงๆแล้วมีแรงดันจากเทอร์โบมาเพิ่ม ในรอบสูงก็ยิ่งต้องการน้ำมันเพิ่ม แต่ว่าเราจะฉีดน้ำมันในเสี้ยววินาทีได้อย่างไร นั่นคือปัญหาของเครื่องดีเซล เพราะว่าน้ำมันจำนวนมหาศาลต้องลอดรูหัวฉีดเล็กๆ ในเวลาที่สั้นลงๆเรื่อยตามรอบเครื่องที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นระบบปั้มแรงดันสูงจึงเข้ามาแทนที่ปั้มแบบเก่า...........แต่ก็ยังแก้ไขเรื่อง ความล่าช้าของการเผาไหม้ไม่ได้ การเพิ่มแรงดันทำให้แรงบิดเพิ่มขึ้นได้ แต่หากรอบเกินจาก4000ไปแล้ว ปัญหาใหญ่ก็คือจะทำยังไงให้น้ำมันมันติดไฟเร็วขึ้นเพราะว่าจังหวะระเบิดและเผาไหม้ ลูกสูบได้วิ่งหนีลงไปข้างล่างเสียแล้ว อย่างไรเสียแรงบิดก็ตกอยู่ดีและไม่สามารถที่จะฝืนกฎข้อนี้ไปได้

    รู้ไหมว่า เครื่องชักสั้น กับชักยาว ดีต่างกันอย่างไร

    สั้นๆง่ายแต่ได้ใจความ ..........ชักสั้นหรือยาว มันต่างกันตรงที่.........รัศมีของข้อเหวี่ยงที่ดึงก้านสูบให้ลูกสูบเลื่อนขึ้นลง

    1.ถ้าชักสั้น..........ความเร็วสูงสุดของลูกสูบที่เลื่อนลง จะน้อยกว่า ชักยาวทำให้ การเผาไหม้ในรอบสูงๆ เครื่องชักยาวจะมีแรงบิดตกลงเนื่องจาก ลูกสูบมันวิ่งเร็วจนหนีการระเบิดการเผาไหม้นั่นเอง
    2.ถ้าชักสั้น...........แรงที่กระทำกับเพลาข้อเหวี่ยงจากการเผาไหม้ดันลูกสูบลงมาเท่ากัน เครื่องชักยาวมีรัศมีที่ยาวกว่าจะทำให้เครื่องมีแรงบิดในรอบต่ำมากกว่า แต่พอรอบสูงจะเข้าเคสข้อ1 นั่นเอง


    มันก็เป็นแบบนี้ล่ะมั้ง..................ครับ
     
  30. 4d56

    4d56 New Member Member

    521
    14
    0
    ขอบคุณสำหรับความรู้คับ ชอบจริงๆอาหารสมองอิอิ อย่าลืมต่อเรื่อง4d56แบบหลบวาล์วกับไม่หลบวาล์วนะคับ
     
< Previous Thread | Next Thread >

แบ่งปันหน้านี้